17 มิ.ย. 2022 เวลา 02:14 • ความคิดเห็น
คำศัพท์ที่ฝรั่งเรียกว่าfallacy
แปลเป็นไทยก็คือ วิธีแถ 
หรือการใช้ตรรกะวิบัติ เหตุผลวิบัติ ในการโต้แย้ง
เดี๋ยวนี้มันมีเยอะมาก 
และมีหลากหลายรูปแบบ ในโซเชียลมีเดีย
เป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์
มีแต่ความมัน ความสะใจ
ไม่ได้ใช้ตรรกะที่แท้จริงในการโต้ตอบ
มีตั้งแต่การเถียงแบบไร้วุฒิภาวะ
ของคนที่ชอบทำตัวเด่นดัง
สื่อเดี๋ยวนี้ชอบเอามาแชร์ ชอบทำข่าว
ราวกับว่าอยากจะให้คนดังในทางที่ผิด
คือแพ้ไม่เป็น
เริ่มตั้งแต่ใช้คำดูถูกเหยียดหยามคนอื่น
ใช้น้ำเสียงกริยามารยาทดูหมิ่นดูแคลน
ใช้สีข้างเข้าถู ไม่สอดคล้องกัน หรือลอดช่อง
เบี่ยงประเด็น เอาคนละประเด็นมาตอบ
ใช้เหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้อง โยนความผิดให้คนอื่น
ผมจะยกตัวอย่าง
ที่ค่อนข้างเสียดสีผู้ใหญ่สักนิดนึง
เพื่อให้เห็นว่าถ้าพูดอย่างนี้แล้ว
วุฒิภาวะของคนๆนั้นจะดูต่ำต้อยไปเลย
มันจะทำให้เด็กไม่ยอมรับ
1 คือเริ่มต้นที่คำด่า ไอ้บ้าเอ้ย ไอ้โง่ ไอ้ชังชาติ
ไอ้สลิ่ม มีอะไรมาเถียงอีกล่ะ!
ถ้าคุณเริ่มต้นอย่างนี้ เด็กเขาไม่ฟังเลย
มันแสดงให้เห็นว่าคุณน่ะกลัวจัด
แบบที่เรียกว่าแพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้งเลย
กลัวจนไม่มีสติ จนจะต้องใช้คำด่ามาช่วย
2 ใช้น้ำเสียงดุดันตะคอกใส่
เช่น เธอดีแต่พูดไม่เคยทำ
ฉันน่ะทำเหนื่อยตายห่าอยู่แล้ว
เด็กเขาก็จะมองว่า ลุงคนนี้เนี่ย
ไม่ได้สนใจคำถามของเขาเลย
อาศัยอำนาจบารมีมาข่ม
เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กถาม
ในสิ่งที่ตัวเองไม่มีสติปัญญามาตอบเด็ก
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดคุณใช้น้ำเสียงตะคอกใส่ดุดัน ดูถูก เหยียดหยามเด็ก หรือคนอื่นที่เขาถามคำถามคุณ ก็จะเป็นแบบนี้
คือเป็นพวกที่ไม่มีอารยะ
3 เริ่มต้นด้วยคำข่ม เช่น
ในฐานะที่ฉันเป็นรุ่นพี่ ในฐานะที่ฉันเป็นผู้ใหญ่
ในฐานะที่เคยทำงานมาก่อน เป็นต้น
หมายความว่า เธอมันเด็ก เธอมันเป็นรุ่นน้อง
เธอไม่เคยทำงาน
เหตุผลก็คือต้องการจะบอกว่า
ฉันน่ะมันน่าเชื่อถือกว่าแก กดข่มด้วยบรรดาศักดิ์
แทนที่จะเอาผลงานของตัวเองที่เคยศึกษามาพูด
แต่กลับกลายเป็นว่าใช้คำข่มแทน
อย่างนี้ เด็กเขาไม่เชื่อถือหรอก
แม้ว่าคนพูดมันอยากจะพูดให้เด็กเขาเชื่อถือ
แต่เด็กเขาก็ไม่เชื่อถือหรอก
และที่เจอมากก็คือ
อ้างพื้นฐานการศึกษา เช่น
เธอไม่เคยเรียนกฎหมาย
จะอ่านกฎหมายเข้าใจได้ยังไง
เขาเป็นเนติบัณฑิต เขาเป็นอาจารย์นะ
แต่แท้จริงแล้วคนที่รู้กฎหมาย
ไม่ใช่ว่าจะนำกฎหมายมาโต้แย้ง
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
แต่ว่าโต้แย้งเพื่อเข้าข้างตัวเอง
เป็นภาพที่เด็กเขารับรู้
คือไม่ทำตัวเป็นผู้พิพากษา
แต่ทำตัวเป็นทนายให้กับฝ่ายที่ตัวเองเข้าข้าง
เพราะฉะนั้นการอ้างพื้นฐานการศึกษาเนี่ย
มันใช้ไม่ได้แล้วสำหรับเด็กในยุคนี้
เขาไม่ฟัง ถ้าคุณอยากจะแย้งกับเขา
คุณก็ต้องแย้งด้วยมาตราทางกฎหมายเลย
เปิดให้ดูเลย อย่างนี้เขาถึงจะฟัง
อีกอย่างนึงที่สร้างความรำคาญมากก็คือ
เบี่ยงประเด็น งัดข้อด้อยของคนอื่น
เช่น
เธอเรียนให้จบก่อนดีกว่ามั้ง
คือ ก็รู้อยู่แล้วว่าเขายังเรียนไม่จบ
แต่ทำไมมันต้องงัดไอ้ส่วนนี้มาแย้งในข้อโต้แย้ง
ที่มันไม่เกี่ยวกัน นี่เป็นเหตุผลวิบัติ
เขาอยากจะแสดงความเห็นทางการเมือง
แต่คุณไปโต้แย้งเขาว่าให้เรียนจบก่อนดีกว่า
เหมือนว่าต้องกินข้าวเย็นให้เสร็จก่อน
ถึงจะมาเถียงกันหรือยังไง มันไม่เกี่ยวกัน
อีกประเภทหนึ่งก็คือ อ้างหน้าที่ เช่น
เธอมีหน้าที่เรียนก็เรียนไป
อย่ามายุ่งกับการเมือง
ตรรกะแบบนี้เนี่ย เด็กมันก็ต้องย้อนถูกไหม
มันก็ต้องย้อนถามว่าคุณมีหน้าที่อะไร
ถ้าคุณเป็นครู
ครูมีหน้าที่สอนหนังสืออย่างเดียวหรือเปล่า
เพราะว่าการเมืองนั้นในรัฐธรรมนูญ
มันเป็นเรื่องของทุกคน เปิดโอกาสให้ทุกคน
มีส่วนร่วม เด็กอยากจะมีส่วนร่วมก็มีได้
และการเมืองเนี่ย มันไม่ใช่เริ่มที่ผู้ใหญ่เท่านั้น
การเมืองมันเริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
การเมืองยังต้องเข้าไปเกี่ยวข้องเลย
ว่าแม่ของคุณเนี่ยสามารถทำแท้งได้ไหม
หรือแม้แต่ตอนที่คุณลงโลงศพ
การเมืองยังเข้าไปเกี่ยวข้องเลย จะเผาได้ที่ไหน จะฝังได้ที่ไหน มรดกจะต้องแบ่งยังไงบ้าง
ถูกไหมครับ
อันที่เจอบ่อยก็คือ ประชดประชัน
เธออย่าทำเป็นพูดดีหน่อยเลย
อย่าทำมามีเหตุผลหน่อยเลย
ด้วยตรรกะนี่ เหมือนคุณไม่อยากให้เขาพูดดี 
คุณไม่อยากให้เขามีเหตุผลใช่ไหม
เพราะฉะนั้นเวลาเริ่มประโยคแบบนี้
มันแสดงถึงสติปัญญาที่ต่ำ
เพราะฉะนั้นอย่าไปพูดประโยคนี้เป็นอันขาด
อย่าไปบอกเด็กว่า อย่ามาทำเป็นพูดดีหน่อยเลย อย่ามาทำเป็นมีเหตุผลหน่อยเลย
ถ้าเด็กเขาได้ยิน ก็จะหัวเราะเยาะใส่เอานะ
อีกประเภทหนึ่งคือการ ตัดบทแบบกล่าวหา
เช่น ทำไมเธอถึงจงเกลียดจงชังทหารนะ
พูดง่ายๆคุณอยากจะด่าเขา
โดยสร้างความชอบธรรม แต่ไม่รู้จะด่ายังไง
เลยตัดบทสรุปในสิ่งที่เขาไม่ได้เป็น
คือเด็กอาจจะไม่ได้เกลียดทหารทุกคน
แต่เขาเกลียดพฤติกรรมของทหารบางคนเท่านั้น
และอาจจะเป็นส่วนน้อยด้วย
นี่คือวิธีการโต้แย้งของคนที่
ไม่รู้จะงัดเหตุผลอะไรมาโต้แย้ง
ก็เลยสรุปให้เลยว่าเด็กเนี่ย
มันจงเกลียดจงชังทหาร
โฆษณา