19 มิ.ย. 2022 เวลา 14:26 • หนังสือ
คุณเคยสงสัยไหมว่า...ทำไมบางคนหาเงินเก่งมาก หามาได้ทีละเยอะๆ แต่บทจะเอาเงินไปลงทุนกับอะไรสักอย่าง สุดท้ายไม่เหลือเงินเก็บเลย? นั่นเป็นเพราะ “การหาเงินมาได้” กับ “การเก็บรักษาเงิน” เอาไว้นั้นเป็น 2 ทักษะที่แตกต่างกันนั่นเอง
1
สรุปหนังสือ The Psychology of Money ตอนที่ 5
ในสัปดาห์ที่แล้ว แอดก็ได้เล่าถึงบทที่ 4 ของจิตวิทยาว่าด้วยเงินไปแล้ว นั่นคือเรื่องของ “การทบต้นที่ทำให้งงงวย” ค่ะ
ในสัปดาห์นี้ แอดก็จะมาเล่าต่อในบทที่ 5 ว่าด้วยเรื่องของ “ได้มาซึ่งความมั่งคั่ง กับ รักษาไว้ซึ่งความมั่งคั่ง” เนื้อหามีดังนี้
1
Topic:
1) “หาเงินมาได้” กับ “เก็บรักษาเงินเอาไว้” เป็นคนละเรื่องกัน
2) เรื่องราวของ “การหาเงินมาได้” : เจสส์ ลิเวอร์มอร์
3) เรื่องราวของ “ความมั่งคั่งที่ถูกพรากไป” : อัมราห์ม เจอร์แมนสกี และ เจสส์ ลิเวอร์มอร์ (ภาคต่อ)
4) บทเรียนจากเรื่องเล่า
5) 3 ข้อคิดในการ “เก็บรักษาเงิน” เอาไว้ ไม่ว่าคุณจะลงทุนอะไรอยู่ก็ตาม
ถ้าพร้อมที่จะศึกษาเรื่อง “การเก็บรักษาเงิน” แล้วล่ะก็ ตามมาอ่านต่อได้เลยค่ะ!!!
การหาเงินมาได้กับการเก็บรักษาเงินเอาไว้นั้นเป็น 2 ทักษะที่แตกต่างกัน
1
การหาเงินมาได้นั้นต้องใช้การแบกรับความเสี่ยง การเป็นคนมองโลกในแง่ดี และการเอาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง
แต่การเก็บรักษาเงินนั้นต้องใช้ทักษะด้านตรงข้ามกับการยอมรับความเสี่ยง มันต้องใช้ความอ่อนน้อมถ่อมตนและความหวาดกลัวว่าสิ่งที่คุณสร้างขึ้นมานั้นสามารถถูกพรากไปจากคุณได้รวดเร็วพอๆ กับตอนที่คุณได้มันมา
มันต้องใช้ความตระหนี่และการยอมรับว่าอย่างน้อยก็มีบางส่วนที่คุณสร้างขึ้นมาได้นั้นมาจากโชค ดังนั้นจึงไม่อาจปักใจได้ว่าความสำเร็จในอดีตนั้นจะทำซ้ำได้อย่างไม่จำกัด
เจสส์ ลิเวอร์มอร์ เป็นนักลงทุนในหุ้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเขา เจสส์เกิดในปี 1877 เขากลายมาเป็นนักซื้อขายหุ้นมืออาชีพก่อนที่คนส่วนใหญ่จะรู้ว่าคุณจะทำแบบนั้นได้ ตอนที่อายุ 30 เขามีความมั่งคั่งเมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อแล้วเท่ากับ 100 ล้านเหรียญ
เมื่อถึงปี 1929 เจสส์ ลิเวอร์มอร์ เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของโลก ตลาดหุ้นถล่มในปีนั้นและทำให้เกิดการถดถอยครั้งใหญ่ซึ่งทำให้ความมั่งคั่งของเขาถูกผนึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์
มูลค่าของตลาดหุ้นมากกว่า 3 ใน 4 ถูกกวาดออกไปในสัปดาห์หนึ่งของเดือนตุลาคมปี 1929 ซึ่งวันเหล่านั้นได้ถูกตั้งชื่อในภายหลังว่า วันจันทร์ทมิฬ วันอังคารทมิฬ และวันพฤหัสทมิฬ
โดโรธี ภรรยาของลิเวอร์มอร์ กลัวจนแทบคลั่งเมื่อสามีของเธอกลับมาบ้านในวันที่ 29 ตุลาคม มีการรายงานว่านักลงทุนในวอลสตรีทกำลังฆ่าตัวตายแพร่ไปทั่วทั้งนิวยอร์ก เธอและลูกๆ ทักทายเจสส์ที่ประตูบ้านทั้งน้ำตา ในขณะที่แม่ของเธอคุ้มคลั่งมากจนซ่อนตัวกรีดร้องอยู่ในอีกห้อง
ตามที่ ทอม รูบีทอน ผู้เขียนอัตชีวประวัติเขียนเอาไว้ เจสส์ยืนงงอยู่หลายนาทีก่อนที่จะตระหนักได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
หลังจากนั้นเขาก็เล่าข่าวให้กับครอบครัวฟัง ด้วยความอัจฉริยะและความโชคดีราวกับปาฏิหาริย์ เขาได้ทำการขายชอร์ตในตลาดหุ้น เขาเดิมพันว่าหุ้นจะตก
“คุณหมายความว่าเราไม่ได้ล้มละลายใช้ไหมคะ” โดโรธีถาม
“ไม่เลยที่รัก ผมเพิ่งมีวันซื้อขายที่ดีที่สุดของตัวเอง เราร่ำรวยมหาศาลและสามารถทำอะไรก็ได้ตามที่เราต้องการ” เจสส์ตอบ
โดโรธีวิ่งไปหาแม่ของเธอและบอกให้ท่านเงียบ
เจสส์ ลิเวอร์มอร์ ทำเงินได้มากกว่า 3,000 ล้านเหรียญในหนึ่งวัน
ในะหว่างช่วงเดือนที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น เขากลายเป็นหนึ่งในชายที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
อับราห์ม เจอร์แมนสกีนั้นเป็นมหาเศรษฐีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผู้ทำเงินได้ในยุคที่ตลาดเฟื่องฟูในช่วงปี 1920 ตอนที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง เขาทำในสิ่งที่ชาวนิวยอร์กผู้ประสบความสำเร็จแทบทุกคนทำในช่วงปลายศตวรรษ 1920 นั่นก็คือ เดิมพันอย่างหนักกับตลาดหุ้นที่พุ่งทะยาน
ในวันที่ 26 ตุลาคมปี 1929 หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ ตีพิมพ์บทความสองย่อหน้าอันแสดงถึงตอนจบที่น่าเศร้า
"เช้าวานนี้ เบอร์นาร์ด เอช. แซนด์เลอร์ ทนายความของ 255 บรอดเวย์ ได้รับการขอร้องจากคุณนายอัมบราห์ม เจอร์แมนสกีแห่งเมานต์เวอร์นอน ให้ช่วยตามหาสามีของเธอที่หายตัวไปตั้งแต่เช้าวันพฤหัส
แซนด์เลอร์เล่าว่า นายเจอร์แมนสกีผู้มีอายุ 50 ปีและเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในแถบตะวันออกลงทุนแบบเทหน้าตักในตลาดหุ้น แซนด์เลอร์กล่าวว่า คุณนายเจอร์แมนสกีเล่าให้เขาฟังว่ามีเพื่อนคนหนึ่งเห็นสามีของเธอเดินอยู่บนถนนวอลสตรีทใกล้ที่ทำการตลาดหุ้นในคืนวันพฤหัส
ตามข้อมูลที่เธอเล่า สามีของเธอกำลังฉีกกระดาษแสดงราคาหุ้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ และโยนมันกระจัดกระจายไปตามทางเดินในขณะที่เขากำลังเดินไปทางบรอดเวย์”
และนั่นก็คือจุดจบของ อับราห์ม เจอร์แมนสกีเท่าที่พวกเราทราบ
มีความแตกต่างกันสองขั้วที่ตรงนี้
ตลาดหุ้นถล่มในเดือนตุลาคมปี 1929 ทำให้เจสส์ ลิเวอร์มอร์กลายเป็นหนึ่งในคนที่ร่ำรวยที่สุดของโลก แต่มันกลับทำลายอับราห์ม เจอร์แมนสกี บางทีอาจถึงขึ้นพรากชีวิตของเขาไป
เจสส์ ลิเวอร์มอร์ (ภาคต่อ)
แต่หลังจากนั้นอีก 4 ปีเรื่องราวก็มาบรรจบกันอีกครั้ง
หลังจากงานรื่นเริงขนาดใหญ่ของลิเวอร์มอร์ในปี 1929 เขาก็เต็มไปด้วยความมั่นใจและวางเดิมพันในปริมาณที่ใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้น เขากังวลมากจากการเพิ่มปริมาณหนี้ และท้ายที่สุดเขาก็สูญเสียทุกอย่างไปกับตลาดหุ้น
ด้วยความถังแตกและอับอาย เขาหายตัวไปสองวันในปี 1933 ภรรยาเริ่มออกเดินทางตามหาเขา หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ลงประกาศในปี 1933 ว่า “เจสส์ แอล. ลิเวอร์มอร์ ผู้ค้าหุ้นแห่ง 1100 พาร์คแอเวนิว หายตัวไปและไม่มีใครพบเห็นตัวเขานับตั้งแต่บ่ายสามโมงเมื่อวานนี้”
เขากลับมาแต่ว่าเส้นทางของเขาได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ในที่สุดแล้วลิเวอร์มอร์ก็ตัดสินใจปลิดชีพตัวเอง
1
เฮาเซิลบอกว่า...
แม้ช่วงเวลาแตกต่างกัน แต่ทั้งเจอร์แมนสกีและลิเวอร์มอร์นั้นมีคุณลักษณะที่เหมือนกันคือ พวกเขาทั้งคู่ต่างก็เก่งมากในเรื่องของ “การสร้างความร่ำรวย และ รักษาความมั่งคั่งได้ไม่ดีพอๆ กัน”
ถึงแม้คำว่า “มั่งคั่ง” จะไม่ใช่คำที่คุณสามารถเอาไปใช้ได้กับตัวเอง แต่บทเรียนที่ได้จากการสังเกตนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกคนในทุกระดับรายได้
การได้มาซึ่งความมั่งคั่งเป็นเรื่องหนึ่ง
การรักษาไว้ซึ่งความมั่งคั่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หากจะต้องสรุปความสำเร็จทางด้านการเงินออกมาหนึ่งคำ เฮาเซิลอบอกว่า...มันคงจะเป็นคำว่า “การอยู่รอด”
เฮาเซิลบอกว่า...การนำกรอบความคิดของการ "เอาตัวรอด" มาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้นั้น ต้องมองเห็นคุณค่าของ 3 สิ่งต่อไปนี้
การทบต้นนั้นไม่ได้พึ่งพาการได้รับผลตอบแทนก้อนใหญ่ แค่เพียงการลงทุนซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดี ยั่งยืน และไม่ถูกรบกวนเป็นเวลายาวนานที่สุดจะเป็นผู้ชนะเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของความโกลาหลและความหายนะ
การวางแผนทางการเงินและการลงทุนนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทำให้คุณรู้ว่าการกระทำในปัจจุบันของคุณมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะเป็นแผนประเภทไหน จะมีเพียงไม่กี่แผนเท่านั้นที่จะเหลือรอดจากการเผชิญหน้ากับโลกแห่งความจริงในครั้งแรก
หากคุณกำลังวางแผนรายได้ อัตราการออมเงิน และผลตอบแทนจากตลาดในอีก 20 ปีข้างหน้า ให้คุณลองคิดถึงเรื่องใหญ่ๆ ทั้งหมดที่ไม่มีใครคาดคิดซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
1
ไม่ว่าจะเป็นวินาศกรรม 11 กันยายน ฟองสบู่ที่อยู่อาศัยแตกและส่งผลให้คนอเมริกันเกือบ 10 ล้านคนต้องสูญบ้านของพวกเขาไป วิกฤตทางการเงินที่ทำให้คนเกือบ 9 ล้านคนต้องสูญเสียงาน และโคโรน่าไวรัสที่กำลังเขย่าโลกอยู่ในตอนนี้
1
แผนหนึ่งแผนจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมันสามารถเอาชีวิตรอดได้จากความเป็นจริง และอนาคตที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเราไม่รู้คือความเป็นจริงของทุกๆ คน
พื้นที่สำหรับความผิดพลาดที่มักถูกเรียกว่า “ส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of Safety)” คือหนึ่งในพลังที่ถูกประเมินค่าต่ำที่สุดทางด้านการเงิน พวกมันมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น...
- งบประมาณแบบประหยัด
- ความคิดแบบยืดหยุ่น
- และการวางกำหนดเวลาแบบหลวมๆ
มันสามารถเป็นอะไรก็ตามที่ยอมให้คุณได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับผลลัพธ์ที่ผันแปร คุณได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับผลลัพธ์ที่ผันแปรได้ในกรอบที่วางเอาไว้
สิ่งนี้แตกต่างจากการรัดกุม การรัดกุมคือการหลีกเลี่ยงระดับความเสี่ยง แต่ส่วนเผื่อความปลอดภัยคือการเพิ่มโอกาสให้กับความสำเร็จในระดับความเสี่ยงที่กำหนดด้วยการเพิ่มโอกาสในการเอาชีวิตรอดของคุณ
การมองโลกในแง่ดีมักจะถูกให้คำนิยามว่า ความเชื่อว่าทุกอย่างจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์เสียทีเดียว
การมองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผลคือ ความเชื่อว่าคุณมีโอกาสที่จะชนะ และสิ่งต่างๆ จะสมดุลและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างทางนั้นจะเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และในความเป็นจริงตัวคุณเองก็ รู้ดี ว่ามันจะต้องเต็มไปด้วยความเจ็บปวด
คุณสามารถมองโลกในแง่ดีได้ว่า การเติบโตในระยะยาวนั้นเพิ่มขึ้นและไปทางด้านขวาของกราฟ แต่ก็แน่ใจเท่าๆ กันว่าเส้นทางระหว่างปัจจุบันและอนาคตนั้นเต็มไปด้วยกับระเบิด และมันก็เป็นเช่นนั้นเสมอ สองสิ่งนี้ไม่ได้แยกขาดออกจากกัน
1
อ่านจบแล้วเป็นยังไงบ้าง?
ช่วงนี้ถ้าใครที่เป็นสายลงทุน ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือคริปโต ก็คงกำลังเผชิญกับกราฟขาลงอยู่
แอดก็อยากจะให้กำลังใจลูกเพจของแอดทุกท่านนะคะ ให้ผ่านพ้นมันไปให้ได้
สิ่งสำคัญคือ.. อย่ายอมแพ้ อย่าหยุด อย่าหายไปจากตลาดซะก่อน และอย่าลืมออกแบบพอร์ตการลงทุนของเราเพื่อ “การอยู่ให้รอด” ในทุกวิกฤตนะคะ
โฆษณา