24 มิ.ย. 2022 เวลา 23:18 • ธุรกิจ
ทำไม Samsung ไม่ใช่บริษัทในฝันของ Gen-Z อีกต่อไป : เมื่อเจ้าแห่งธุรกิจแชโบลตกบัลลังก์ บทเรียนสำคัญที่ธุรกิจไทยต้องจับตา
3
รู้หรือไม่ว่า ในประเทศเกาหลีใต้มีค่านิยมการเข้าทำงานในบริษัทใหญ่ที่มีอิทธิพลทางการค้าและการลงทุนระดับประเทศหรือที่เรียกว่ากลุ่มธุรกิจแชโบล อย่าง CJ Group, Hyundai Motor, LG Electronic, SK Hynix โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท Samsung Electronic ที่ได้รับการขนานนามว่า การเข้าทำงานที่นี่เสมือนเป็น “Ticket to the Good Life” สำหรับคนเกาหลีใต้
3
บริษัทเหล่านี้ให้ค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีกว่ากลุ่มบริษัททั่วไป ทั้งยังการันตีความมั่นคงในรายได้และหน้าที่การงานในระยะยาวไปจนถึงการเป็นหน้าเป็นตาให้กับวงศ์ตระกูล การทำงานในกลุ่มบริษัทแชโบลกลายเป็นนิยามของคำว่า “ชีวิตที่ดี” สำหรับหนุ่มสาวเกาหลีใต้มายุคต่อยุค
5
แต่ดูเหมือนว่าในยุคปัจจุบันบริบทเรื่องการหางานในเกาหลีใต้นั้นแตกต่างไปจากเดิม ข้อมูลและผลสำรวจหลายแห่งได้ชี้ให้เห็นถึงค่านิยมในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้เดินตามเส้นทางเดิม การเข้าทำงานในกลุ่มบริษัทแชโบลดูจะไม่ใช่เป้าหมายความสำเร็จของหนุ่มสาวเกาหลีในเจนนี้อีกต่อไป
4
>>> การเข้าทำงานในซัมซุง คือ ตั๋วสู่การมีชีวิตที่ดี
2
ว่ากันว่าการเข้าทำงานในกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่จะได้คำมั่นสัญญาจากบริษัทที่จะสามารถมอบชีวิตที่มั่นคง เงินเดือน ประกันชีวิตและผลประโยชน์อีกมากมายที่จะได้รับในขณะที่เป็นพนักงาน
1
เว็บไซต์ Global Post ได้ตีแผ่ถึงบริบทของเยาวชนเกาหลีใต้กับเป้าหมายในการเข้าทำงานในบริษัทแชโบลที่มีอิทธิพลที่สุดในประเทศอย่าง Samsung ซึ่งการเข้าทำงานต้องผ่านระบบการคัดเลือกสุดหินโดยการสอบและขั้นตอนต่าง ๆ จำนวนมากซึ่งกินเวลายาวนานตลอดทั้งปี ไม่นับการติวเข้มเพื่ออ่านหนังสือเข้าสอบ ผู้สมัครยังต้องผ่านการทดสอบความถนัดของบริษัท การสัมภาษณ์สุดทรหดที่มากกว่าหนึ่งรอบ
1
จนถึงขั้นที่ในเกาหลีใต้มีโรงเรียนกวดวิชาที่ช่วยในกระบวนการติวสอบเข้า Samsung อย่างจริงจัง ราวกับนี่เป็นสิ่งเยาวชนในเกาหลีใต้ต้องทำหากต้องการความประสบความสำเร็จในชีวิตหรือเพื่อทำตามความต้องการของครอบครัวที่ได้ฝากความหวังที่ลูกหลานตน เรียกได้ว่าเป็นงานในฝันที่หากใครได้เข้าทำก็จะได้รับการยอมรับในสังคม
4
>>> Samsung ความยิ่งใหญ่ของเจ้าแห่งแชโบล
3
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในบริบทเกาหลีใต้นั้นกลุ่มธุรกิจแชโบลเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ และยังมีอิทธิพลในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมการเมือง และวัฒนธรรม การขยายขอบเขตการทำธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในประเทศ
1
ทำให้กลุ่มบริษัทดังกล่าวเป็นเหมือนแกนหลักของเศรษฐกิจ อีกทั้งทำให้ประเทศมีศักยภาพแข่งขันในภูมิภาคและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ดังเช่นที่ Samsung ทำให้เกาหลีใต้ขึ้นชื่อว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงในระดับโลก เป็นต้น
ไม่แปลกที่บริษัทเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และเป็นที่น่าดึงดูดสำหรับประชาชนในประเทศที่แสวงหารายได้และความก้าวหน้าจากการทำงานร่วมกับบริษัทเหล่านี้
2
แต่กระนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความมั่งคั่งที่ก้าวกระโดดนั้น.. ความเหลื่อมล้ำในสังคมเกาหลีใต้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการกระจุกตัวของเงินทุนและรายได้ท่ามกลางธุรกิจขนาดใหญ่ บริษัทรายย่อยในเกาหลี รวมถึงสตาร์ทอัพหลายแห่งไม่สามารถมีกำลังแข่งขันเทียบเท่ารายใหญ่ในอุตสาหกรรมได้เลย
5
กล่าวคือ ความเหลื่อมล้ำระหว่างธุรกิจรายใหญ่และธุรกิจรายย่อยเป็นปัญหาฝังรากลึกของเกาหลีใต้และเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงให้ตลาดแรงงานไม่เปิดกว้าง การเข้าทำงานในบริษัทขนาดกลางและเล็จึงไม่เป็นสิ่งที่ดีนักในสังคมเกาหลีใต้ ทำให้หนุ่มสาวจำนวนมากต้องเผชิญกับความกดดันในการผลักดันตัวเองให้ตรงตามความคาดหวังของครอบครัวหรือมาตรฐานของสังคม
2
JOBKOREA เว็บไซต์จัดหางานยอดนิยมในเกาหลีใต้ทำการสำรวจความสนใจของนักศึกษาชั้นปี 4 มาอย่างต่อเนื่อง ได้เปิดเผยว่า ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกงานของเหล่าบัณฑิต คือ ปัจจัยด้านสวัสดิการและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามด้วยเงินเดือน และความยืดหยุ่นในการทำงาน แต่ก็ขึ้นอยู่กับสายงานที่แตกต่างกัน
เช่น นักศึกษาที่อยากเข้าทำงานที่ Samsung เพราะสถานภาพของการเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กรอนิกส์และเทคโนโลยีนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก เปรียบเสมือนการได้เข้าทำงานในบริษัทเทคฯระดับโลกอย่าง Google , Meta
6
ผลสำรวจทุกปีได้สรุปให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เหล่าบัณฑิตตั้งส่วนใหญ่ต่างตั้งเป้าหมายสูงในการเข้าทำงานในบริษัทใหญ่ ๆ ในประเทศ เพราะความสามารถในการมอบรายได้ที่สูงและความมั่นคงในหน้าที่การงานในระยะยาวได้จริง ซึ่งหลังจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดโรคยิ่งเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่ามีเพียงบริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนักและเติบโตเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2
ในขณะที่บริษัทเล็ก ๆ จำนวนมากต้องปิดตัว เช่นเดียวกับในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ที่ Samsung ยังคงรักษาสภาพคล่องให้กับบริษัทตนร่วมถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจเกาหลีใต้เอาไว้ด้วย
1
>>> กระบวนการคัดสรรที่เข้มข้นกลับกีดกันแรงงานจำนวนมาก
2
การเข้าทำงานในบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียง โอกาสในพบเจอคนเก่ง ๆ ความมั่นคงในรายได้และสวัสดิการ ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่การแข่งขันที่ดุเดือดและการสอบที่ดูเหมือนเป็นตัวชี้วัด “ชีวิตที่ดี” ดูจะเป็นค่านิยมที่ส่งผลทางลบให้กับเยาวชนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
สำหรับเยาวชนเกาหลีใต้ นอกจากต้องสอบเพื่อจบการศึกษาในแต่ละเทอมแล้วนั้น ยังต้องผ่านการสอบแข่งขันอีกสนามเพื่อเข้าทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศ สำหรับ Samsung จะมีการเปิดรับสมัครสอบสองครั้งต่อปี และคัดเลือกเพียง 5,500 คนจาก 100,000 คน ผู้ที่สนใจจำเป็นต้องทำการสอบคัดเลือกที่ไม่ต่างจากการเรียนและสอบในสถาบันศึกษาไม่ใช่แค่เพียงยื่นใบสมัครตามตำแหน่งที่เรามีความสนใจ
1
กระบวนการแข่งขันเพื่อเข้าทำงาน ทำให้บริษัทได้เลือกสรรคนเก่ง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการจำกัดเยาวชนอีกจำนวนมาก หนำซ้ำยังสร้างความตึงเครียดให้หนุ่มสาวในประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายของเยาวชนเกาหลีใต้พุ่งสูงขึ้นอีกด้วย
1
ว่ากันว่าครั้งหนึ่ง Samsung เคยประกาศเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันจากการสอบเป็นระบบแนะนำจากมหาวิทยาลัยอันดับต้นในประเทศแทน ทำให้เกิดความโกลาหลระดับชาติ เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา
1
นอกจากนี้ ค่านิยมดังกล่าวยังส่งผลให้เกิดปัญหาที่ฝังรากลึก คือ เยาวชนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับวิกฤตการตกงานที่ต่อเนื่องหลายปี โดยเยาวชนประมาณร้อยละ 11.3 ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 29 ปีตกงานหรือเกือบสามเท่าของอัตราการว่างงานโดยรวม มีอัตราตกงานสูงเป็นประวัติการณ์ จนประเด็นดังกล่าวกลายเป็นความท้าทายหลักของรัฐบาลเกาหลีใต้
4
และหากลงลึกให้มากกว่านั้น จะพบว่าตัวเลขข้อมูลของรัฐบาลได้ระบุถึง ผู้ว่าจ้างที่เป็นภาคธุรกิจขนาดเล็กของเกาหลีใต้ กลับเป็นผู้จ้างงานคนถึง 6.6 ล้านคน หรือประมาณ 27.5% ของกำลังแรงงานของประเทศ
โดยที่ในจำนวนนี้มีประมาณ 1.7 ล้านคน เป็นพวกที่อยู่ในกลุ่ม 20% ผู้มีรายได้ต่ำที่สุดของสังคม กล่าวคือ ประชากรส่วนใหญ่ในเกาหลีไม่ได้ทำงานและได้รับรายได้จากกลุ่มบริษัทแชโบล แสดงให้เห็นว่าคนที่สามารถเข้าทำงานในบริษัทใหญ่ได้จริงมีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น
1
>>> เมื่อข้อมูลหลายแหล่งชี้ให้เห็นถึงยุคที่คนรุ่นใหม่ปฏิเสธค่านิยมเดิม เกิดอะไรขึ้น ?
1
ล่าสุด Samsung ได้รับรางวัล World’s Best Employers ในปี 2021 โดยการจัดลำดับจาก Forbes ไต่อันดับขึ้นมาจากลำดับที่ 106 ในปี 2019 และขึ้นมาอยู่อันดับที่ 1 ในปี 2020 สวนทางกลับบริบทในประเทศ การขยายธุรกิจอย่างจริงจังในอนาคต การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ
6
ทำให้ Samsung รั้งอันดับ 5 ใน 100 Best Global Brands สองปีติดต่อกัน ติดอันดับ 1 Top Companies จากเว็บไซต์จัดหางาน Glassdoor ต่อเนื่อง แต่ที่น่าสนใจคือการจัดอันดับจาก Forbes ในหมวดหมู่ Best Employers for New Grads นั้น Samsung กลับตกมาอยู่ในลำดับที่ 233 ในปีนี้
2
ข้อสังเกตที่น่าสนใจนี้ทำให้ลองกลับมาดูในฝั่งของการจัดอันดับภายในประเทศพบว่ายักษ์ใหญ่อย่าง Samsung กลับไม่ใช่บริษัทที่บัณฑิตจากเกาหลีอยากเข้ามากที่สุด
Heejin Kim, Sohee Kim, และ Sangmi Cha ทีมนักข่าวชาวเกาหลีประจำ Bloomberg ได้นำเสนอถึงหัวข้อน่าสนใจเกี่ยวกับความสนใจของเยาวชนเกาหลีใต้รุ่นใหม่ที่ไม่ได้สนใจเข้าทำงานองค์กรขนาดใหญ่อย่าง Samsung หรือ Hyundai อีกต่อไป
เดิมที Samsung เคยครองอันดับหนึ่งในปี 2019 แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาโพลจากหลายสำนัก เช่น JOBKOREA , Incruit รวบรวมความเห็นจากนักศึกษาปี 4 ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ถึงบริษัทที่อยากเข้าทำงานมากที่สุด
2
ซึ่งบริษัทที่ป๊อปในหมู่คนรุ่นใหม่มากที่สุดกลับตกเป็นของ “Kakao” ผู้ผลิต Kakao Talk แอพลิเคชันแชทที่คนเกาหลีนิยมใช้มากที่สุด ตามด้วย “Naver” หรือบริษัทแม่ของแอพลิเคชัน Line ที่เราคุ้นเคย ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในปีก่อนหน้านี้
5
อันดับ 3 ได้แก่ CJ CheilJedang กลุ่มบริษัทในเครือ CJ Group โดย Samsung อยู่ในอันดับที่ 4 ตามด้วยบริษัทอื่น ๆ เช่น CJ ENM บริษัทสื่อด้านบันเทิงในเครือ CJ Group, Korean AIR , Hyundai Motor, LG Electronics, SK Innovation โดย Samsung ,CJ CheilJedang, LG จะยังตัวเลือกแรกของเด็กบางกลุ่มอย่างนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
7
แต่ในหมู่นักศึกษาสายสังคมและมนุษยศาสตร์ รวมถึงสาขาบัญชี ศิลปะ จะเลือก Kakao และ Naver มากที่สุด
4
>>> The Chaebol’s Culture ระบบลำดับชั้นอาวุโสและวัฒนธรรมการทำงานที่เข้มงวด
5
วัฒนธรรมเกาหลีใต้มีโครงสร้างของตำแหน่งงานแบบลำดับชั้นที่ชัดเจน (Top-down, Hierarchical Corporate Culture) ผู้ที่มีความอาวุโสคือผู้ที่มีสิทธิ์มีเสียงทำให้ในบางครั้งสำหรับสมาชิกในทีมที่ความคิดเห็นของน้องใหม่จะไม่มีน้ำหนักในที่ประชุม
ไม่สามารถแสดงการปฏิเสธกับผู้ที่มีความอาวุโสมากกว่าได้ และในบางครั้งที่มักจะเจอกับคำพูดที่ไม่ดีเพียงเพราะการเป็นน้องใหม่ของทีม กระบวนการตัดสินใจแบบรวมศูนย์ทำให้เด็กรุ่นใหม่ ๆ รู้สึกถูกกีดกัน
3
นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนในเรื่องการทำงานล่วงเวลา ซึ่งเป็นไปในเชิงที่ไม่มีทางเลือกให้กับพนักงานมากนัก พนักงานอาจได้รับมอบหมายงานเร่งด่วนที่ต้องทำในช่วงสุดท้ายของวันในบางครั้ง
1
นอกจากนี้การออกจากที่ทำงานก่อนหัวหน้างานคือสิ่งต้องห้าม ซึ่งหมายความว่าคนเกาหลีมักทำงานเป็นเวลานานกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาการทำงาน และอาจไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ ปัญหานี้ทำให้พนักงานจำนวนมากที่เข้าทำงานไม่ค่อยเต็มใจที่จะยอมรับชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและจำนวนมากลาออกจากบริษัทที่หลายคนอยากเข้าและหมดไฟ เพราะไม่เห็นโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง
3
>>> “ Pure Blood Culture ”
1
วัฒนธรรมที่เข้มงวดและการทำงานล่วงเวลามักเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแชโบลดั้งเดิมเช่น Samsung โดยเชื่อกันว่าการให้ความสำคัญกับความภักดีต่อกฏระเบียบของบริษัทต่างๆ ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้ในขณะที่ประเทศฟื้นตัวจากสงครามเกาหลีและมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนประเทศจากการทำเกษตรกรรมที่ยากจนในช่วงทศวรรษ 1950 ให้กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก
2
Lotte Group เป็นอีกองค์กรที่ขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมสุดขั้ว โดยมีการยึดมั่นในสิ่งที่เรียกว่า "วัฒนธรรมเลือดบริสุทธิ์" ซึ่งจะส่งเสริมพนักงานโดยพิจารณาจากความภักดีของพนักงาน ทำให้พนักงานระดับกลางและล่างไม่สามารถเลื่อนตำแหน่งสู่ตำแหน่งที่ใหญ่กว่าได้เท่าผู้อาวุโสที่อยู่มานานก่อนตน
1
การสำรวจของ JOBKOREA ล่าสุดกี่ยวกับ พนักงานออฟฟิศในบริษัทใหญ่ๆ พบว่า 90% สนใจที่จะเปลี่ยนงาน เพิ่มขึ้นจาก 69% ในปีก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากความไม่พอใจในวัฒนธรรมองค์กร และนักศึกษาในปัจจุบันที่กำลังจะเรียนจบให้ความเห็นที่เกี่ยวกับความเบื่อหน่ายในวัฒนธรรมการทำงานที่เข้มงวด
4
แม้แต่เยาวชนรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำและสามารถเข้าทำงานในกลุ่มแชโบลได้ก็มีแนวโน้มที่จะพยายามทำตามความคาดหวังของสังคมน้อยลง หลีกเลี่ยงการวัดผลความสำเร็จแบบเดิมๆ ของสังคม และหันมาสนใจอาชีพอื่น ๆ มากขึ้น
เช่น ดารา นักแสดง นักกีฬา ครูในโรงเรียน แพทย์ หรือพ่อครัว นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นจำนวนมากหันมาสนใจอาชีพอินฟลูเอนเซอร์ ยูทูปเบอร์ การร่วมงานกับบริษัทหรือสตาร์ทอัพต่างประเทศ เป็นต้น
หนุ่มสาวชาวเกาหลีบางคนก็ย้ายออกนอกเมือง เพื่อทำการเกษตรหรือหางานทำในต่างประเทศ คนเกาหลีเกือบ 5,800 คนเดินทางไปต่างประเทศเพื่อหางานทำในปีที่แล้วโดยใช้โปรแกรมเงินอุดหนุนจากรัฐบาล มากกว่าสามเท่าจากปี 2013 หลีกเลี่ยงการวัดผลความสำเร็จแบบเดิมๆ ของสังคม
1
>>> ยุคทองของบริษัทเทคฯ สมัยใหม่ที่ยืดหยุ่นกว่า
JOBKOREA กล่าวว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นในเกาหลีใต้ทำให้บริษัทอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริษัทเกมซึ่งได้รับความนิยมเป็นพิเศษในปีนี้
โดยบริษัทเหล่านี้แข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อจ้างนักพัฒนา โดย Kakao ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดจากนักศึกษาภาคธุรกิจและการเงิน มนุษยศาสตร์และสังคมศึกษา บันเทิงและกีฬา และ Naver อยู่ในอันดับรองลงมา และเป็นที่แน่นอนว่าสองบริษัทนี้มีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นและทันสมัยกว่าบริษัทอย่าง Samsung
3
ล่าสุด Kakao ได้ประกาศระบบการทำงานใหม่ที่เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานเพื่อรักษาคนเก่งในบริษัทเอาไว้ โดยมีรายละเอียดถึงการปรับให้มีการทำงานเพียง 4 วันต่อสัปดาห์และหยุดทุกวันศุกร์ และสามารถเลือกทำงานจากที่ไหนก็ได้
5
ในส่วนของ Naver ให้ทางเลือกกับพนักงานในการทำงานเต็มเวลาแต่เลือกได้ว่าจะทำจากที่ไหนก็ได้ หรือจะเข้าออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ โดยเรียกว่าโปรแกรม “Connect Work” นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับพนักงานที่อยู่ไกลจะสามารถเลือกทำงานจากสำนักงานที่ใช้ร่วมกันในจังหวัดต่าง ๆ ที่ใกล้ตนได้
4
>>> การปรับตัวของแชโบล : เรียกชื่อแทนตำแหน่ง ขึ้นเงินเดือน เพิ่มโบนัส
2
Heejin Kim, Sohee Kim, และ Sangmi Cha เล่าว่า ผู้บริหารยุคใหม่ในเครือแชโบลเริ่มตระหนักว่า วัฒนธรรมของแชโบลในการเคารพผู้อาวุโสถูกมองว่าเป็นปัญหาและขัดขวางนวัตกรรมและการตัดสินใจที่ดี ทำให้เริ่มปรับตัวให้ยืดหยุ่นมากขึ้นเช่นเดียวกัน
3
พนักงานได้รับการสนับสนุนให้พูดคุยกันโดยใช้ชื่อมากกว่าตำแหน่งงาน โดยเป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่งในเกาหลีใต้ “Just call me JH” อยู่ช่วงหนึ่งเมื่อ Han Jong-hee CO-CEO,Samsung Electronics ผู้บริหารวัย 60 ปีกล่าวกับกลุ่มพนักงานที่เข้าร่วมงานประชุมบริษัท ยังมีข่าวว่าจะมีการประกาศการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในปีหน้า
3
เนื่องจาก Jay Y. Lee ผู้นำวัย 53 ปีของบริษัทจะถูกปล่อยตัวเมื่อปีที่แล้วหลังจากติดคุกในข้อหาการทุจริตและติดสินบน กลับมามีบทบาทในที่สาธารณะมากขึ้น ทำให้ต้องทำการปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรและกำกับกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทใหม่
1
Hyundai และ Lotte Group ทบทวนการยกเลิกการสอบประวัติภูมิหลังของครอบครัวผู้สมัครงาน จากเดิมที่การจ้างงานโดยอาศัยสายสัมพันธ์ในครอบครัวนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อหล่อเลี้ยงความภักดีและความสามัคคี ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกวิพาก์วิจารณ์อย่างหนักว่านำไปสู่การกีดกันคนมีความสามารถ ส่งเสริมการจ้างงานผู้หญิงมากขึ้น ส่งเสริมการสรรหาคนเก่งจากภายนอกมากขึ้น
ในส่วน Euisun Chung Executive Chairman, Hyundai Motor Group ซึ่งเป็นหลานชายของผู้ก่อตั้งมีการพบปะกับพนักงานระดับล่างเป็นประจำ และ ซึ่งก่อนหน้านี้ Hyundai เป็นอีกที่หนึ่งที่ขึ้นชื่อว่ามีวัฒนธรรมอนุรักษ์นิยมสุดขั้วและสุดโต่ง
2
ทางด้าน Samsung และ SK Hynix เริ่มจ่ายโบนัสประจำปีที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยพนักงานบางคนได้รับเงินถึง 100% ของเงินเดือนประจำปี เพื่อรักษาผู้มีความสามารถไว้ มีการเลื่อนตำแหน่งให้กับผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากเพื่อกระจายอำนาจในการบริหาร อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ ต่างตระหนักดีว่าสิ่งจูงใจแบบครั้งเดียวนั้นไม่เพียงพอ และเยาวนชนเกาหลีเองก็ไม่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
1
จะเห็นว่าประเด็นที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่กำลังพบเห็นกับหนุ่มสาวทั่วโลกเช่นเดียวกับประเทศไทยบ้านเรา หรือโดยเฉพาะประเทศที่นโยบายหรือโครงสร้างเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับแรงงานได้อย่างเหมาะสม บริษัทใหญ่จำนวนมากต้องรับมือกับอัตรา Turn Overate ที่สูง ถึงแม้จะให้เงินเดือนและโบนัสจำนวนมาก เพราะไม่สามารถรักษาคนรุ่นใหม่ไว้ได้
3
คนรุ่นใหมโดยเฉพาะในยุค Gen Z เริ่มสนใจบริษัทขนาดกลางรวมถึงสตาร์ทอัพเพราะตอบโจทย์ความต้องการด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากความั่นคงแบบเดิม โดยหนุ่มสาวที่กำลังก้าวสู่สังคมการทำงาน มีพื้นฐานในการติดสินใจกับองค์กรมากกว่าเรื่องของเงินเดือน เรื่องวิสัยทัศน์ วัฒนธรรมขององค์กร สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญมากไม่แพ้กัน
3
สุดท้ายแล้วนั้นการปรับตัวขององค์กรขนาดใหญ่ในการส่งเสริมและรักษาบุคลากร ในบริบทของสังคมเกาหลีใต้อาจต้องใช้เวลาในปรับเปลี่ยน
1
เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นลงลึกถึงโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงค่านิยมที่เกิดขึ้นกับการคิดการตัดสินใจของคนในสังคม เป็นบทสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งหวังของหนุ่มสาวในยุคหนึ่งที่ต้องการความมั่นคงในชีวิตท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่บีบให้แข่งขัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าบทบาทของกลุ่มธุรกิจแชโบลส่งผลทางลบต่อตลาดแรงงานมาต่อเนื่องจนกระทั่งในปัจจุบัน
3
จะเห็นว่าจากกรณีของเกาหลีใต้ นโยบายในระดับประเทศส่งผลเกี่ยวโยงต่อภาคส่วนเอกชนและแรงงานที่รวมถึงเหล่าบัณฑิตจบใหม่จำนวนมาก ผู้เขียนมองว่าเราจำเป็นต้องวิเคราะห์ไปถึงโครงสร้างสังคมที่ก่อให้เกิดปัญหาด้วย
การสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันจากทุกภาคส่วนจะช่วยผลักดันบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กให้เติบโตได้ในระยะหนึ่งเท่านั้น แต่พื้นที่ตรงนั้นไม่ได้กว้างพอสำหรับรองรับตลาดแรงงานในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี หลายประเทศจะพบปัญหาความต้องการแรงงานในภาคธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับแรงงานจริง บัณฑิตจบมาแต่หางานทำไม่ได้ โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ชนชั้นกลางค่อนไปทางล่างอาจไม่ได้มีทางเลือกมากนัก
กระบวนการสมัครงานไม่ว่าจะข้าราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ กำลังกีดกันผู้มีความสามารถอยู่ไม่ เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรฉุกคิด เพราะเยาวชนรุ่นใหม่คือรากฐานสำคัญที่จะขับเคลื่อนไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจของบริษัทใดบริษัทหนึ่งแต่หมายถึงคุณภาพชีวิตของพวกเขาซึ่งสะท้อนศักยภาพโดยรวมของประเทศต่อไปในอนาคต
1
อ้างอิง :
ติดตามข่าวสารโลกธุรกิจและเทคโนโลยีแบบอัปเดตก่อนใคร ในทุกช่องทางของเรา
โฆษณา