1 ก.ค. 2022 เวลา 13:16 • เกม
《ชื่อและความหมายตัวละครหลีเยฺว่|璃月角色名之义》
ท่าเรืออันอุดมสมบูรณ์ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีป Teyvat เชิงเขาและป่าหินที่ตั้งตระหง่าน ที่ราบอันกว้างใหญ่ไพศาล และริมฝั่งแม่น้ำที่มีชีวิตชีวา ประกอบกันเป็นภูมิทัศน์อันอุดมสมบูรณ์ของ ‘หลีเยฺว่’ เปล่งประกายอย่างสวยงามภายใต้สภาพอากาศที่ต่างกันอย่างชัดเจนทั้งสี่ฤดูกาล ของขวัญจากยุคโบราณของเทพแห่งหินยังคงถูกฝังอยู่ท่ามกลางความมหัศจรรย์ของภูเขาหินแห่งนี้ และรอวันที่ผู้คนจะมาค้นพบมัน
เว็บไซน์ทางการ Genshin Impact|原神官方网站
“หลีเยฺว่” กับ “แก่นแห่งพุทธศาสนา”
  • “หลี(璃;lí)” เป็นการเรียกชื่อย่อของ “ศุทธิไวฑูรยะ(净琉璃世界)” หรือ “ดินแดนพุทธเกษตรด้านตะวันออก” ของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า(药师佛)ซึ่งปรากฏในพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร《药师琉璃光如来本愿功德》
  • “เยฺว่(月;yuè)” ในทางศาสนาพุทธหมายถึง “ตถตา(真如:ภาวะที่สิ่งทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง)” ซึ่งปรากฏในศูรังคมสูตร《楞严经》
ดังนั้นความหมายแฝงเมืองหลีเยฺว่ก็คือ “แดนสัจธรรมแห่งตะวันออก”
รายชื่อตัวละครหลีเยฺว่และความหมาย
1. เป๋ย์โต่ว|北斗
เป๋ย์โต่ว|北斗
  • 【北斗】Běidǒu:กลุ่มดาวกระบวยเหนือ
  • 【无冕之龙王】wú miǎn zhī lóngwáng:ราชินีไร้บัลลังก์แห่งท้องทะเล ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “เจ้าสมุทรไร้มงกุฎแห่งท้องทะเล”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🟣 กลุ่มดาวกระบวยเหนือ(北斗)จะอยู่ทางทิศเหนือ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มดาวกระบวยใต้(南斗)ที่อยู่ทางทิศใต้ โดยกลุ่มดาวทั้งสองมีความสำคัญต่อชาวจีนและด้านโหราศาสตร์จีน (โดยเฉพาะช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ) กล่าวคือ
▪ “กลุ่มดาวเป๋ย์โต่ว(北斗)” มีทั้งหมด 7 ดวง(北斗七星)ประกอบด้วย:
เทียนซู(天枢;tiānshū)、เทียนเสวียน(天璇;tiānxuán)、เทียนจี(天玑;tiānjī)、เทียนเฉวียน(天权;tiānquán)、อฺวี้เหิง(玉衡;yùhéng)、ไคหยาง(开阳;kāiyáng)、เหยากวง(摇光;yáoguāng)
.
กลุ่มดาวนี้มีเทพผู้ถือบัญชีตายสถิตอยู่
▪ “กลุ่มดาวหนันโต่ว(南斗)” มีทั้งหมด 6 ดวง(南斗六星)ประกอบด้วย:
เทียนฝู่(天府;tiānfǔ)、เทียนเหลียง(天梁;tiānliáng)、เทียนจี(天机;tiānjī)、เทียนถง(天同;tiāntóng)、เทียนเซี่ยง(天相;tiānxiàng)、ชีชา(七杀;qīshā)
.
กลุ่มดาวนี้มีเทพผู้ถือบัญชีเกิดสถิตอยู่
🟣 “หลงหวาง(龙王;lóngwáng)” หมายถึง พญามังกรผู้เป็นเจ้าสมุทร โดยทั้ง 4 ทิศจะมี 4 พญามังกรประจำอยู่ ซึ่งประกอบด้วย:
▪ "เจ้าสมุทรทะเลจีนตะวันออก(东海广德王)" หรือ "ชิงหลง(青龙)"
▪ "เจ้าสมุทรทะเลจีนใต้(南海广利王)" หรือ "ฉื้อหลง(赤龙)"
▪ "เจ้าสมุทรทะเลจีนตะวันตก(西海广顺王)" หรือ "เฮย์หลง(黑龙)"
▪ "เจ้าสมุทรทะเลจีนเหนือ(北海广泽王)" หรือ "ไป๋หลง(白龙)"
🟣 “เหมี่ยน(冕;miǎn)” หมายถึง มงกุฎ แต่ยังสามารถอุปมาถึงบัลลังก์ได้
2. ฉงหยฺวิน|重云
2
ฉงหยฺวิน|重云
  • 【重云】Chóng yún:เมฆที่สลับไปสลับมาเป็นชั้นๆ
  • 【雪融有踪】xué róng yǒu zōng:ร่องรอยในหิมะ ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “ร่องรอยปรากฏเมื่อหิมะละลาย”
3. หนิงกวง|凝光
หนิงกวง|凝光
  • 【凝光】Níng guāng:แสงเจิดจรัสรวมเข้าด้วยกัน
  • 【掩月天权】yǎn yuè tiānquán:ผู้บดบังดวงเดือน ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “ดาวเทียนเฉวียนบังดวงจันทร์”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
ดาวเทียนเฉวียน(天权;tiānquán)หรือเดลต้า (Delta: δ) เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวกระบวยเหนือ(北斗)ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 4 นอกจากนี้ ดาวเทียนเฉวียนมีเทพเหวินชฺวี(玄冥文曲纽星君)สถิตอยู่ และชื่อดาวมีความหมายว่า “ดุลยพินิจแห่งสวรรค์”
4. สิงชิว|行秋
สิงชิว|行秋
  • 【行秋】Xíng qiū:ฤดูใบไม้ร่วงหมุนเวียนมาถึง
  • 【少年春衫薄】shàonián chūnshān báo:หนุ่มน้อยนักธุรกิจ ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “สุภาพบุรุษในอาภรณ์ใบไม้ผลิ”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🔵 "ชุนซาน(春衫;chūnshān)" เป็นชุดผ้าแพรที่ชาวจีนโบราณนิยมใส่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เป็นชุดที่มีจำนวนผ้าที่ใส่ทับกันน้อยชิ้น มีอากาศถ่ายเทสะดวก ซึ่งต่างจากชุดกันหนาว สำหรับชุดผ้าแพรนี้ถือเป็นแฟชั่นในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้
🔵 "เซ่าเหนียนชุนซานเป๋า(少年春衫薄;shàonián chūnshān báo)" เป็นฉายาที่เลียนแบบมาจากวรรคหนึ่งในชุดบทกลอน “ผูซ่าหมานห้าบท《菩萨蛮五首》” ที่แต่งโดยเหวย์จวงแห่งราชวงศ์ถัง(晚唐韦庄)ความว่า: “บัดนี้จึงหวนคิดถึงเรื่องราวที่เจียงหนาน ในครานั้นยังเยาว์วัยสวมผ้าแพรวสันต์ที่พลิ้วไหวแลดูสง่างาม「如今却忆江南乐,当时年少春衫薄。」” ซึ่งเหวย์จวงใช้ “春衫薄” อุปมาถึงบรรยายภาพบรรยายความร่าเริงสดใสในวัยเด็ก
5. เหม่าเซียงหลิง|卯香菱
เหม่าเซียงหลิง|卯香菱
  • 【卯香菱】Mǎo Xiānglíng:ผลกระจับที่ส่งกลิ่นหอม ส่วนอักษร “เหม่า(卯)” เป็นแซ่ของน้องและพ่อ
  • 【万民百味】wànmín bǎi wèi:สุดยอดนักทำอาหาร ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “อาหารหลากรสแห่งภัตตาคารว่านหมิน”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🔴 "เหม่า(卯;mǎo)" นอกจากจะใช้เป็นแซ่แล้ว อักษรตัวนี้มีความสำคัญในด้านศาสตร์แผนภูมิสวรรค์(天干地支)กล่าวคือ “卯” ในทาง 12 นักษัตรคือ “ปีเถาะ” และในศาสตร์แผนภูมิสวรรค์แทนด้วยเลข “4” หมายถึงยาม “เหม่า (ประมาณตี 5-7 โมงเช้า)”
🔴 "หลิงเจี่ยว(菱角;língjiǎo)" ก็คือ "ผลกระกระจับ" มีลักษณะคล้ายกับเขาควาย มีสีดำและแดง โดยผลมีรสเปรี้ยว สามารถใช้เป็นสมุนไพรได้ อีกทั้งเมื่อนำไปเผาจะมีกลิ่นหอม
🔴 "ว่านหมิน(万民;wànmín)" นอกจากจะเป็นชื่อภัตตาคารที่พ่อเซียงหลิงทำอาหารแล้วนั้น ตามพจนานุกรมจีนปัจจุบัน ฉบับที่ 7《现代汉语词典第7版》ให้ความหมายว่า: [n.] ปวงชน/ปวงประชา
6. ซินเยี่ยน|辛焱
ซินเยี่ยน|辛焱
  • 【辛焱】Xīnyàn:เปลวเพลิงอันร้อนแรง
  • 【燥热旋律】zàorè xuánlǜ:เมโลดี้อันร้อนแรง ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “ท่วงทำนองเพลงอันร้อนแรง”
7. เยียนเฟย์|烟绯
เยียนเฟย์|烟绯
  • 【烟绯】Yānfēi:สีแดงมัวดั่งหมอกควัน
  • 【智明无邪】zhìmíng wúxié:ความไร้เดียงสาอันแสนแยบยล ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “เฉลียวฉลาดและไร้เดียงสา”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
“จื้อหมิง(智明;zhìmíng)” หมายถึง สติปัญญาอันแจ่มแจ้ง นอกจากนี้ยังเป็นคำบัญญัติเกี่ยวกับสติปัญญา 10 ประการที่ปรากฏในอวตังสกสูตร《华严经·十种智明》ดังนี้
▪ ปัญญารู้แจ้งในกรรมของสัตว์ทั้งหลาย(知众生业报智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในนิพพานทุกประการ(知一切境界智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในทุกสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียว(知一切所缘惟是一相智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในการสดับฟังทั้งสิบทิศ(能以妙音普闻十方智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในจิตที่เปื้อนความชั่ว(普坏染着心智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในการใช้ความสบายเพื่อความเจริญ(能以方便受生智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในการสละความอยากแห่งนิพพาน(舍离想受境界智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในธรรมทั้งหลายล้วนไร้รูป(知一切法无相无性智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนไม่มีอยู่จริง(知众生缘起本无有生智明)
▪ ปัญญารู้แจ้งในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ด้วยจิตที่ไม่ยึดติด(以无著心济度众生智明)
8. หยฺวินจิ่น|云堇
หยฺวินจิ่น|云堇
  • 【云堇】Yún Jǐn:แซ่ “หยฺวิน(云)” ชื่อ “จิ่น(堇)” ที่หมายถึง สีดอกไวโอเล็ต
  • 【红毹婵娟】hóng shū chánjuān:สาวน้อยในม่านแดง ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “โฉมงามบนพรมแดง”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🟡 "จิ่น(堇;jǐn)" หมายถึง สีไวโอเล็ต(Violet) ซึ่งเป็นสีของดอกไวโอเล็ต(紫罗兰花)ตามความเชื่อคนจีนถือว่าสีในโทนสีม่วงหมายถึง "ความมงคลและความมีเสน่ห์"
🟡 "หงซู(红毹;hóng shū)" มาจากคำว่า "หงฉฺวีซู(红氍毹;hóng qúshū)" หมายถึง พรมขนสัตว์แดง ซึ่งเป็นพรมปูพื้นสมัยโบราณ ภายหลังเป็นศัพท์เฉพาะในวงการงิ้ว หมายถึง เวที
🟡 "ฉานเจวียน(婵娟;chánjuān)" หมายถึง ผู้หญิงงาม ส่วนมากใช้บรรยายลักษณะกิริยาที่งดงามของผู้หญิงในกลอน ดังนั้นหากแปลฉายาของหยฺวินจิ่นก็จะประมาณว่า “โฉมงามบนเวทีงิ้ว” นั่นเอง
1
9. กันอฺวี่|甘雨
กันอฺวี่|甘雨
  • 【甘雨】Gānyǔ:ฝนรสหวาน และยังหมายถึง “ฝนที่ตกตามฤดูกาล” หรือ “ฝนที่ตกตามต้องการ” อีกด้วย
  • 【循循守月】xún xún shǒu yuè:ผู้พิทักษ์แห่งจันทรา ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “สัญญาผู้พิทักษ์แห่งหลีเยฺว่”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🔵 “กิเลน(麒麟;qílín)” เป็น 1 ใน 5 สัตว์มงคลของจีน(五大瑞兽)กิเลนมีนิสัยที่อ่อนโยน ว่องไวและขี้อาย ซึ่งลักษณะภายนอกของกันอฺวี่เป็นกิเลนและก็มีนิสัยในส่วนนี้ผสมอยู่ในสายเลือด ทำให้ดูสง่างามและเยือกเย็น
🔵 "สฺวินสฺวินโส่วเยฺว่(循循守月;xún xún shǒu yuè)" เป็นคำย่อของ “遵循与帝君之契约守护璃月(zūnxún yǔ dìjūn zhī qìyuē shǒuhù lí yuè)” ซึ่งเป็นสัญญาที่น้องได้รับบัญชาจากจักรพรรดิหิน(岩王帝君)เพื่อทำการปกป้องเมืองหลีเยฺว่นั่นเอง
10. หูเถา|胡桃
หูเถา|胡桃
  • 【胡桃】Hú Táo:แซ่ “หู(胡)” ชื่อ “เถา(桃)” หมายถึง ลูกท้อ
  • 【雪霁梅香】xué jí méi xiāng:กลิ่นหอมของลูกพลัม ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “เมื่อฝนหิมะหยุด ลูกบ๊วยก็จะหอม”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🔴 "หู(胡;hú)" นอกจากจะเป็นแซ่แล้ว ในสมัยโบราณยังใช้เรียกสิ่งของที่มาจากต่างประเทศ ตามโปสเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับน้องมักมีผีเสื้ออยู่ด้วย ซึ่งพ้องกับคำว่าผีเสื้อในภาษาจีนคือ “หูเตี๋ย(蝴蝶;húdié)” สันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาจากโศกนาฏกรรมในเรื่อง “ม่านประเพณี” หรือ “เหลียงซันปั๋วและจู้อิงไถ《梁山伯与祝英台》” ซึ่งเป็นตำนานผีเสื้อของคนจีน กล่าวว่าเมื่อทั้งคู่ตายก็ได้กลายเป็นผีเสื้อ อันเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความตาย
🔴 "เถาฮวา(桃花;táohuā)" หมายถึง ดอกท้อ ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของ "ชีวิตที่ยืนยาว"
🔴 "เหมย์ฮวา(梅花;méihuā)" หมายถึง ดอกบ๊วย ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของ "ความงามอันบริสุทธิ์และชีวิตวัยสาวที่สดใส"
11. เค่อฉิง|刻晴
เค่อฉิง|刻晴
  • 【刻晴】Kèqíng:ช่วงเวลาที่ฟ้าสดใส
  • 【霆霓快雨】tíng ní kuài yǔ:ผู้บงการสายฟ้า ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “สายฟ้าและสายฝนที่ฉับพลัน”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🟣 "ถิงหนีไคว่อฺวี่(霆霓快雨;tíng ní kuài yǔ)" เป็นฉายาที่เลียนแบบมาจากวรรคหนึ่งในกลอน “วสันต์แห่งห้องอักษร ม้วนที่ 4《〈春在堂随笔〉卷四》” กล่าวว่า: “จึงเร่งเปิดกลอนร่ายกวีด้วยใจที่ร้อนรุ่ม แลอยากชุ่มชื่นเหมือนสายฝนขับอัสนี「急开君诗扫烦暑,爽若快雨驱霆霓。」” ซึ่งเมื่อนำมารวมกับชื่อของน้องก็จะได้ว่า “霆霓快雨,即刻而晴(tíng ní kuài yǔ, jíkè ér qíng)” ความหมายคือ “สายฟ้าและสายฝนที่ฉับพลันก็สว่างในทันใด” หรือ “ฟ้าหลังฝน”
🟣 "เค่อฉิง(刻晴;kèqíng)" พ้องกับ “เค่อฉิน(克勤;kè qín)” หมายถึง สามารถทำงานหนักได้ ซึ่งจะตรงกับคาแรคเตอร์ในเนื้อเรื่องของน้องนั่นเอง
12. ชีชี|七七
ชีชี|七七
  • 【七七】Qīqī:เจ็ดเจ็ด
  • 【冻冻回魂夜】dòng dòng huí hún yè:ความเยือกเย็นคืนชีพ ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “คืนแห่งวิญญาณเยือกเย็นคืนชีพ”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🔵 ซอมบี้ในภาษาจีนเรียกว่า “เจียงซือ(僵尸;jiāngshī)” เป็นผีสวมชุดขุนนางยุคราชวงศ์ชิง(清朝)อาศัยในถ้ำหรือนอนในโลงในช่วงกลางวัน ส่วนตอนกลางคืนจะออกมาดูดเลือดสิ่งมีชีวิต ผีชนิดนี้เกิดจากคนตายกักลมหายใจสุดท้ายไว้(เพื่อคืนชีพ) อันเนื่องมาจากยังอาลัยอาวรณ์หรือมีเจตจำนงในการอยากมีชีวิตอยู่ ซึ่งน้องชีชีก็คือหนึ่งในนั้นที่ถูกปลุกคืนชีพอีกครั้ง
🔵 เลข “7” ตามความเชื่อคนจีนเป็นได้ทั้งเลขมงคลและอัปมงคล:
▪ เลขมงคล
เป็นการรวมหยิน-หยางและธาตุทั้งห้าเป็นหนึ่งเดียว, เทศกาลชีซี(七夕节)ซึ่งเป็นเทศกาลความรักของจีนหรือเทศกาลของสาวทอผ้ากับหนุ่มเลี้ยงวัว(牛郎织女传说)
▪ เลขอัปมงคล
เป็นตัวเลขของผีหรือความตาย, เทศกาลสารทจีน(中元普渡节)ซึ่งเป็นเทศกาลที่เหล่าดวงวิญญาณได้รับการปลดปล่อยมาท่องเที่ยวและรับส่วนบุญในแดนมนุษย์
13. เซินเฮ่อ|申鹤
เซินเฮ่อ|申鹤
  • 【申鹤】Shēnhè:“กระเรียนเดือนเก้า” หรือ “กระเรียนตัวที่เก้า”
  • 【孤辰茕怀】gū chén qióng huái:ห้วงคำนึงแสนอ้างว้าง ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “ดาวกำพร้าในห้วงคำนึงอันอ้างว้าง”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🔵 "เซิน(申;shēn)" สามารถเป็นแซ่ได้ ส่วนในด้านศาสตร์แผนภูมิสวรรค์(天干地支)หมายถึงลำดับที่ 9 ซึ่งแทนด้วยปีวอก(猴)
🔵 เลข “9” ตามความเชื่อคนจีนหมายถึง อายุยืนยาว นอกจากนี้ยังหมายถึงเทศกาลฉงหยาง(重阳节)ได้อีกด้วย เนื่องจากเซินเฮ่อเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ฝึกวิชาเซียนจนเป็นที่นับถือ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะได้แรงบันดาลใจมาจากปรมาจารย์นักพรตเต๋าหวังฉงหยาง(王重阳)ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "มนุษย์ผู้สำเร็จเซียน(修真得道)" ก็เป็นได้
🔵 "เฮ่อ(鹤;hè)" หรือ “กระเรียน” เป็นสัตว์ปีกที่ชาวจีนให้ความเคารพ โดยเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของ "อายุยืนและสูงส่งแก่การเคารพนับถือ" ซึ่งมักปรากฏในงานภาพวาดต่างๆ และอยู่คู่กับเซียนเสมอ
🔵 "กูเฉิน(孤辰;gūchén)" หมายถึง กำพร้า/อ้างว้าง/โดดเดี่ยว เป็นศัพท์เฉพาะในการทำนายของจีน ซึ่งมักใช้คู่กับ "กว่าซู่(寡宿;guǎsù)" หมายถึง เป็นหม้าย ดังคนโบราณกล่าวว่า "ชายกลัวความโดดเดี่ยว หญิงกลัวการเป็นหม้าย「男怕孤辰,女怕寡宿」" แต่สำหรับอุปนิสัยของเซินเฮ่อจะตรงกับ "กูเฉิน" ซะมากกว่า เนื่องจากน้องถูกอุปถัมภ์โดยจ้าววังวนเมฆา(留云借风真君)และหันสู่ทางแห่งเซียน จึงทำให้เกิดความห่างเหินจากชีวิตมนุษย์นั่นเอง
🔵 "ซู(梳;shū)" หมายถึง หวี ในสมัยโบราณใช้เป็นสิ่งของดูต่างหน้าของคู่รักและเป็นสัญลักษณ์ของการมั่น ตามธรรมเนียมจีนโบราณจะหวีผมให้เจ้าสาว 3 ครั้ง:
▪ หวีแรก "ราบรื่นไปจนถึงสุดปลาย(一梳梳到底)"
▪ หวีสอง "ให้รักใคร่ไปจนแก่เฒ่า(二梳白发齐眉)"
▪ หวีสาม "ให้มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง(三流子孙满堂)"
นอกจากนี้คำว่า "ซู(梳;shū)" ยังพ้องกับว่า "ซู(疏;shū)" ที่แปลว่าราบรื่นได้อีกด้วย
แต่สำหรับคติในเมืองหลีเยฺว่ถือว่า "ซู(疏;shū)" หมายถึง การกระจัดกระจาย/ห่างๆ ซึ่งจะตรงกับเบื้องหลังของเซินเฮ่อ ดังนั้นธรรมเนียมการหวีผมจึงมีการนิยามใหม่ว่า:
▪ หวีแรก "ตัดขาดเรื่องกังวล(一梳愁云去尾)"
▪ หวีสอง "สลัดความสุขและความเศร้า(二梳无喜无悲)"
▪ หวีสาม "บำเพ็ญตนสู่ทางเซียนไปจนเฒ่า(三梳白头不悔)"
14. เซียว|魈
เซียว|魈
  • 【魈】Xiāo:ปีศาจ/มาร
  • 【护法夜叉】hùfǎ yèchā:ยักษาผู้พิทักษ์ ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “ยักษาผู้เป็นธรรมบาล”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🟢 "เซียว(魈;xiāo)" มาจากคำว่า “ซานเซียว(山魈;shānxiāo)” หมายถึง ปีศาจภูเขา ซึ่งถูกบันทึกใน "คัมภีร์ซานไห่จิง หมวด ไห่เน่ย์จิง《山海经·海内经卷》" เล่าว่า: "ในแดนใต้ที่เมืองก้าน (ปัจจุบันคือมณฑลเจียงซี) มียักษ์หน้าคน แขนยาว ตัวดำมีขน เมื่อเจอคนยิ้มก็ยิ้มกลับ ยิ้มจนริมฝีปากปิดใบหน้า แล้วจึงวิ่งหนีไป「南方有赣巨人,人面长臂,黑身有毛,反踵,见人笑亦笑,唇蔽其面,因即逃也。」"
🟢 “ฮู่ฝ่า(护法;hùfǎ)” หมายถึง พิทักษ์หรือปกป้องศาสนาพุทธ ในทางพุทธมหายานเป็นชื่อย่อของ “พระเวทโพธิสัตว์ (สกันทโพธิสัตว์)” หรือ “อุยท้อผ่อสัด(韦驮菩萨)” อันเป็นพระธรรมบาลผู้ปกป้องศาสนาพุทธไม่ให้เสื่อม ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามวัดวาอารามต่างๆ ที่เกี่ยวกับนิกายมหายาน
🟢 “เย่ชา(夜叉;yèchā)” หมายถึง ยักษาหรือปีศาจ เป็นคำยืมมาจากภาษาสันสกฤตคือ “ยกฺษะ (यक्ष)”
15. เย่หลาน|夜兰
เย่หลาน|夜兰
  • 【夜兰】Yèlán:กล้วยไม้ราตรี
  • 【兰生幽谷】lán shēng yōugǔ:กล้วยไม้งามกลางหุบเขา ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “กล้วยไม้ที่โตในหุบเขาลึก”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🔵 "เย่หลาน(夜兰;yèlán)" หมายถึง กล้วยไม้ราตรี ซึ่งมีอีกคำหนึ่งที่ใกล้เคียงก็คือ “เยฺว่เลี่ยงหลาน(月亮兰;yuèliànglán)” หรือ “Moon Orchid” เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบได้ตั้งจีน ไต้หวัน ไทยและบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
🔵 "หลานเซิงโยวกู่(兰生幽谷;lán shēng yōugǔ)" มาจากสุภาษิต “กล้วยไม้ที่โตในหุบเขาลึก ไม่ใช่หยุดส่งกลิ่นเพียงเพราะไม่มีใครชื่นชม「兰生幽谷,不以无人而不芳。」” และข้อความตอนหนึ่งใน "วาทะสำนักขงจื่อ หมวด ภัยอันตราย《孔子家语·在厄》" ความว่า: "จือหลานโตในป่าทึบก็ยังส่งกลิ่นหอมแม้ไม่มีใครชมฉันใด สุภาพบุรุษผู้มีคุณธรรมก็ย่อมไม่เปลี่ยนใจเพียงเพราะตัวเองยากจนฉันนั้น「芝兰生于深林,不以无人而不芳;君子修道立德,不为穷困而改解。」"
ซึ่งทั้ง 2 สำนวนที่กล่าวมาล้วนเป็นการอุปมาว่า ผู้หญิงที่รูปงาม คนที่มีพรสวรรค์หรือมีคุณธรรมแม้อยู่ในถิ่นทุรกันดารก็ยังโดดเด่นเด่นได้ ซึ่งคล้ายๆ กับที่คนไทยชอบพูดว่า “ระฆังดังเพราะคนตี ระฆังดีไม่ตีก็ดัง”
🔵 หากสลับ "เย่หลาน(夜兰;yèlán)" เป็น "หลานเย่(兰夜;lányè)" จะหมายถึง พลบค่ำในวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีนหรือเทศกาลชีซี(七夕节)นั่นเอง
▪ สมัยโบราณเรียกเดือน 7 ว่า "หลานเยฺว่(兰月;lányuè)" ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลนี้จึงเรียกว่า "หลานเย่(兰夜)"
▪ ในปัจจุบันจะเรียกว่า "ชีซี(七夕)" ซึ่งทั้งคู่มีความหมายเหมือนกัน
16. จงหลี|钟离
จงหลี|钟离
  • 【钟离】Zhōnglí:“เวลาแห่งการจากลา” หรือ “นาฬิกาแห่งการจากลา”
  • 【尘世闲游】chénshì xián yóu:ผู้พเนจรแห่งแดนมนุษย์ ถ้าแปลตามรูปอักษรจีนจะแปลได้ว่า “ผู้ท่องเที่ยวในแดนมนุษย์”
💡เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย💡
🟡 "จงหลี(钟离;zhōnglí)" ยังสามารถแผลงมาจากคำว่า “ซ่งจง(送钟;sòng zhōng)” หมายถึง การมอบนาฬิกา สำหรับในวัฒนธรรมจีนถือว่าการส่งนาฬิกาเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลที่สำคัญเป็นการสาปแช่งให้คนอื่นตายเร็วๆ อีกทั้งเสียงไปพ้องกับคำว่า “ซ่งจง(送终;sòngzhōng)” ที่หมายถึง การไว้อาลัยครั้งสุดท้ายก่อนตาย อีกด้วย
🟡 "จงหลี(钟离;zhōnglí)" ยังสามารถใช้เป็นแซ่ได้ เช่น จงหลีเฉวียน(钟离权;Zhōnglí Quán)อันเป็นชื่อแซ่ของ 1 ใน 8 เทพหรือโป๊ยเซียน (八仙)
🟡 "เฉินซื่อเสียนโหยว(尘世闲游;chénshì xián yóu)" สมัยโบราณชาวจีนใช้อุปมาชีวิตหลังเกษียณ พอเกษียณก็กลับภูมิลำเนาเดิมไปตกปลา แต่สำหรับในเกมและปัจจุบันจะใช้อุปมาถึงชีวิตที่สุขสำราญเหมือนเทพลงมาเที่ยวในแดนมนุษย์
📢ประกาศจากทางเพจ📢
ทางเพจได้เปิดขายสติ๊กเกอร์ไลน์ Ver.1 มีทั้งหมด 8 ตัว+ภาษาจีน
สามารถซื้ออุดหนุนได้ที่ "Line Store" หรือ ตามลิงก์ด้านล่างได้เลยนะครับ
สติ๊กเกอร์ไลน์ "เป่าหลานคิ้วปลิง"
อ้างอิง|参考
โฆษณา