25 มิ.ย. 2022 เวลา 04:57 • การตลาด
ถามว่า บัตรแมนยู - ลิเวอร์พูล แพงไหม ?
บทความนี้ว่ากันด้วย " การตลาด " ในมุมมิ้วๆนะคะ
1
" แพง หรือ ไม่แพง " อยู่ที่ว่าคุณถามใคร อ่ะค่ะ อันนี้แยกประเด็นกับการที่บัตรมันเหลือก่อนนะคะ
ในมุมเคท แมทช์ แมนยู-ลิเวอร์พูล นี่จัดว่าเป็น โกลบอลอีเว้นต์นะคะ ถ้าเทียบกับโกลบอลอีเว้นต์ทั่วๆไป ราคานี้ จัดว่า "ไม่แพง" แต่แน่นอนว่า มันก็ไม่ได้ "ถูก" เช่นกัน
การจัดโกลบอลอีเว้นต์ระดับ แมนยู-ลิเวอร์พูล มาในงานเดียวกัน อย่างน้อยๆ น้อยที่สุด เคทประเมินน่าจะต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 500 ล้าน ใช่ค่ะ อ่านไม่ผิด ไม่ต่ำกว่า ห้าร้อยล้านนน !!
โดยปกติ สโมสรอย่างแมนยูจะมีค่าดำเนินการตรงนี้ราวๆ 5-6ล้านปอนด์ ในการออกทัวร์ ก็ราวๆ 200-240 ล้านบาท คาดว่า ลิเวอร์พูลก็คงไม่ต่างกัน บวกค่าเอเย่นต์ในการประสานงานเข้าไปอีก รวมกันมีไม่ต่ำกว่า 500 ล้านแน่นอนค่ะ
มันจึงเป็นที่มาของการคิดค่าตั๋ว โดยที่ต้องตีเฉลี่ยราคาที่ใบละ 10,000บาท จำนวน 50,000 ใบไงคะ
(นี่คือขั้นต่ำของรายได้ที่ต้องหาเพื่อจ่ายสโมสรทั้ง 2)
แต่การจัดอีเว้นต์ระดับนี้ มันต้องใช้งบประมาณที่สูงมากดังนั้นคุณต้องมีสแปร์อย่างน้อยๆ 100 ล้านขั้นต่ำเพื่อใช้ในการจัดงานและประชาสัมพันธ์ ถ้าให้อุ่นใจก็ต้องมีอย่างน้อยๆ 250 ล้านเลยทีเดียว เพราะค่าการดำเนินงานรวมถึงค่าแอร์ไทม์ในการประชาสัมพันธ์เป็นอะไรที่ใช้งบสูงมาก
ถ้าบัตเจตน้อยโอกาสที่จะได้งานง่อยๆที่มาพร้อมดราม่ามีโอกาสสูงมาก ดังนั้นตัวเลขที่สวยขั้นต้นควรจะอยู่ที่ 750-800 ล้าน
ซึ่งคุณวินิจ ก็เข้าใจจุดนี้ดีแหละ(เฟชรแอร์ ขาดทุนเยอะหลายปีติด) ก็เลยพยายามหาสปอนเซอร์ โดยขอไปที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก่อน ก็ขอไป 400 ล้านได้ ซึ่งไม่ต้องเดาค่ะ ไม่ได้แน่นอน (แว่วๆที่จำได้คือ ตกลงว่าคงช่วยแค่ค่าสนามกับค่าน้ำค่าไฟ)
1
พอไม่ได้ก็ต้องเร่งหาสปอนเซอร์กระเป๋าหนักมาช่วย ก็ไปได้ บิทคับ มาแจม
(ซึ่งในมุมเคทมองว่า สปอนเซอร์หรือพาร์ทเนอร์รายใหญ่ มีแค่บิทคับ มันน้อยไป ควรจะต้องมีสปอนเซอร์ร่วมให้เยอะกว่านี้ บิทคับ พาวเวอร์ในเรื่องพวกนี้ หมัดยังเบาไปค่ะ ยังอยู่ในรุ่น welter)
1
พอได้สปอนเซอร์ไรแล้ว ก็ได้เวลาขายบัตร
ถึงเวลาหน้างานเปิดขายบัตร ดันขายไม่หมด เหลือบานตะไทเลย !!!
ปริมาณตั๋วก็ไม่ได้เยอะเกิน เพราะถ้า forcast จากฐานแฟนบอล จำนวนตั๋วถือว่าน้อยไปด้วยซ้ำ
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
ตอบง่ายๆเลย...มันมาผิดช่วงผิดจังหว่ะค่ะ !!
ประกอบการทำการตลาดที่ล้มเหลว บัตรมันจึงเหลือเยอะ
ปัจจัยสำคัญคือ จังหวะเวลา และ การตลาด ที่ผิดพลาดนี่แหละ !!!
เรื่องการวาง Segmentation การวาง Timing รวมถึงการประชาสัมพันธ์เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยค่ะ
Segmentation หรือ การแบ่งส่วนตลาดของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม แน่นอนว่า คุณมีการจัดลำดับโซนนั่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ถูกต้อง คุณอาจจะแบ่ง segment แล้ว แต่ดันไม่เข้าใจฐานแฟนบอลของแต่ละคลับ !! ไม่เข้าใจฟีลลิ่งของแฟนบอล
การประชาสัมพันธ์มันจึงดูเป็นหน้าเดียวเกินไป ทั้งๆที่ สภาวะการณ์ของ 2 สโมสร แตกต่างกันสิ้นเชิง ถ้าเป็นช่วงแมนยูพีคๆ มันคงเป็นเรื่องง่ายที่จะขายบัตรได้หมด หรืออย่างน้อยแค่ย้อนไปช่วงยุคมูที่ได้แชมป์ยูโรป้า ก็น่าจะง่ายกว่านี้ ปัจจุบัน แฟนคลับที่เคยเหนียวแน่นแบบดูทุกนัด ยังดูบ้างไม่ดูบ้างเลยค่ะ ถ้าติดงาน เขาจะเลือกงานก่อน จากเดิมที่เคยอาจจะขอดูบอลก่อนด้วยซ้ำ
(ซึ่งเคทเองก็เป็นหนึ่งในนั้น)
Timing จึงเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อระดับความสำคัญ หรือ การให้ value ของแฟนคลับลดน้อยลง ดีมานด์ ความต้องการตั๋วมันก็ย่อมน้อยลง
ไอ้ที่ forcast ฐานแฟนบอลมาเบื้องต้นก็ ต้องใส่สมการตรงนี้เข้าไปถอดตัวเลขใหม่ด้วย มันต้องปรับประมาณการณ์ลดลง
ในเรื่อง Timing ของสโมสร แล้วก็ยังมี Timing ด้านเศรษฐกิจที่เป็นตัวแปรสำคัญด้วยค่ะ คริปโตแตก ร่วงระนาว ตลาดหุ้นก็แย่ เงินไหลออก sme เพิ่งโงหัวขึ้นจากโควิด ฯลฯ เงินหมื่นจากที่จ่ายสบายๆ คนก็เริ่มคิดหนัก ถ้าเทียบเงินเฟ้อ ดูแมนยูในไทยสิบปีที่แล้วแต่ก่อน 4-5,000 ปัจจุบันปรับมาที่ 10,000-15,000 มันก็พอได้ แต่สภาพเศรษฐกิจ(ค่าแรงที่ไม่ขึ้น)มันส่งผลต่ออารมณ์มากค่ะ คนเลยคิดหนักขึ้น
1
อีกมุมนึงที่ฝ่ายจัดลืมตระหนักคิด หรือพลาดไป ก็คือ ในมุมแฟนแมนยูจริงๆ ถ้าหั่นราคาลงมาครึ่งนึง โอกาสเต็มก็ยังมีสูง แต่พอมันดับเบิ้ลค่าตั๋ว เพื่อไปจ่ายชดเชยให้ค่าดำเนินงานของลิเวอร์พูลด้วยแล้ว มันเลยหนักไป
1
และแฟนแมนยูเองก็รู้สึกว่า ทำไมต้องจ่ายแพงขนาดนั้น สำหรับ แมทช์ที่ไม่ได้มีความหมายความสำคัญอะไร เหมือนเป็นแค่ friendly match อ่ะค่ะ เคทคิดว่ามุมนี้ไม่ใช่แค่ แฟนแมนยูที่คิดหรอกค่ะ แฟนลิเวอร์ก็น่าจะมีคิดบ้าง
มันเป็นการวาง segment และ timing ที่ผิดตั่งแต่ต้น เลยทำให้ทุกอย่างมันเป็นเรื่องที่ยากลำบากไปหมด จากที่เคยง่ายๆ
พอข้างต้นผิด การสื่อสารและการทำตลาดให้เข้าถึงในแต่ละกลุ่ม ก็ไม่โดน เพราะคุณแทบไม่ได้แบ่งsegmentในการประชาสัมพันธ์เลย มันดูไม่มีความแตกต่าง (ซึ่งแน่นอนแหละว่ามันยาก)
มันไม่ได้สื่อสารเข้าไปในแต่ละกลุ่มมากพอ ไม่เข้าเป้า โดยเฉพาะ กับกลุ่ม top-tier high-tier การทำแคมเปญในแต่ละกลุ่มดูน้อยมาก
เหมือนคุณไม่ได้ยิงแอดเจาะเข้าไปในแต่ละกลุ่ม หรือถ้าจะบอกว่ายิงแล้ว ก็ต้องบอกว่า มันล้มเหลวค่ะ ส่วนหนึ่งคือ พาร์ทเนอร์ของคุณอาจจะน้อยเกินไป นั่นเป็นสิ่งที่เคทกังวลตั่งแต่แรก การมีพาร์ทเนอร์หรือสปอนเซอร์รายใหญ่เยอะ แน่นอนว่าส่วนแบ่งก็ย่อมเยอะตาม แต่คุณจะได้เส้นสายช่องทางเพิ่มขึ้นเช่นกัน (ซึ่งมันพอจะประกันตัวเลขผู้เข้าชมได้ระดับนึงเลยนะ)
ถ้าวิเคราะห์ถอดสมการถอดตัวแปรตรงนี้ดีๆตั่งแต่ต้น การวาง positioning ของอีเว้นต์นี้จะสอดคล้องเหมาะสม ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จง่ายขึ้น
เนื่องจาก Value ของงานมันไม่ได้ การที่ ทีมคุณวินิจ หรือ เฟรชแอร์ พยายามแก้เกมโดยการ add value เข้าไปในงานเพิ่ม โดยการ ดึง js เข้ามาช่วย ถือว่า เป็นการแก้เกมที่ดีนะคะ เพียงแต่ว่า มันช้าไปมาก
ช้าตรงที่ประเมิน value ของงานผิดไป มาเพิ่มเอาตอนหลังก็สายซะแล้ว ส่วนการที่ได้ คุณ พรพ ที่ขาด empathy โดยเฉพาะในมุนของแฟนบอลและแฟน js มาช่วยขายก็ต้องบอกว่า เป็นอารมณ์ที่เหมือนไม่มีอะไรจะเสียแล้วหล่ะ
ถ้าจัดงานให้เป็น บิ๊กอีเว้นต์มีตติ้งแฟนคลับ ตั่งแต่ต้น ที่มีการเตะบอลในงาน มีกิจกรรมต่างๆให้ร่วมสนุก แฟนบอลร่วมสนุกในงานอยู่กันได้ยาวๆ แนวโน้มน่าจะดีกว่านี้
1
เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไร แชร์แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
มิ้วๆ
1
โฆษณา