13 มิ.ย. 2022 เวลา 04:44 • สุขภาพ
หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
3
จากรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก ทุกปีมีประชากรประมาณ 17 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นจากอะไร
1
เป็นกลุ่มอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการที่หลอดเลือดตีบแคบลงหรือมีการอุดตันจากไขมันที่เกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นใน บางคนอาจมีหินปูนหรือมีแคลเซียมมาเกาะด้วย ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
4
สัญญาณอันตราย เตือนว่าอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแล้วนะ
ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันเพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก แต่เมื่อหลอดเลือดเริ่มตีบ อาจมีอาการดังนี้ได้
1. เจ็บแน่นหน้าอก
2. เหนื่อยง่ายผิดปกติ
3. หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม
4. หัวใจเต้นผิดปกติ เช่น ใจสั่น ใจเต้น
4
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงแค่ไหน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น
1. อายุที่มากขึ้น โรคนี้มักเกิดกับคนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป
2. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อยหรือเสียชีวิตปัจจุบันทันด่วน
3. มีน้ำหนักเกิน
4. สูบบุหรี่
5. เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
6. ความเครียดเรื้อรัง
1
แพทย์จะวินิจฉัยได้อย่างไร
แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยแยกโรค หลังจากนั้นแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจเลือดดูปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และอาจตรวจแนวรุก เช่น วิ่งสายพานหรือวิ่งสายพานบวกกับการทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ ถ้าผลออกมาผิดปกติ แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติม เช่น ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจและตรวจอัลตร้าซาวด์
การรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการรักษา ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ
เมื่อเป็นโรคหลอดเลือดตีบแน่แล้ว จะรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง
แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาโดยพิจารณาตามลักษณะการตีบ กายภาพของการตีบของเส้นเลือดหัวใจว่าตีบทั้งหมดกี่เส้นและปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ โดยทั่วไปการรักษาทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ
1
1. การรักษาด้วยยา สำหรับคนที่หลอดเลือดตีบไม่เกิน 70% และมีอาการไม่มาก
2. การรักษาผ่านทางสายสวนหลอดเลือด เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนร่วมกับการใส่ขดลวดตาข่าย
3. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ เพื่อทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรือตันทำให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบหรือตันได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น
1
การรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการรักษา ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ
มั่นใจในการรักษากับสถาบันโรคหัวใจ
สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ประกอบด้วยทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพที่ทำงานร่วมกันอย่างสอดประสาย ตั้งแต่แพทย์ผู้ชำนาญเฉพะทางด้านโรคหัวใจ นักกายภาพบำบัดฟื้นพูเฉพาะโรคหัวใจ พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและทีมเภสัชกรที่ชำนาญในเรื่องของยารักษาโรคหัวใจ นอกจากนี้เรายังเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการส่งมอบการบริการดูแลรักษาที่มีคุณภาพในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา