30 มิ.ย. 2022 เวลา 10:00 • สุขภาพ
นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มแรกให้แก่ อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และทำสถิติครบ 100 ล้านโดสไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมาตามที่ตั้งเป้าไว้
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อนับถึงมิถุนายน 2565 คือวัคซีนจำนวนเกิน 10 ล้านโดสที่ยังคงเหลือ ซึ่งพบว่าบางลอตใกล้ถึงวันหมดอายุแล้ว
นับจากวันที่คาดหวัง ‘วัคซีนม้าเต็ง’ กระบวนการวัคซีนในช่วงแรกเต็มไปด้วยปัญหาชุลมุน มาหรือไม่มา ป้องกันได้จริงไหม ทำไมต้องมีวัคซีนทางเลือกที่ประชาชนต้องจ่ายเอง จนมาถึงวัคซีนสารพัดยี่ห้อเต็มแขนประชาชน และสุดท้ายก็เต็มตู้เย็น
Info-graphic: สิริลักษณ์ ตะเภาหิรัญ
ครั้งหนึ่ง รัฐบาลถูกกล่าวหาว่า จัดหาวัคซีนโควิด-19 อย่างล่าช้า จนเป็นสาเหตุให้คนจำนวนมากต้องเสียชีวิต ครั้งนี้ รัฐบาลก็กำลังถูกกล่าวหาว่า ไปโหมซื้อวัคซีนเข้ามาเกินความจำเป็นหรือเปล่า โดยเฉพาะวัคซีนที่อาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ จนมีข่าวว่า วัคซีนที่เหลือต้องถูกเร่งกระจายเพราะใกล้หมดอายุ หรือไม่ก็ต้องคิดเรื่องการทำลายหากไม่ได้ใช้งาน
ที่มาของการไล่ตามแก้ปัญหาในครั้งนี้อาจมาจากการสั่งซื้อวัคซีนบางชนิดมาเกินจำเป็น แผนจัดหาวัคซีนที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ และความมั่นอกมั่นใจใน ‘วัคซีนม้าเต็ง’ จึงไม่คิดกระจายความเสี่ยงด้วยการสั่งวัคซีนให้หลากหลายตั้งแต่แรก
ดูจำนวนวัคซีนที่ถูกสั่งซื้อโดยรัฐ ไทม์ไลน์การสั่งซื้อวัคซีน จากวันที่ไม่มีสักเข็ม จนเข็มหลายแบรนด์ทิ่มเต็มแขน ได้ที่นี่
#ไทยรัฐพลัส #ThairathPlus #WeSPEAKtoSPARK #วัคซีนโควิด19 #โควิด19 #วัคซีนเต็มแขน
ติดตามไทยรัฐพลัสได้ทาง
โฆษณา