26 มิ.ย. 2022 เวลา 15:16 • คริปโทเคอร์เรนซี
Cryptocurrency กับความสามารถในการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจ
เมื่อเช้า เพิ่งคุยกับ Suparit Suwanik เกี่ยวกับบทความเรื่อง “อธิปไตยทางการเงิน” หรือ อำนาจในการรักษาเสถียรภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงการควบคุมการเจริญเติบโต และเงินเฟ้อของเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม (https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_17Apr2021.aspx) เมื่อปีที่แล้ว
1
เรื่องนี้ได้ถูกศึกษาโดยการสร้างโมเดล และใช้คณิตศาสตร์ในการพิสูจน์ โดย Pierpaolo Benigno, Linda M. Schilling, Harald Uhlig และได้ตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้หลังจากเป็น working paper มาหลายปี
1
ซึ่งงานวิจัยนี้ได้พูดถึงเรื่อง Impossible Trinity ที่บอกว่า ประเทศสามารถดำเนินนโยบายทางการเงิน โดยเลือกได้เพียง 2 นโยบายจาก 3 นโยบาย ซึ่งคือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน และการมีนโยบายการเงินอย่างอิสระ
ซึ่ง Impossible Trinity นี้ถูกพัฒนาโดยสองนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังอย่างโรเบิร์ต มันเดลล์ (Robert Mundell) และมาร์คัส เฟลมมิง (Marcus Fleming) และได้ถูกนำมาใช้ในการอธิบายปัญหาทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงถึงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในอเมริกาใต้ และวิกฤติการณ์ค่าเงินบาท ที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการกำหนดค่าเงินให้คงที่ แต่มีการเปิดเสรีในการเคลื่อนย้ายเงิน
ในบทวิจัยนี้ ทั้งสามพยายามสร้างโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นมา โดยสมมติให้มีสองประเทศที่มีค่าเงินเป็นของตัวเอง และมีการเพิ่มสกุลเงินกลางที่เป็นสากลเข้าไป ไม่มีระบบเศรษฐกิจในตัวของมันเอง แต่มีซึ่งเปรียบได้กับสกุลเงินคริปโต
จากการพิสูจน์ นักวิจัยพบว่า Impossible Trinity ในโลกที่คริปโตได้รับความนิยมในทั้งสองประเทศ จะทำให้อัตราดอกเบี้ยของทั้งสองประเทศเท่ากัน ส่วนอัตราแปลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศจะขยับตามความสมดุลที่เรียกว่า risk adjusted martingale
ถ้าอัตราดอกเบี้ยของสองประเทศไม่เท่านั้น ก็ทำให้อัตราความเสี่ยงเข้าใกล้ 0 หรือแปลว่า ทั้งสองประเทศต้องทำอัตราแลกเปลี่ยนให้เท่ากัน หรือแปลว่า ต้องยกเลิกการมีอยู่ของสกุลเงินของตัวเองนั่นเอง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า Crypto-Enforced Monetary Policy Synchronization (CEMPS)
2
และหากเงินสกุลกลางนั้นถูกหนุนหลังโดยสินทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทน (interest-bearing asset) รัฐจะเหลือนโยบายเดียวให้เลือกจากสองนโนบายเท่านั้น ดังนั้น Impossible Trilemma จึงกลายเป็น Impossible Dilemma แทน โดยปริยายนั่นเอง
1
สิ่งนี้จะมัดมือรัฐในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจให้ยากขึ้นไปอีก จนเรียกว่า แทบจะทำอะไรไม่ได้ หรือทำไปก็ไม่เกิดผลที่ต้องการ และอาจจะต้องปล่อยให้ประเทศเป็นไปตามยถากรรม นี่หรือเป็นสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ สิ่งที่ผู้ชื่นชอบคริปโตในเชิงปรัชญาต้องการ?
2
จริง ๆ แล้วสิ่งนี้เริ่มค่อย ๆ เกิดขึ้นกับประเทศหนึ่งไปเรียบร้อย นั่นก็คือ El Salvador ที่ Bitcoin maximalist ทั้งหลายชื่นชม จากเดิมที่ประเทศถูก dollarized มาหลายปีแล้ว และกำลังใช้ Bitcoin กันมากขึ้น แต่เศรษฐกิจในประเทศกลับแย่ ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน จึงทำให้ประชาชนยากจน ประเทศขาดดุลการค้าอย่างหลัก แต่กลับไม่สามารถใช้นโยบายใด ๆ ในการแก้ไขปัญหาได้
ซึ่งได้แต่หวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่า Bitcoin จะไปยังดวงจันทร์ (to the moon 🌕) จนทำให้ทุกคนรวยเท่านั้นเอง
โฆษณา