23 มิ.ย. 2022 เวลา 11:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เวียดนาม อาจขึ้นเป็น โรงงานการผลิตของโลก แทนที่จีน
3
เมื่อไม่นานมานี้ เราน่าจะได้เห็นข่าวว่า Apple ได้ย้ายฐานการผลิต iPad บางส่วนจากจีนไปยังเวียดนาม
โดยก่อนหน้านี้เอง ทางบริษัทก็ย้ายฐานการผลิตสินค้าอย่าง AirPods ไปยังเวียดนามด้วยเช่นกัน
2
ทั้งนี้ Apple ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่รายแรก ที่ลงทุนและย้ายฐานการผลิตสินค้าของบริษัทตัวเองไปในเวียดนาม
2
โดยก่อนหน้านี้ Alphabet ก็ย้ายฐานการผลิตสมาร์ตโฟน Pixel มายังเวียดนามด้วยเช่นกัน
ด้าน Intel ก็ได้ลงทุนเป็นวงเงินทั้งหมด 52,000 ล้านบาท ไปกับโรงงานการผลิตในนครโฮจิมินห์
ส่วน Samsung ซึ่งใช้เวียดนามเป็นฐานการผลิตสมาร์ตโฟนกว่าครึ่งหนึ่งของตัวเอง ก็เพิ่งประกาศจำนวนเงินลงทุนถึง 32,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มพลังการผลิตไปเมื่อต้นปีนี้
1
แล้วตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเวียดนามเป็นอย่างไร
ในปี 2020 FDI ที่ไหลไปยังเวียดนาม สูงถึง 550,000 ล้านบาท
ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าเกือบทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน
 
ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงความเป็นประเทศเนื้อหอมของเวียดนาม ที่สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ดี
2
แล้วเวียดนามมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้บรรดาบริษัทต่างชาติหันมาให้ความสนใจ
1
1. เศรษฐกิจเติบโตแรง
2
บริษัทย่อมเลือกลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจดูมีอนาคตสดใส
2
แล้วเศรษฐกิจเวียดนามเป็นอย่างไร
เรามาเริ่มด้วยการดูการเติบโตทางเศรษฐกิจกันก่อน
2
ช่วงระหว่างปี 2015-2019 GDP เวียดนามเติบโตราว ๆ 6-7% เฉลี่ยต่อปี
1
แล้วตัวเลขนี้เยอะขนาดไหน
เราลองมาดูการเติบโตของ GDP ไทยและอินโดนีเซียกันก่อน
ช่วงระหว่างปี 2015-2019 GDP ไทยเติบโตราว ๆ 2-4% เฉลี่ยต่อปี
ส่วนด้าน GDP อินโดนีเซียเติบโตราว ๆ 4-5% เฉลี่ยต่อปี
3
เราจะเห็นได้ว่าเวียดนามมีอัตราการเติบโตของ GDP ที่เยอะกว่าทั้งไทยและอินโดนีเซีย
แล้วถ้าถามว่า เวียดนามจะยังคงอัตราการเติบโตของ GDP ไว้ได้อีกนานแค่ไหน
2
คำตอบคือ เศรษฐกิจเวียดนามจะยังสามารถเติบโต ได้เร็วกว่าเกือบทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนอีกอย่างน้อย 3 ปี ตามการวิเคราะห์ของ World Bank
โดยระบุว่า ระหว่างปี 2022-2024 GDP เวียดนามจะเติบโต 5.8%, 6.5% และ 6.5% ตามลำดับ
ส่วน GDP ไทยจะเติบโต 2.9%, 4.3% และ 3.9% ตามลำดับ
GDP อินโดนีเซียจะเติบโต 5.1%, 5.3% และ 5.3% ตามลำดับ
และ GDP มาเลเซียจะเติบโต 5.5%, 4.5% และ 4.4% ตามลำดับ
2
2. จำนวนประชากรสูง
ก่อนที่บริษัทจะตัดสินใจเลือกลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่ง
ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่แต่ละบริษัทพิจารณาคือ ประชากรในประเทศนั้น
เพราะถ้าประเทศนั้นมีจำนวนประชากรที่เยอะ
และประชากรมีรายได้ที่มากพอ
บริษัทก็ย่อมขายสินค้าได้
2
อายุของประชากรเองก็สำคัญ
เพราะประเทศที่มีประชากรวัยแรงงานอยู่เยอะ
ก็จะช่วยทำให้บริษัทไม่ขาดแคลนบุคลากร
2
แล้วฐานประชากรของเวียดนามเป็นอย่างไร
เวียดนามมีประชากรสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคอาเซียน
โดยในปี 2020 มีจำนวนประชากรถึง 97 ล้านคน
เป็นรองเพียงประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ เท่านั้นเอง
1
ที่สำคัญคือ ในจำนวนประชากร 74.3 ล้านคน หรือราว ๆ 76% นี้ อยู่ในวัยแรงงาน
ขณะที่ ประชากรประมาณ 40 ล้านคน ถูกจัดอยู่ในระดับผู้มีรายได้ปานกลาง
หรือก็คือ คนที่ใช้เงินวันละ 380-2,430 บาท
1
ทั้งนี้ เวียดนามยังมีอัตราการเติบโตของประชากรรายได้ปานกลาง เฉลี่ย 10.1% ต่อปี ระหว่างปี 2016-2021
ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าเพื่อนบ้านทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน
3
โดย McKinsey ได้ประเมินศักยภาพการเติบโตของเวียดนามไว้ว่า
ในปี 2030 เวียดนามจะมีประชากรอยู่ที่ 104 ล้านคน
ส่งผลให้จำนวนชนชั้นกลางจะขยายตัวเป็น 75 ล้านคน
2
นอกจากนี้ อัตราค่าแรงของชาวเวียดนามยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน
โดย ข้อมูลจาก Trading Economics ระบุว่า
ในปี 2021 ค่าแรงขั้นต่ำของฟิลิปปินส์ อยู่ที่ราว ๆ 10,800 บาทต่อเดือน
ในปี 2021 ค่าแรงขั้นต่ำของไทย อยู่ที่ราว ๆ 10,400 บาทต่อเดือน
ในปี 2021 ค่าแรงขั้นต่ำของอินโดนีเซีย อยู่ที่ราว ๆ 11,000 บาทต่อเดือน
ในปี 2021 ค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนาม จะอยู่ที่ราว ๆ 6,300 บาทต่อเดือน
11
จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า เวียดนาม ตอบโจทย์ทั้งด้านการมีฐานผู้บริโภค และแรงงาน
1
3. นโยบายของรัฐบาลเอื้อแก่การลงทุน
การลงทุนจากต่างประเทศ นับเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม
ทั้งนี้ มุมมองดังกล่าวสะท้อนให้เห็นได้จาก เป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติปี 2021-2030
ที่ระบุว่า ภายในปี 2030 รัฐบาลจะดึงดูดเม็ดเงินลงทุน 50% จาก 500 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกที่ถูกจัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์จูน
3
แล้วรัฐบาลมีมาตรการอะไรที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้
ในส่วนของธุรกิจเทคโนโลยี รัฐบาลจะช่วยลดหย่อนและยกเว้นภาษี ให้ทั้งบริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างประเทศ
โดยบริษัทที่ลงทุนในเทคโนโลยีชั้นสูง จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 10% จาก 20% เป็นระยะเวลา 15 ปี และยังจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลใน 4 ปีแรก
3
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีการลงทุนเป็นวงเงินรวมมากกว่า 17,989 ล้านบาท ในกรอบระยะเวลา 5 ปี ก็จะได้รับการลดหย่อนและยกเว้นภาษีในอัตราเดียวกันกับที่ระบุไว้ข้างต้น อีกด้วย
2
4. ความได้เปรียบด้านการส่งออกและการนำเข้า
1
ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศเวียดนาม ช่วยให้ประเทศมีความได้เปรียบในด้านการส่งออก และการนำเข้าเป็นอย่างมาก
โดยเวียดนามมีพรมแดนติดกับจีนทางภาคเหนือ
อีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีความได้เปรียบทางด้านการขนส่งทางเรือ
3
ทั้งนี้ เวียดนามยังมีท่าเรือมากกว่า 320 ท่าเรือ
ซึ่งครึ่งหนึ่งของท่าเรือทั้งหมดนี้ รองรับการขนส่งระหว่างประเทศ
2
โดยท่าเรือที่สำคัญของเวียดนามอย่าง ท่าเรือนครโฮจิมินห์ ท่าเรือไฮฟอง ท่าเรือก๋ายแม็บ
ต่างติด 10 อันดับท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย
ในปี 2020 ท่าเรือนครโฮจิมินห์ มีปริมาณตู้สินค้าที่ขนส่ง จำนวน 7,854,000 TEUs
ในปี 2020 ท่าเรือไฮฟอง มีปริมาณตู้สินค้าที่ขนส่ง จำนวน 5,142,000 TEUs
ในปี 2020 ท่าเรือก๋ายแม็บ มีปริมาณตู้สินค้าที่ขนส่ง จำนวน 4,411,000 TEUs
1
หมายเหตุ TEU คือ ตู้สินค้าที่มีความยาว 20 ฟุต
1
จากปัจจัยข้างต้นนี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจที่นักลงทุนหลายราย เลือกลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกของเวียดนาม ในขณะที่ หลาย ๆ บริษัทเทคโนโลยีต่างโยกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศนี้
โดยสะท้อนให้เห็นจากโครงสร้างการส่งออกของเวียดนาม
ที่กว่า 70% ของการส่งออกทั้งหมด มาจากบริษัทที่ได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศ
1
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงเข้าใจกันแล้วว่า เวียดนามสามารถดึงดูดนักลงทุนได้
เพราะมีความได้เปรียบกว่าหลาย ๆ ประเทศ
จากปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจ
ไปจนถึงนโยบายที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนของรัฐบาล
1
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจมากนัก ถ้าหากในอนาคต เวียดนามจะขึ้นเป็น โรงงานการผลิตของโลก แทนที่จีน
1
โฆษณา