22 มิ.ย. 2022 เวลา 00:03 • ความคิดเห็น
Greater fool theory : ลุกก่อนดูโขนดูหนัง ลุกทีหลังล้างถ้วยล้างชาม
อาทิตย์ที่แล้ว บิล เกทส์ (bill gates) มหาเศรษฐีผู้โด่งดังได้ออกมาให้ความเห็นว่า คริปโตกับ nft นั้น 100% อยู่บนทฤษฏี greater fool theory หรือแปลไทยตรงๆว่า ทฤษฏีของคนโง่กว่า … พอบิล เกทส์ ออกมาพูด ผมก็ได้อ่านความเห็นเชิงลบอย่างรุนแรงจากชาวคริปโต มีความเห็นหนึ่งใน the standard wealth เขียนไว้ว่า “ คนแก่ตกยุคเอ๊ย… บิลกากส์ “
10
ผมเดาว่าคงด้วยความโมโหและคำว่า greater fool นั้นเหมือนบิล เกทส์มาด่าคนเล่นคริปโตว่าโง่อะไรทำนองนั้น
ก่อนที่รถทัวร์จะลงผม ก็ต้องออกตัวก่อนว่าผมเองก็มีบิทคอย์นที่ราคาประมาณห้าหมื่นเหรียญอยู่ซึ่งก็ติดดอยกับเขาเหมือนกัน แต่ไหนๆก็ติดดอยแล้ว แทนที่จะโมโหโทโสกับคำพูดของบิล ผมเลยไปลองอ่าน greater fool theory ที่เขาพูดถึงแบบละเอียด อย่างน้อยขาดทุนแล้วได้ความรู้บ้างก็ยังดี พออ่านแล้วก็รู้สึกว่า การตัดสินใจที่ผมลงทุนคริปโตไปตอนห้าหมื่นเหรียญนั้นก็มีส่วนอยู่บนพื้นฐานทฤษฏีนี้ไม่น้อย …
2
Greater fool theory นั้นมีมานานแล้วตามการเก็งกำไรของตลาดหุ้น บิล เกทส์ไม่ได้ประดิษฐ์คำใหม่มาด่าคริปโตแต่อย่างใด ทฤษฏี greater fool นั้นใช้อธิบายช่วงเวลาตลาดฟองสบู่ที่มีมาเรื่อยๆตั้งแต่ อสังหาริมทรัพย์ ยุคดอทคอม จนยุค tech startup ล่าสุด เป็นช่วงที่ราคาของสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์นั้นราคาเกินพื้นฐานไปมาก แล้วยังขึ้นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีใครอธิบายได้ชัดๆว่าเป็นเพราะอะไร ก็เลยมีทฤษฏีนี้ขึ้นมา
7
ทฤษฏีคนโง่กว่านั้นเกิดจากสมมติฐานว่ามีคนคิดว่าจะทำเงินได้โดยการซื้อสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ราคาไม่สมเหตุสมผลและแพงเกินจริงโดยกะว่าเดี๋ยวก็จะขายทำกำไรต่อได้เพราะน่าจะมีคนที่ยอมจะจ่ายเงินสูงกว่าที่เราซื้อต่อเราไปเรื่อยๆแบบไม่มีเหตุผลเหมือนกัน อาจจะเพราะความโลภ กะว่าจะขายต่อได้ หรือกลัวตกรถไฟก็ตาม ประมาณว่าเรารู้ว่าโง่ที่ซื้อของแพง แต่ก็น่จะมีคนที่โง่กว่าเรามาซื้อต่อ เราก็จะได้กำไร
8
กระบวนการนี้จะพังทลายลงพอตลาดวาย ราคาลงมาสู่พื้นฐานหรือบางทีใกล้ศูนย์ คนที่บาดเจ็บที่สุดก็คือคนที่ถือของไว้คนสุดท้ายนั่นเอง
1
แต่คน “โง่” คนแรกๆก็จะทำกำไรได้เสมอ ถ้ามีคน “โง่กว่า” มาซื้อต่อ เป็นหลักการของ greater fool theory ที่บิล เกทส์ พูดถึงซึ่งมีมาทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ tulip bubble จนถึง stock bubble เมื่อไม่นานมานี้
1
Greater fool theory อธิบายได้จากจิตวิทยามวลชนที่มักจะตื่นเต้นกับราคาที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ความโลภของฝูงชนที่เรียกว่า herd mentality ที่พอเราได้ยินว่ามีคนทำกำไรได้มาก ก็จะกลัวตก “รถไฟ” ในหนังสือ a random walk down wall street อธิบายเหตุการณ์ตอนฟองสบู่ดอทคอมเมื่อหลายสิบปีก่อนไว้ซึ่งฟังแล้วยังทันสมัยอยู่เสมอว่า
3
“ ฟองสบู่เริ่มจากหุ้นกลุ่มดอทคอมเริ่มขึ้นจากข่าวลือต่างๆ ทำให้มีคนหมู่มากเริ่มสนใจ ข่าวหนังสือพิมพ์กับทีวีเริ่มลงมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้คนสนใจมากขึ้น และยิ่งทำให้มีคนกลุ่มแรกที่ซื้อทำกำไรได้มาก พอทำกำไรได้ กลุ่มแรกๆก็เริ่มโม้ว่ามันเป็นวิธีที่หากำไรได้ง่าย คนที่ได้ฟังก็ยิ่งโลภ รีบกระโดดเข้าใส่ ราคาหุ้นก็สูงขึ้นเรื่อยๆ
แต่โดยภาพรวมนั้นคล้ายแชร์ลูกโซ่ (ponzi scheme) ที่มีคนโถมเข้ามามากขึ้น ซื้อต่อกันมากขึ้น ….จนในที่สุดก็ run out of greater fools “
2
บทความที่ผมอ่านยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ตั้งแต่ ทิวลิป วงการศิลปะ วงการอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น ฯลฯ หุ้นปั่นก็มีให้เห็นอยู่ทุกวัน
แน่นอนว่าคริปโตก็เริ่มมีคนอย่างบิล เกทส์ ตั้งสมมติฐานไว้ จะจริงไม่จริงไม่รู้ ผมไม่กล้าฟันธงใดๆ เพราะตัวเองก็ซื้อคริปโตโดยที่ไม่ได้มีความรู้พื้นฐาน แต่กลัวตกรถเหมือนคนอื่นในตอนนั้น และก็หวังว่าจะได้ขายในราคาสูงขึ้นกว่านั้นจริงๆ พอฟังแล้วเราเองก็โง่ไม่เบาที่ซื้อของโดยไม่ได้รู้อะไรจริงๆนัก
แต่ที่ผมนับถือวิธีคิดอย่างลูกผู้ชายก็คือเพื่อนผมคนหนึ่งที่สูญเสียเงินจาก gamefi แนว play to earn เมื่อปีที่แล้วแบบบริษัทที่เล่นนั้นหอบเงินหนีไปเลย
3
เขาเล่าให้ฟังด้วยความรู้เท่าทันว่าที่เขาเล่นนั้นเป็น ponzi scheme เสียตังค์ก็ไม่ได้โมโหอะไร ผมก็ถามว่าทำไม คำตอบของเขาแสดงถึงคนที่เข้าใจและยอมรับความเสี่ยงบนพื้นฐาน greater fool theory ได้อย่างลึกซึ้ง เขาตอบสั้นๆว่า … ช่วยไม่ได้ ก็กูลุกช้าเอง จะโทษใครได้…
5
เป็นคำตอบของนักเลงลงทุนตัวจริงเสียงจริงมากๆเลยครับ…
1
โฆษณา