20 มิ.ย. 2022 เวลา 10:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ฮ่องกง” ขู่เมินลงทุนอีอีซี หลังถูกโกงส่งออกถุงมือยาง
สำนักข่าว CNN ได้รายงาน เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2564ว่าวงการถุงมือยางไทยไม่ได้มาตรฐาน และนักลงทุนถูกหลอก ส่งผลให้กระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่น โรงงานผลิตถุงมือยางขนาดเล็กที่คำสั่งซื้อชะลอตัว บางรายต้องถูกระงับการส่งออก
“ฮ่องกง” ขู่เมินลงทุนอีอีซี หลังถูกโกงส่งออกถุงมือยาง
อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)เปิดเผยว่า ปัญหาดังกล่าว ได้เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานแล้ว และที่ประชุมได้มอบหมายให้ร่วมกันแก้ปัญหาและหาทางออกเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมยางพาราและการลงทุนในประเทศไทย
“ ผมคิดว่าหากเหตุการณ์บานปลายต่างชาติไม่นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาง ก็จะส่งผลกระทบไปถึงเกษตรกรชาวสวนยางได้ เพราะยางดิบถือเป็นต้นน้ำ ขณะที่โรงงานแปรรูปน้ำยางข้น เป็นกลางน้ำ และสุดท้ายคือ ส่งออกถุงมือยางเป็นปลายน้ำ ดังนั้นหากปลายน้ำเสียหายไม่ได้รับความเชื่อถือ ก็จะส่งผลกระทบมาถึงต้นน้ำในที่สุด”
ทั้งนี้ นักธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากขบวนการนายหน้าหลอกขายถุงมือยาง ขณะนี้พบว่า มีหลายบริษัท แต่บริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด ซึ่งเป็นของนักธุรกิจชาวฮ่องกงได้รับความเสียหายมากกว่า100 ล้านบาทและได้แจ้งความดำเนินคดีกับขบวนการนายหน้าที่หลอกขายถุงมือยาง โดยขณะนี้รออัยการสั่งฟ้อง
เฮเล็น ฉ่าง ประธานบริษัท บริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด จาก ฮ่องกง กล่าวว่า รู้สึกขาดความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจกับประเทศไทย เดิมตั้งแต่ใจจะเข้ามาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)
ดังนั้น เมื่อปี 2563บริษัทจากสหรัฐได้ติดต่อเพื่อให้สั่งซื้อถุงมือยางก็มองมาที่ประเทศไทยเป็นอันดับแรก จนได้ทำสัญญาสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในไทยมูลค่า 80 ล้านบาท จำนวนสินค้า 2 ล้านกล่อง และได้ชำระค่ามัดจำสินค้าล่วงหน้าไป จำนวน 62 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดส่งมอบกลับได้สินค้าเพียง 4 หมื่นกล่อง และสินค้าไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าใช้ใบรับรองมาตรฐานปลอม ทำให้ถูกเก็บไว้กักไว้ที่สหรัฐ
“ ขณะที่ติดต่อสั่งซื้อได้ตรวจสอบทั้งสินค้าและโรงงานโดยบริษัทได้โชว์เอกสารหลักฐานทุกอย่างแต่เมื่อส่งสินค้าส่วนหนึ่ง นอกจากไม่ได้มาตรฐานแล้วยังไม่สามารถส่งสินค้าได้ตามข้อตกลงสัญญาที่ตกลงกันไว้"
เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวลเรื่องความเชื่อถือมั่นที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และส่งผลต่อภาพ ลักษณ์ประเทศไทย
วิทยา ผุดผาด ทนายความ บริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด ได้กล่าวว่า ความคืบหน้าของคดีว่า บริษัท เอชแอนด์เอชฯ ได้แจ้งดำเนินคดีกับกลุ่มนายหน้าและ บริษัทผู้ถูกกล่าวหาแล้วทั้งสองคดี โดยแจ้งความคดีในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และความผิดเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการนำความอันเป็นเท็จเข้าสู่คอมพิวเตอร์
1
คดีที่ 1 มีพฤติการณ์การร่วมกันฉ้อโกง กล่าวคือ กลุ่มนายหน้าและบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาโชว์สินค้า และโรงงานโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์ว่า มีถุงมือยางไนไตรพร้อมส่งออกส่งออกได้ภายใน 7 - 14 วัน บริษัทเอช แอนด์เอชฯ หลงเชื่อจึงได้ทำสัญญาสั่งซื้อจำนวน 1 ล้านกล่อง เป็นเงิน 205ล้านบาท
และได้โอนมัดจำ 30% เป็นเงิน 61 ล้านกว่าบาท บริษัท ผู้ถูกกล่าวหาตกลงจะส่งสิ้นค้าให้ภายใน 7 - 14 วัน หลังจากตรวจสอบคุณภาพสินค้าผ่าน (SGS) แต่เมื่อถึงกำหนดตรวจสอบคุณภาพสินค้า ปรากฏว่าบริษัทผู้ถูกกล่าวหามีสินค้าให้ตรวจสอบเพียง 1,410 กล่อง และเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ผ่านการทดสอบ
เมื่อบริษัทผู้เสียหายติดตาม ก็ได้มีการส่งสินค้าให้เพียงบางส่วนจำนวนประมาณ 4หมื่นกล่อง ในช่วงเดือน ก.พ.- มี.ค. 2564 ซึ่งตรวจสอบหลักฐานเอกสารการส่งออกพบว่าไม่ตรงกับบริษัทส่งออกแต่เป็นหลักฐานเอกสารการส่งออกของประเทศเวียดนาม ทำให้บริษัทผู้เสียหายไม่อาจส่งสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้าต่อได้ ขณะนี้สินค้ายังคงค้างอยู่ในสต็อกไม่สามารถนำออกไปขายได้
คดีที่ 2 มีพฤติการณ์การร่วมกันฉ้อโกง กล่าวคือ กลุ่มนายหน้าและบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาโชว์สินค้า และโรงงานโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์ว่า มีถุงมือยางไนไตรพร้อมส่งออกจำนวน 7 หมื่นกล่อง ส่งออกได้ภายใน 7 - 14 วัน
1
หลังจากทำคำสั่งซื้อและโอนเงินระหว่างประเทศชำระค่าสินค้า 100% บริษัทเอช แอนด์เอชฯ หลงเชื่อจึงได้ทำคำสั่งซื้อจำนวน 7 หมื่นกล่อง และโอนเงินชำระค่าสินค้าจำนวน 7 ล้านบาท แต่เมื่อถึงกำหนดส่งสินค้าบริษัท ผู้ถูกกล่าวหากลับอ้างว่าสินค้ามีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้า (SGS) ทำให้การส่งสินค้าล่าช้า
หลังจากนั้นทางกลุ่มนายหน้าและบริษัทผู้ถูกกล่าวหาได้โชว์สินค้าและกล่าวอ้างว่ามีสินค้าอีกประมาณ 5 แสน กล่อง ซึ่งเป็นของลูกค้าชาวเกาหลีหากบริษัทผู้เสียหายสนใจจะเอามาขายให้กับบริษัทผู้เสียหายก่อน
แต่จะต้องโอนเงินมัดจำ 50% บริษัท ผู้ถูกกล่าวหาตกลงจะส่งสินค้าให้ภายใน 7 - 14 วัน บริษัทผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้สั่งซื้อไปอีก 538,000 กล่อง เป็นเงิน 110 ล้านบาทและได้โอนมัดจำ 50% เป็นเงิน 55 ล้านกว่าบาท เมื่อถึงกำหนดจัดส่งสินค้าปรากฏว่าบริษัทผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสินค้าให้กับบริษัทผู้เสียหาย ผัดผ่อนบายเบี่ยงเรื่อยมา
1
“สรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัท เอช แอนด์เอชฯ เสียหายกว่า 120 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างสรุปสำนวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) ว่าจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ คดีนี้ถือว่าสร้างความเสียหายต่อวงการอุตสาหกรรมยางเมืองไทยมาก”
ชัยโรจน์ ธรรมรัตน์ เลขาธิการสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง กล่าวว่า ปัญหาถุงมียางขาดความเชื่อถือ เนื่องจากขาดระบบการจัดการที่ดี ขาดการดูแล จากภาครัฐอย่างทั่วถึง
ดังนั้นการช่วยเหลือ ของรัฐ มักจะมุ่งช่วยเหลือไปยังผู้ผลิตถุงมือที่มีโรงงานขนาดใหญ่ มีกำลังผลิตมาก โรงงานเหล่านี้มีผลกระทบน้อยไม่เดือดร้อน เพราะมีลูกค้าประจำคำสั่งซื้อระยะยาวอยู่ในมือแล้ว แต่โรงงานผลิตถุงมือยางธรรมชาติขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบมาก ส่งออกไม่ได้
โฆษณา