13 มิ.ย. 2022 เวลา 15:29
Startuff Podcast EP. 35-37 : อวกาศกับ Popular Culture
เป็นรายการ 3 ตอนพิเศษ ที่เล่าถึงความเชื่อมโยงระหว่างอวกาศกับ Popular Culture ว่าการสำรวจอวกาศส่งผลต่อภาพจำของคนอย่างไร โดยในตอนนี้ เติ้ล ณัฐนนท์ และปั๊บ ชยภัทร ได้แบ่ง ภาพจำของอวกาศเป็น 3 คุย ได้แก่
1
- ยุคแห่งการเมือง และการเชิดชูตัวบุคคล (ฮีโร่)
- ยุคของอวกาศกับปรัชญา และอวกาศที่ยึดโยงกับปัจเจก
- ยุคแห่ง Contemporary หรือยุค Democratization
ในยุคแรก อวกาศถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เราเห็นอวกาศเป็นตัวแทนทัศนทางการเมือง ความยิ่งใหญ่ การเห็นภาพของฮีโร่ การเหยียบดวงจันทร์ ความพยายามอย่างสุดโต่งในการเป็นที่หนึ่ง (ซึ่งเป็นทัศนที่ทรงอิทธิพลในยุค Modern จะทำอะไรต้องทำใหญ่ที่สุด ทรงพลังที่สุด โดเด่นที่สุด)
แต่ในช่วงปี 70s-80s อวกาศกลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามมากที่สุด เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ไปจำนวนมาก ทำให้คนเริ่มสงสัยว่าอวกาศนั้นยึดโยงกับสิ่งใด เรียกว่าเป็นจุดตกต่ำของการสำรวจอวกาศ ตั้งแต่ยุคท้าย ๆ ของ Apollo, โครงการ Skylab ที่ไม่ประสบความสำเร็จ จนเกิดเหตุการณ์ยาน Challenger ระเบิด
ทำให้เราต้องหันกลับมามองอวกาศในมุมใหม่ จนสุดท้าย Carl Sagan ได้นำอวกาศมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายมนุษยชาติ จนเกิดแนวคิดเรื่องปรัชญากับอวกาศ เกิดเป็นสื่อที่ทรงอิธิพลเช่น หนังสือเรื่อง Cosmos, ภาพถ่าย Pale Blue Dot ซึ่งเป็นยุคที่อวกาศกลับมามีคุณค่าในทางปัจเจก
จนสุดท้ายในยุค 2010s เป็นต้นไป เรามองว่ามันเป็นยุคที่เรียกได้ว่าเป็น ยุคแห่ง Contemporary หรือยุค Democratization ของอวกาศ เพราะนอกจากอวกาศจะมีคุณค่าเชิงปัจเจกแล้ว มันยังถูกหยิบยกไปใช้ในหลาย ๆ บริบท หลาย ๆ เหตุการณ์ และหลาย ๆ วัตถุประสงค์ เรียกว่าเป็นยุคที่อวกาศเป็นของทุกคนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ เรายังพูดถึงการผลิตซ้ำ การสร้างภาพจำ ในแต่ละยุค ที่ส่งผลต่อสิ่งที่คนคิด และมองอวกาศ เรียกว่าเป็นอีกตอนหนึ่งที่พูดถึงอวกาศในมิติทางสังคมปัจจุบันได้อย่างเห็นภาพมาก ๆ
มาฟังวิเคราะห์กันเต็ม ๆ ได้ทาง Starstuff Podcast สามตอนพิเศษ "อวกาศกับ Popular Culture"
รับฟังได้ทาง
Apple Podcast : https://apple.co/3juCY3U
Google Podcast : https://bit.ly/3E7yTKP
หรือเว็บของ Thai PBS Podcast : https://www.thaipbspodcast.com/podcast/starstuff
โฆษณา