29 มิ.ย. 2022 เวลา 08:57 • ข่าว
Blue-Tongued: จิ้งเหลนลิ้นฟ้า 👅
3
สัตว์เลี้ยงพิเศษของยุคนี้ - ตัวบ่งชี้ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด
ข่าวสั้นๆ เมื่อช่วงต้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ทางองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ "จิ้งเหลนลิ้นสีฟ้า" หรือ Common Blue-tongued
และได้กลายมาเป็นสมาชิกใหม่ของสวนสัตว์นครราชสีมาเป็นที่เรียบร้อย ✨
ภาพจากองค์การสวนสัตว์
เดิมมีอยู่ 3 ตัวสามารถเพิ่มประชากรมาอีก 6
รวมทั้งสิ้นตอนนี้มีจิ้งเหลนลิ้นฟ้าอยู่ 9 ตัว
ในปัจจุบันทั้งหมดได้ถูกนำมาจัดแสดง ณ ส่วนจัดแสดงอาคารสัตว์เลื้อยคลานของสวนสัตว์นครราชสีมา
เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปสัมผัสและศึกษาชีวิตของสัตว์พิเศษชนิดนี้ได้
และรู้หรือไม่ จิ้นเหลนลิ้นฟ้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความนิยมสูง อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมสัตว์แปลกทั่วโลก⁉️
เพราะนอกจากเอกลักษณ์ประจำตัวอย่าง “ลิ้นสีฟ้าสดใส 🔵” ตามชื่อ Blue-tongued แล้ว ความเป็นมิตรของสัตว์ชนิดนี้ก็เป็นอีกลักษณะนิสัยที่พบไม่ได้บ่อยนักในหมู่สัตว์เลื้อยคลานด้วยกัน
ไม่ดุร้าย ตัวสั้นป้อมแถมอ้วนกลม ❤️✨
📍นอกจากนี้ พฤติกรรมเมื่อเจอศัตรูหรือต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่คาดว่าเป็นอันตรายก็ไม่ธรรมดา⁉️
Blue-Tongued จะตั้งหลักสู้โดยการแล่บลิ้นสีฟ้าสวย ๆ ของมันออกมาเพื่อข่มขู่
เมื่อรู้สึกคุมคามถึงชีวิตสุดๆ ก็จะ “แลบลิ้นจนสุดโคน”
รวมถึงการส่งเสียงขู่และพยายามพองตัวให้ดูใหญ่โตขึ้นอีกด้วย ⚠️
กลัวเลาสิ!
เราเรียกการตอบสนองลักษณะนี้ว่า Deimatic display ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่มีในสัตว์ต่าง ๆ หลายชนิดเพื่อข่มขวัญศัตรูให้ตกใจหรือกลัวจนหนีไป 💨
สันชาตญาณบอกว่าต้องเล่นใหญ่ไว้ก่อน…
💬 อวดอ้างว่าชั้นตัวใหญ่นะ มีความอันตราย ดังนั้นอย่าได้ริอาจเข้ามาใกล้เชียว (แม้ว่าในความเป็นจริงนั้นจะตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง)
1
ตัวอย่างอื่นๆ ที่มีการตอบสนอง Deimatic display ก็เช่น ลวดลายของผีเสื้อกลางคืนที่คล้ายดวงตาขนาดใหญ่ หรือการแผ่แผงคอของกิ่งก้าบางสายพันธุ์ เป็นต้น
1
❤️ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบทความค่า
🌱 ฝากกด Like กด Share และกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องหมอนะคะ 😘
References:
โฆษณา