24 มิ.ย. 2022 เวลา 04:10 • ไลฟ์สไตล์
EP.11 จิตวิทยาพฤติกรรมผู้ขาย "เก็บเงินสดต้องนับให้ครบ...แต่สแกนจ่ายกลับไม่ดูเลย"
วันก่อน ผมได้ไปซื้ออาหารจากร้านอาหารตามสั่งเหมือนเดิม ร้านนี้เป็นร้านที่คุ้นเคยกันนานพอสมควรแล้ว เพราะเป็นลูกค้ากันมานานแล้ว
ตามปกติ ผมเป็นคนพกเงินสดติดตัว และมักจะใช้จ่ายเป็นเงินสด อาจจะไม่ทันสมัยเหมือนวัยรุ่น หรือคนที่เป็น Digital Native มากนัก
"ทั้งหมด 128 บาทครับ" ร้านค้าสรุปยอดค่าอาหารที่ผมต้องจ่าย
พอดีผมมีเศษแบงค์ 20 อยู่หลายใบ และเศษเหรียญอีกนิดหน่อย ผมก็หยิบขึ้นมานับคร่าวๆ แล้วก็จ่ายเงินให้คนขายไป
"เอ่อ...น้องครับ ที่จ่ายมามันยังไม่ครบนะครับ ขาดไป 4 บาท" ร้านค้ารีบทักทันที หลังจากนับเงิน
"อ้อ ผมขอโทดครับ นับเหรียญผิดไปหน่อย" แล้วผมก็จ่ายเงินส่วนที่ขาดไป
สำหรับวันนี้ก็เป็นเรื่องปกติ วันนึงของผม ซึ่งการจ่ายเงินผิดเป็นเรื่องปกติ ที่อาจเกิดขึ้นกันได้กับทุกคน ไม่วันใด ก็วันนึง
แต่.....
ล่าสุด เมื่อวานนี้เอง
ผมไปซื้อข้าว ที่ร้านอาหารตามสั่งเดิม แต่วันนี้ผมลืมเอาเงินสดมา แต่โชคดีที่ติดโทรศัพท์มือถือมาด้วย
"ผมขอจ่ายผ่านสแกน นะครับ วันนี้ลืมเอาเงินมา" ผมบอกทางร้านค้า ให้ทราบก่อนซื้อข้าว (ซึ่งปกติไม่ต้องบอกก็ได้ เพราะร้านเค้ารับ Scan QR จ่ายเงินอยู่แล้ว)
"ได้ๆ" พี่คนขายตอบ ณ ผัดข้าวไปด้วย
"ได้แล้วๆ ทั้งหมด 85 บาท" ร้านค้าบอกผมหลังจากผลิตอาหาร ตามที่ผมสั่งเรียบร้อย และได้หยิบ OR Code เลื่อนมาให้ผมดู เพื่อให้แสกนจ่ายเงิน แล้วก็รีบหันไปทำอาหารจานถัดไปต่อ
ผมก็เริ่มเข้า App และ login แล้วเข้า Menu ชำระเงินด้วยการสแกน QR code
เนื่องจากเน็ตที่ร้าน อาจจะมีคนใช้งานเยอะ หรืออย่างไร ไม่ทราบ ทำให้มันโหลดนานกว่าปกติ นิดหน่อย แต่สุดท้ายก็สามารถชำระเงินได้เรียบร้อย
หน้าจอขึ้น "คุณได้ชำระเงินเรียบร้อย" และผมก็ได้ยื่นให้คนขายดู
"เรียบร้อยแล้วนะครับ" ผมรีบแจ้ง
"โอเคๆ ขอบคุณมาก" เจ้าของร้าน (ที่เป็นคนทำอาหารเองด้วย) ตอบแบบไม่หันมามองผมแม้แต่ชายตาแล
ผมก็พยายามส่ง หน้าจอ ที่ขึ้นมาชำระเงินเรียบร้อย ให้กับแกอีกครั้ง
แต่ก็เหมือนเดิม แกยังวุ่นวายกับการทำอาหารจานถัดไปอยู่ดี
ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น
เก็บเงินสดต้องนับให้ครบ...แต่สแกนจ่ายกลับไม่ดูเลย
ผมคิดว่ามีผู้ประกอบการรายเล็ก หลายรายที่มีพฤติกรรมแบบนี้ครับ
เพราะอะไรถึงเป็นแบบนี้ ? การตลาดพฤติกรรม เรามาวิเคราะห์กัน..
จากบทความที่แล้ว ผมได้คุยให้ฟังว่า ตามหลักจิตวิทยา ถ้าเราจับต้องอะไรได้ เราจะเห็นว่ามันมีความสำคัญ แต่ถ้าอะไรที่เราจับต้องไม่ได้ เราจะให้ความสำคัญกับมันน้อยลง
มาเทียบกับพฤติกรรมคนเรากันครับ...
ถ้าเรารับชำระค่าอาหารเป็นเงินสด มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะนับให้ครบตามความเคยชิน (แน่นอนมีใครรับเงินแต่ไม่นับบ้างล่ะครับ)
แต่ถ้าเป็นการจ่ายเงินผ่าน แอฟ หรือทำธุรกรรมทุกอย่างบนออนไลน์ เราจะมองเห็นความสำคัญของมันน้อยลง (แม้มันจะมีมูลค่าเท่ากันกับเงินสดเลยนะ)
ประการหนึ่งคือ ร้านค้าคงคิดว่าการจ่ายเงินเป็นการ Scan QR Code มันคงไม่ผิดพลาด ที่ไม่จำเป็นต้องนับ
และอีกประการหนึ่ง เนื่องจากผมและร้านค้า คุ้นเคยกันมานาน เจ้าของร้านจึงคิดว่าผมคงไม่โกงหรอก
ซึ่งจริงหรือป่าว ??? คนที่เป็นลูกค้าอยู่แล้ว จะไม่มีวันโกง !!!
ยังดีที่ผม ไม่ได้คิดโกงร้านค้า (เพราะการโกงคนอื่นมันเป็นกรรม ที่ยังไงก็ต้องชดใช้ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง หรืออาจจะเป็นชาติหน้าก็ได้นะ)
แต่ เป็นอะไรที่เศร้า และน่าสงสาร เพราะผมเคยเห็นเหตุการณ์แบบนี้ในร้านอาหารแล้ว มีคนที่ทำท่าเป็น Scan QR Code แต่ในขั้นตอนสุดท้ายไม่ได้กดยืนยันชำระเงิน
เพราะการเปิดโอกาสให้โกงได้ง่ายๆ และไม่มีระบบการตรวจเช็คใดๆ ทำให้คนเราชอบเสี่ยงที่จะโกง (ถ้ามีโอกาส) เพราะประโยชน์ที่ได้รับน่าจะมากกว่าความเสี่ยงที่อาจจะโดนจับได้
และคนขายที่เป็นร้านขนาดเล็ก มีคนทำอาหารและเสิร์ฟ แค่ 1-2 คน ไม่มีเวลามานั่งรอดูการจ่ายเงินของทุกคน
สุดท้ายอาจจะทำให้เกิดการขาดทุน ของพวกที่กินแล้วชิ่ง ได้ง่ายๆ และที่สำคัญเราจะไม่ทราบเลยว่าคนๆนั้นเป็นใคร (ถ้าปกติกินแล้วไม่จ่าย วิ่งหนีไป เรายังพอจำหน้าคนนั้นได้ แต่กินแล้วไม่จ่ายแบบนี้ ไม่มีทางตามตัวจับได้เลย)
นี่เป็นอุทาหรณ์สำหรับร้านค้า SMEs ขนาดเล็ก ที่ยังอาจจะไม่เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ และคิดว่าความคุ้นเคย จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไป (โดยเฉพาะในวันที่ข้าวของแพงขึ้นอย่าง มโหศาล) ป้องกันตัวเองไว้ก่อนจะดีที่สุดครับ
ใครชื่นชอบการตลาดออนไลน์ แนวคิด วิเคราะห์ อยากแนะนำให้มาติดตามกันครับ
เรื่องเล่า "จารย์มหาลัย เล่าเรื่อง" ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ด้านการตลาดในมุมมองต่างๆ ทาง Blockdit
"เรื่องเล่า การตลาดพฤติกรรม"
ที่อ.โหน่ง อยากมาแชร์ความคิด จิตวิทยามนุษย์ที่เกือบทุกคนตกหลุมพราง และเป็นเหยี่อของการตลาดบนโลกนี้
สอนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ฟรีๆ
ติดตามเรื่องราวดีๆ/บทความด้านการตลาดออนไลน์ ฟรีๆ ได้ที่
พูดคุยกันได้ที่ Line ID : https://lin.ee/ff6B0e0
อ.โหน่ง อลงกรณ์ - พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์
ปล. อย่าลืม Add Line ID: https://lin.ee/ff6B0e0
เพื่อรับข่าวสารประชาสัมพันธ์นะคร้าบ
#MarketingCuisine #พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์ #ปรุงการตลาดออนไลน์
#อโหน่ง
โฆษณา