2 ก.ค. 2022 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก สาธรยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสูงสัญลักษณ์วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
พาย้อนประวัติตึกร้างย่านสาทร ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์ สัญลักษณ์วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง หรือ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเมื่อปี พ.ศ.2540
13
รู้จัก สาธรยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสูงสัญลักษณ์วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
หากจำกันได้ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ซึ่งยุคนั้นนับเป็นยุคที่ผู้คนเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง ธุรกิจน้อยใหญ่ล้มหายตายจาก หลายคนกลายเป็นหนี้ก้อนโตภายในช่วงข้ามคืน ประเทศแทบมองไม่เห็นหนทางไปต่อ
1
และหนึ่งในสิ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" นั่นก็คือตึกร้างสูงใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อย่าง ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์ ที่สุดท้ายแล้วไม่สามารถสร้างต่อจนแล้วเสร็จได้ เนื่องจากสถานการณ์ในตอนนั้น สถาบันการเงินหลายที่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทสาธรยูนีค ได้ปิดตัวลงจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ส่งผลให้ตึกแห่งนี้ก็ถูกตัดเงินที่ให้กู้ไปโดยปริยาย
2
ประวัติตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์
1
ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์ ตึกสูง 185 เมตร 49 ชั้น ได้รับการออกแบบโดย บริษัท รังสรรค์แอนด์อะโซชีเอท จำกัด ได้มีการวางแผนจะสร้างให้เป็นคอมเพล็กซ์คอนโดมิเนียมระดับหรู โดยให้ทุกห้องของอาคารสามารถมองเห็นวิวแม่น้ำได้ทั้งหมด
4
แต่การก่อสร้างตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์ ต้องหยุดชะงักลงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 แม้จะเสร็จสิ้นไปกว่า 80% เหลือเพียงการตกแต่งภายในทั้งหมดและภายนอกอีกเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้เอง สาธร ยูนีค ทาวเวอร์ จึงกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ในอีกประการหนึ่ง
5
ปัจจุบันอาคาร สาธร ยูนีค ทาวเวอร์ ถือเป็นอาคารร้างที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในกรุงเทพมหานครและแห่งหนึ่งของโลก เป็นตึกร้างที่สูงที่สุดในประเทศไทย และจากการจัดอันดับอาคารร้างระฟ้าสูงที่สุดในโลก เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปรากฏว่า สาธร ยูนีค ทาวเวอร์ ติดอยู่อันดับที่ 4 ของโลกอีกด้วย
8
ด้วยความเป็นที่เป็นอาคารสูงบนทำเลทองโดยรอบ จึงกลายเป็นหนึ่งในสถานที่อันซีนยอดฮิตของนักท่องเที่ยวในอดีต ที่มีคนแอบขึ้นไปถ่ายรูปด้านบนซึ่งสามารถดูบรรยากาศโดยรอบกรุงเทพมหานครได้รอบ 360 องศา แต่ในปัจจุบันทางเจ้าของโครงการได้ทำการปิดประตูอย่างเบ็ดเสร็จห้ามคนนอกขึ้นไปได้อีก
4
สาธรยูนีค ทาวเวอร์ ได้มีการวางแผนให้สาธร ยูนีค เป็นคอนโดมิเนียมระดับหรูสูง 47 ชั้น รวม 600 ยูนิต ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกชื่อดังและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้ออกแบบอาคารสเตท ทาวเวอร์ ที่ถือเป็นอาคารน้องของสาธร ยูนีค
7
โครงการก่อสร้างนั้นเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2533 มีเจ้าของโครงการคือบริษัท สาธร ยูนีค จำกัด และได้รับการสนับสนุนเงินทุนส่วนมากจากบริษัทหลักทรัพย์ไทยแมกซ์ การก่อสร้างได้เริ่มต้นขึ้นปีเดียวกัน โดยมีบริษัทสี่พระยา จำกัด เป็นผู้รับเหมาการก่อสร้าง
5
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ตลาดอสังหาริมทรัพย์เกิดการล้มละลาย เช่นเดียวกันกับบริษัทไฟแนนซ์ต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการซึ่งก็ประสบปัญหาหนี้สิน โครงการก่อสร้างอาคารต่างๆในกรุงเทพมหานครต่างพากันหยุดชะงัก โดยมีอาคารหรูกว่า 300 แห่งที่ถูกทิ้งร้าง แต่อาคารส่วนมากได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในภายหลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัว (อาคารสเตท ทาวเวอร์ก็ถือเป็นหนึ่งในอาคารดังกล่าว)
10
แต่ทว่า อาคารสาธร ยูนีคกลับถูกทิ้งร้างไว้ในสภาพเดิมนับแต่นั้นจนเป็นที่รู้จักกันในหมู่ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในชื่อของ "Ghost Tower" แม้ว่าจะมีความพยายามในเรื่องการตกลงในเรื่องการซื้อขายและการรีไฟแนนซ์อยู่หลายครั้ง โดยนายพรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ บุตรชายของ ผศ.รังสรรค์ ที่เข้ามารับช่วงต่อจากบิดา แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากนายพรรษิษฐ์ ต้องการที่จะขายอาคารในราคาที่จะสามารถชดเชยเงินต้นให้ผู้ร่วมลงทุนในโครงการ
8
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 อาคารแห่งนี้กลับมาเป็นที่พูดถึงกันอีกครั้งหลังจากที่มีการพบศพชายชาวสวีเดนในสภาพแขวนคอ เสียชีวิตบนชั้นที่ 43 โดยสาเหตุการเสียชีวิตนั้นได้มีการยืนยันว่าเป็นการฆ่าตัวตาย ซึ่งทางสำนักข่าวหลายแห่งก็ได้มีการตั้งข้อสงสัยถึงความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของอาคารแห่งนี้
8
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 นายพรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ ซึ่งได้เข้ามาเป็นหนึ่งสมาชิกบอร์ดบริหารของบริษัทสาธร ยูนีค จำกัด ได้เปิดเผยว่าได้ทำการแจ้งความข้อหาบุกรุกอาคารสถานที่แก่บุคคลทั้งหมด 5 คน ที่ได้โพสต์รูปและคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการเข้ามาในอาคารลงบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งในจำนวนนี้ยังรวมไปถึงชาวต่างชาติสองคนที่ได้ทำวิดีโอที่พวกเขาแสดงการวิ่งฟรีรันนิ่งบนตึกแห่งนี้
8
นายพรรษิษฐ์ ได้กล่าว่าเขาต้องการให้การแจ้งความครั้งนี้เป็นตัวอย่างและหยุดยั้งคนที่จะเข้ามาปีนป่ายบนตึกที่มีความอันตราย เขาได้ระบุเพิ่มว่าจำนวนผู้เข้ามาในตัวอาคารอย่างผิดกฎหมายนั้นเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีการเผยแพร่เรื่องอาคารแห่งนี้ในโลกออนไลน์กันมากขึ้น โดยในบางสัปดาห์นั้นมีผู้เข้าไปยังตัวอาคารมากกว่าหนึ่งร้อยคน ซึ่งตนก็ไม่สามารถห้ามไม่ให้ยามรับสินบนจากผู้เข้าชมตึกได้เนื่องจากไม่สามารถเฝ้าตึกด้วยตัวเองตลอดทั้งวัน
8
ในปีพ.ศ. 2560 นายพรรษิษฐ์ได้อนุญาตให้มิวเซียมสยามจัดการสัมนาที่ตัวอาคาร ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการระลึก 20 ปีของวิกฤติเศรษฐกิจ อกจากนี้ยังอนุมัติให้ จีดีเอช (GDH) ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฉากสำคัญในภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง เพื่อน..ที่ระลึก อีกด้วย
4
นักท่องเที่ยวต่างชาติมักจะรู้จักและเรียกชื่ออาคารแห่งนี้กันว่า "Ghost Tower" และเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความท้าทายและต้องการถ่ายภาพมุมสูง
3
โฆษณา