25 มิ.ย. 2022 เวลา 02:56 • สุขภาพ
ย้อนดูไทม์ไลน์ #UrboyTJ
(อัพเดตล่าสุดตอนนี้กลับบ้าน ปลอดภัยแล้ว)
4
และทำความเข้าใจกับโรคซึมเศร้ามากขึ้น
ถ้าผมยังรักตัวเองไม่ได้ ผมก็รักคนอื่นไม่ได้หรอกครับ
UrboyTJ
ภาพจากเพจ FB: CatDumb
(24 มิถุนายน 2565) เวลา 16.58 น. ทางเพจ UrboyTJ ได้มีการโพสต์ข้อความซึ่งคาดว่าเขาน่าจะเป็นคนเขียนเอง บอกว่าตัวเขานั้นป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์ รวมถึงรู้สึกหมดไฟในการใช้ชีวิตมาหลายเดือนแล้ว
- เขาได้เล่าว่าคืนก่อนหน้านั้นได้ทำบางอย่างที่ไม่ควรทำลงไป แต่โชคดีที่ไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนั้น เขาจึงออกมาประกาศว่าจะขอหายไปรักษาตัวทั้งกายและใจ โดยทิ้งท้ายไว้ว่า “ถ้าผมยังรักตัวเองไม่ได้ ผมก็รักคนอื่นไม่ได้หรอกครับ”
โพสต์ดังกล่าวของเขา:
สวัสดีครับ ผมชื่อ เต๋า ทีเจ จิรายุทธ ผโลประการ
ผมมีเรื่องจะมาบอกครับ
เพราะผมคิดว่ามันถึงวิกฤตแล้ว
ผมเป็น depression ซึมเศร้า, bipolar
ผมรู้สึกหมดไฟในการใช้ชีวิตมาหลายเดือนมากแล้ว แต่ไม่มีใครฟังผมเลย ในสิ่งที่ผมพูด ในสิ่งที่ผมแสดงออกไป
เมื่อคืนผมตัดสินใจทำสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่โชคดีที่ทำไม่สำเร็จ และผมคิดว่าผมคงไม่สามารถทำงาน entertain คนดูได้ ถ้าชีวิตผมยังมืดดำอยู่แบบนี้
เต๋า UrboyTJ
ผมจึงขออนุญาตเข้ารับการรักษาตัวโดย
1.โรงพยาบาลตรวจร่างกายทั้งหมด
2. พบ psychotherapist และทำการเปลี่ยนยาเคมีในสมอง และหาทางแก้ปัญหา
ผมไม่รู้ว่ามันจะใช้เวลานานแค่ไหน ผมอาจจะหายหรือไม่หายก็ได้ แต่ตอนนี้ผมขอหายไปก่อนเพื่อรักษาตัวครับ
ขอโทษทุกคนครับ ถ้าผมยังรักตัวเองไม่ได้ ผมก็รักคนอื่นไม่ได้หรอกครับ
เต๋า UrboyTJ
- 01.35 น. ต่อมาช่วงกลางดึก คนใกล้ตัวของเขาก็เริ่มออกมาทยอยโพสต์ข้อความตามหา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือศิลปิน ‘ป็อบ ปองกูล’ ที่โพสต์ว่า “ใครพบเห็น เต๋า UrboyTJ ตั้งแต่เวลา 01.35น. ช่วยติดต่อกลับมาหน่อยครับ”
โพสต์ของ ป็อบ ปองกูล :
- หลังจากนั้น เรื่องนี้ก็ได้ถูกแชร์ต่อๆ กันไปเป็นจำนวนมาก ผู้คนต่างพยายามช่วยกันคิดหาวิธีการตามหาตัวของ UrboyTJ ให้เร็วที่สุด ส่วนใครที่พบเห็นรถคันดังกล่าวในภาพก็พากันมาแจ้งเบาะแสต่างๆ
- 02.42 น. ‘ป็อบ ปองกูล’ แจ้งว่า ยังไม่พบนะครับ โอ่งกับทีมงานกำลังตามไปที่มอเตอร์เวย์
- ผ่านไปหลายชั่วโมง จึงพอจะยืนยันได้ว่า UrboyTJ ยังคงอยู่ในเขต กทม.
- 05.47 น. และในที่สุดถึงมีรายงานออกมาว่าเจอตัวเขาแล้ว เต๋า ปลอดภัยดี
โพสต์เพิ่มเติมอีกอันหนึ่ง: https://www.facebook.com/oang.smith/posts/pfbid0cmR3j91a4Ms7nzHAfppLrwtUSNoHHrV2gcuVJLxr3zE1a3Vi6G4S3B5mZpG7tVxHl
ที่มา Catdumb
โรคซึมเศร้า จัดเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน ที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีความรู้ สึกซึมเศร้าหดหู่อย่างรุนแรงกว่าปกติ เรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ แลมักมีความคิดอยากตาย ส่งผลให้มีอาการ ผิดปกติทางกายใจ และพฤติกรรมต่างๆ กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
6
โรคซึมเศร้าพบได้ในคนทุกวัย อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มมีอาการครั้งแรกประมาณ 40 ปี พบได้ประมาณร้อยละ 3 ของประชาการทั่วไป ณเวลาใดเวลาหนึ่ง (current prevalence) หรือร้อยละ 5-18 ของประชาการทั่วไปเมื่อติดตามไปชั่วชีวิต (lifetime prevalence) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า
8 สัญญาณบ่งบอกโรคซึมเศร้า
อินโฟกราฟิคจาก Catdumb
  • 1.
    รู้สึกสิ้นหวัง มองว่าตัวเองไม่มีค่า โดดเดี่ยว รู้สึกว่าทำอะไรก็ผิดไปหมด
  • 2.
    ขาดความสนใจในสิ่งรอบตัว ความชอบหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำ
  • 3.
    เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากยิ่งขึ้น
  • 4.
    มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
  • 5.
    รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ทำสิ่งต่างๆ อย่างเชื่องช้า
  • 6.
    ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
  • 7.
    ขาดสมาธิและทักษะทางด้านความจำเวลาทำสิ่งต่างๆ
  • 8.
    คิดถึงเรื่องของความตาย หรือการฆ่าตัวตาย
(มีงานวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่แล้ว “ผู้ชาย” ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ เอาความโกรธไปลงกับสิ่งอื่น ส่วน "ผู้หญิง" อาจมีอาการรอบเดือนผิดปกติร่วมด้วย)
สาเหตุ โรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่ามีความผิดปกติของระบบ การส่งผ่านประสาท (มีสารส่งผ่านประสาท เช่น นอร์เอพิเนฟรีน ซีโรโทนิน กรดแกมมาอะมิโนบูไทริกต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมีความผิดปกติของตัวรับหรือรีเซปเตอร์ที่ เกี่ยวข้อง) และประสาทต่อมไร้ท่อ (เชื่อว่ามีความผิดปกติของเซลล์สมองส่วนที่ควบคุมความคิด อารมณ์ การเคลื่อนไหวของร่างกายและการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ)
ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ รวมทั้งปัจจัยด้านจิตใจและสังคม
  • 1.
    ด้านกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
  • 2.
    ด้านจิตใจ พบว่าผู้ป่วยมักมีแนวคิดโน้มนำให้ตน เองซึมเศร้า เช่น มองโลกในแง่ร้าย มองตนเองในแง่ลบมองเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง เป็นต้น
  • 3.
    ด้านสังคม เช่น การหย่าร้าง การสูญเสียคู่ชีวิตอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า การมีคนคอยดูแลช่วยเหลืออาจมีส่วนช่วยให้อาการของโรคนี้ทุเลา
อาการ โรคซึมเศร้า
ที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยรู้สึกซึมเศร้าหดหู่ สะเทือนใจ และร้องไห้ง่าย บางครั้งอาจบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่ง ต่าง ๆ ไปหมด และจิตใจไม่รู้สึกสดชื่นเหมือนเดิม ความรู้สึกเหล่านี้จะเป็นอยู่เกือบทั้งวัน และติดต่อกันแทบทุกวัน เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอารมณ์ หงุดหงิด ทนเสียงดังหรือคนรบกวนไม่ได้ อยากอยู่เงียบ ๆ คนเดียว
ผู้ป่วยมักมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นแบบสะดุด กล่าวคือ ผู้ป่วยจะนอนหลับในช่วงแรก ๆ ที่เข้านอน แต่พอตื่นตอนกลางดึกจะนอนไม่หลับ บางรายก็อาจมีอาการนอน หลับยากตั้งแต่แรกที่เข้านอน มักมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด แต่บางรายอาจ มีความรู้สึกอยากอาหารและน้ำหนักขึ้น
นอกจากนี้ ยังอาจพบอาการอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน ทำอะไรเชื่องช้า เฉื่อยชาลง อยากอยู่เฉย ๆ นาน ๆ (แต่บางรายอาจมีอาการกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข นั่งได้ สักพักหนึ่งก็ต้องลุกขึ้นเดินไปมา) คิดนาน ขาดสมาธิ เหม่อลอย หลงลืมง่าย มีความลังเลในการตัดสินใจ ไม่มั่นใจตนเอง มองโลกในแง่ลบ รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า หรือรู้สึกผิด กล่าวโทษหรือตำหนิตนเอง
กว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีความคิดอยากตาย โดยช่วงแรกรู้สึกเบื่อชีวิตเมื่ออาการมากขึ้นจะรู้สึกอยากตาย คิดถึงการฆ่าตัวตาย ต่อมาถึงขั้นวางแผนและวิธีการฆ่าตัวตาย และในที่สุดลงมือกระทำการฆ่าตัวตาย
(พบได้ประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วย) ผู้ป่วยบางรายอาจไปปรึกษาแพทย์ด้วยอาการเจ็บป่วยทางกาย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผอมลงเวียน ศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ (เช่น ศีรษะ หน้าอก หลังแขนขา) อย่างเรื้อรัง ประจำเดือนไม่มาไม่มีความรู้สึกทางเพศ เป็นต้น
การรักษา โรคซึมเศร้า
1.ถ้าผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น และมั่นใจว่าไม่มีโรคทางกาย ก็ให้การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSR2 ได้แก่ ฟลูออกซีทีน เริ่มด้วยขนาด 20 มก.วันละครั้งหลังอาหารเช้า
หากมีอาการวิตกกังวลหรือกระวายร่วมด้วยให้ไดอะซีแพม ครั้งละ 2 มก.วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นร่วมด้วยในช่วง 2 สัปดาห์แรก หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ไดอะซีแพม 2-5มก.หรืออะมิทริปไทลีน10 มก.กินก่อนนอน
ถ้าอาการดีขึ้นไม่มาก ให้ค่อย ๆ เพิ่มฟลูออกซีทีนจนถึงขนาด 40-60 มก./วัน ถ้าอาการหายดีควรให้ยาต่อไปอีก 4-9 เดือน แล้วค่อย ๆ ลดขนาดยาลงทุก 2-3 สัปดาห์ จนหยุดการรักษา แต่ถ้าลดยาลงแล้วพบว่าผู้ป่วย อาการเริ่มกลับมาอีก ให้เพิ่มยาขึ้นจนกระทั่งอาการหาย แล้วคงขนาดยานั้นต่อไปประมาณ 2-3 เดือน แล้วลองละครั้งหลังอาหารเช้า
2.ถ้าให้ยานาน 4 สัปดาห์แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3.ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  • กระวนกระวายมาก หรือไม่กินอาหาร ผอมลงมาก
  • มีอาการโรคจิต เช่น หลงผิด ประสาทหลอน
  • มีความคิดฆ่าตัวตายบ่อย หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือพยายามกระทำการฆ่าตัวตาย
  • มีอาการรุนแรง กระทบต่อกิจวัตรประจำวัน เช่น การแต่งตัว การกินอาหาร
  • มีประวัติเคยเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder)
ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และป้องกันไม่ให้มีการทำลายตัวเอง แพทย์จะพิจารณา ปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสม ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องให้ยารักษาต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2-3 ปี
ในรายที่ให้ยารักษาไม่ได้ผล หรือทนต่ออาการข้างเคียงของยาไม่ได้ หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง แพทย์อาจทำการรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy/ECT) วิธีนี้เพียงแต่ช่วยให้อาการดีขึ้น ไม่ได้ป้องกันไม่ให้อาการกำเริบซ้ำดังนั้นจะต้องให้ยารักษาต่อเนื่องแม้หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว
นอกจากนี้ อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธี อื่น ๆ เช่นจิตบำบัดซึ่งมีอยู่หลายวิธีแสงบำบัด (light therapy) ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (seasonal affective disorder)
ผลการรักษา การใช้ยานับว่าได้ผลดีมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งจะลดระยะอาการลงเหลือประมาณ 3 เดือน ถ้าไม่รักษามักมีอาการประมาณ 9 เดือน ซึ่งจะทุเลาไปได้เอง แต่ก็จะกำเริบได้อีกในเวลา 6 เดือนต่อมา
หลังหยุดยา อาจมีอาการกำเริบได้ใหม่ประมาณร้อยละ 50 (สำหรับอาการป่วยครั้งแรก) ร้อยละ 70 (สำหรับอาการป่วยครั้งที่ 2) และร้อยละ 90 สำหรับอาการ ป่วยครั้งที่ 3)
การป้องกัน โรคซึมเศร้า
1.เมื่อพบผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้า (มีอารมณ์ซึมเศร้า) หดหู่ หรือรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งต่าง ๆ ไปหมด) ควรชักถามประวัติและตรวจดูอาการอย่างละเอียดเพื่อแยกแยะส่าเหตุ บางครั้งอาจเกิดจากโรคทางกาย แอลกอฮอล์ สารเสพติดยา ความเครียด หรือปัญหาชีวิต
หรือเป็น อาการของโรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคซึมเศร้าชนิดอ่อน บางรายอาจพบร่วมกับโรควิตกกังวล ซึ่งมีวิธีการดูและรักษาแต่ต่างกันไป ส่วนโรคซึมเศร้า (โรคซึมเศร้าหลัก) จะวินิจฉัย เมื่อมีอาการครบถ้วนตามเกณฑ์การวินิจฉัย
2.โรคซึมเศร้าหากไม่ได้ให้ยารักษา มักมีอาการต่อเนื่องประมาณ 9 เดือน ซึ่งจะทุเลาไปเอง หากได้ยา รักษาจะมีอาการอยู่ประมาณ 3 เดือน บางรายอาจเป็น เพียงครั้งเดี่ยวแล้วไม่เป็นซ้ำอีก บางรายกำเริบซ้ำซาก หรือเรื้อรังตลอดชีวิต ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว ดังนี้
พบแพทย์เป็นประจำตามนัด และกินยาอย่างต่อเนื่อง อย่าปรับยาหรือหยุดยาเองจนกว่าแพทย์จะแนะนำ การรักษาด้วยยาอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ไปแล้วกว่า จะเห็นผล
สามารถดำเนินชีวิตตามปกติ อย่าแยกตัวออกจากผู้อื่น การมีญาติหรือเพื่อช่วยดูแลช่วยเหลือมี ส่วนช่วยให้อาการทุเลาได
ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้ และออกกำลังกายเป็นประจำ
หลีกเลี่ยงการเสพเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสารเสพติด
3. โรคนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง (สารส่งผ่านประสาม) และการทำหน้าที่ผิดปกติของสมองบางส่วน ซึ่งอาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยบางรายจึงอาจมีอาการกำเริบโดยไม่มีปัญหาด้านจิตใจและสังคมเป็นเหตุกระตุ้นก็ได้
คืออยู่ดีๆ ก็มีอาการกำเริบขึ้นมาเอง ควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงธรรมชาติของโรคนี้ ยอมรับและหาทางดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมอาการและดำเนิน ชีวิตเป็นปกติสุขได้
4. ญาติและคนใกล้ชิดควรให้การดูแลช่วยเหลือ และให้กำลังใจผู้ป่วยในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเฝ้า สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ควรรีบพาผู้ป่วย ไปโรงพยาบาล หรือหาทางป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตาย
5. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางครั้งอาจมาปรึกษาแพทย์ด้วยอาการไม่สบายทางกาย เช่น เวียนศีรษะ อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ผอมลง ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดข้อ หรือปวดเมื่อยตามตัวแบบเรื้อรัง เป็นต้น หากให้ยารักษาตามอาการระยะหนึ่งแล้วไม่ดีขึ้น ควรซักถามอาการของโรคซึมเศร้าอย่างละเอียดเมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า และให้ยาแก้ซึมเศร้าอาการต่าง ๆ ก็จะทุเลาลงได้
โฆษณา