6 ก.ค. 2022 เวลา 17:12 • สุขภาพ
หมอเด็ก ตื่นเต้นกับสิ่งนี้ค่ะ น้องอิงมา
ชื่อเกร๋ เกร๋ คำไทยแท้ๆ.... ทำไมต้องอิงมา
เธอไม่ใช้มนุษย์จริงๆ แต่เป็น Virtral Humman
ที่ใบหน้า หู ตา จมูก ปากและเสียงของเธอ ถูกสร้างขึ้นโดยการอิงมาจากข้อมูลทางสถิติของผู้ป่วยไข้เลือดออก และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 1,237,467 คน ย้อนหลังไป 15 ปี
และสิ่งที่ตัวเองสะเทือนในใจเมื่อเห็นอิงมาคือ
แววตาคู่นี้ เศร้า แววคาของเด็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกรุนแรงก็เศร้าแบบนี้ เด็กๆจะทรมานมากจนน่าสงสาร ถ้าเด็กเล็กจะงอแง หรือซึมมาก
เด็กจะไม่สบายตัวเลย การรักษาก็ต้องถูกเจาะเลือดหลายต่อหลายครั้ง ในรายที่อาการรุนแรง เด็กๆทรมานมากนะคะกว่าจะหาย
หมอเด็ก กับไข้เลือดออกเป็นของคู่กัน เป็นโรคที่หมอเด็กทุกคนต้องรู้จักให้ดี และรับมือให้ได้ในหลากหลายรูปแบบมากที่สุด
และเพราะอิงมา มาจากข้อมูลของคนไข้นับล้าน
เธอจึงชื่อ อิงมา
และเพราะเธอมาจากภาพถ่ายของคนไข้และผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก แววตาของหนูน้อยอิงมาจึงดูเศร้า
.
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถป่วยได้ทุกเพศ และทุกวัย แต่ช่วงวัยที่พบการเจ็บป่งยมากที่สุดคือวัยเด็กเล็ก และวัยประถม ช่วงอายุ 5-15 ปี
เหตุผลง่ายๆเพราะพาหะของโรคนี้คือยุงลาย ที่ชอบออกหากินตอนกลางวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ ตื่นไปโรงเรียน หรือออกวิ่งเล่นตามสุ่มทุมพุ่มไม้ หรือแม้แต่การกลับเข้ามานอนในบ้านช่วงกลางวันก็มีโอกาสได้ตกเป็นเหยื่อของยุงลายที่กำลังออกหากิน สุดท้ายเมื่อโดนยุงที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในต่อมน้ำลายกัด มันก็จะปล่อยเชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดของเหยื่อด้วยเช่นกัน
เพราะสถิติเด็กประถมเป็นเหยื่อของไข้เลือดออมากที่สุด... อิงมา จึงเป็นเด็กประถม
อิงมาเกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร และบริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของไข้เลือดออก เพราะที่ผ่านมาเราอาจชินกับโรคนี้และมองว่าเป็นกันทุกปี เป็นแล้วก็หาย ทั้งที่ความจริงมีคนตกเป็นเหยื่อนับล้าน
อิงมาจึงมาที่นี่ในฐานะตัวแทนของเหยื่อไข้เลือดออกทุกคน เพื่อบอกคนไทยว่า
“ไข้เลือดออกน่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด”
.
หลายครั้งที่เวลาดูแลคนไข้ เราวินิจฉัยไข้เลือดออกได้เพราะ เราระลึกถึงมันเสมอ และถ้าเมื่อไหร่ที่เราลืม หรือคิดไม่ถึง เรามักจะพลาด
ในชีวิตการเป็นหมอ เจอมาทั้งสองแบบ แต่เพราะเจอแบบที่สองก่อนจึงทำให้....
หมอจะไม่พลาดอีก
เคสที่คาดไม่ถึง เหตุการณ์ตั้งแต่สมัยยังเรียนต่อเฉพาะสาขากุมารแพทย์ ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของไข้ แต่วันนั้นอยู่เวร
เป็นวันที่อยู่เวร เราราวน์รับเวรเคสที่มีปัญหา
มีการส่งต่อคนไข้อายุน่าจะ 10 เดือนถ้าจำไม่ผิด จำได้ว่าเด็กไม่ถึงขวบ มาด้วยท้องเสีย มีไข้ก่อนมารพ. ประวัติและอาการเหมือนเด็กลำไส้
อักเสบทั่วๆไป แต่แปลกกที่ไข้ไม่ลงซักที และเด็กซึมไม่ค่อยเล่น
เด็กนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ไข้วันแรก เจาะเลือดสองสามครั้งระหว่างนอนรพ. เพราะไข้ไม่ลด หมอก็พยายามหาสาเหตุ ผลเลือดเหมือนเด็กท้องเสียทั่วไป เด็กได้รับการดูแลแบบเด็กท้องเสียเคสอื่นๆ แต่ อาการไม่ดีขึ้นสักที เจาะลือดกี่ครั้งก็ยังไม่ได้คำตอบอะไร
วันที่ตัวเองได้เห็นเด็ก เป็นวันที่เด็กไข้เข้าวันที่ 7 ยังถ่ายเหลว เด็กซึม ไม่ค่อยเล่น ดูไม่สบายตัว ตาบวมๆ ตับโต อันนี้พอเห็นก็ไม่ใช่เด็กท้องเสียทั่วไปแล้ว
สุดท้ายตัดสินใจเจาะเลือดใหม่ ผลเลือดออกมาเพิ่งโชว์วันนี้ว่าเป็นไข้เลือดออก แลปอื่นที่บอกสภาพคนไข้คือ ไปไกลมาก หลังจากนั้นเด็กอาการทรุดไปเรื่อยๆ เราเฝ้าเตียงนี้ทั้งวัน แต่สุดท้ายเราก็ต้องเสียคนไข้ไป หลังจากสู้จนหมดทาง
เรานำเคสนี้ขึ้นเรียนในที่ประชุม ซึ่งต้องทำเสมอหากมีการตายของคนไข้เกิดขึ้น ทุกอย่างจะถูกทบทวน สอบสวนโดยอาจารย์ทั้งหมด ตั้งแต่วันแรก จนถึงนาทีสุดท้ายของคนไข้
เคสนี้คาดไม่ถึงแต่แรก เพราะมันไม่มีอะไรให้นึกถึง การจัดการคนไข้ในตอนแรก จึงไปคนละทางกับการจัดกาารคนไข้ไข้เลือดออก
ในยุค 20 ปีก่อน แลปดีๆที่ช่วยวินิจฉัยได้เร็ว ยังไม่มีแบบในยุคนี้ ใช้อาการทางคลินิก การตรวจร่างกาย ซึ่งก็ขึ้นกับประสบการณ์ของหมอด้วย
การรักษาที่ดีๆยังไม่เท่ายุคนี้ แต่ ไข้เลือดออก ถ้ากรณีที่มันรุนแรงถึงที่สุด ไม่ว่าคุณจะอยู่ในรพ.ที่ดีแค่ไหนก็ตาม คุณมีโอกาสตายมากกว่ารอดเสมอ
หลังจากเห็นเคสนั้นแล้ว การไม่เคยลืมว่าไข้เลือดออกมาแบบไหนก็ได้ ทั้งแบบที่มันชอบมาและแบบที่ปกติไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่เราจะวินิจฉัยได้ เมื่อเราคิดถึง และแลปดีพอที่จะตรวจจับได้
และเมื่อเรียนจบแล้ว การดูแลคนไข้ไข้เลือดออกแบบรุนแรง คือความกดดันที่ถ้าผ่านวันวิกฤตินั้นได้ เราจะเห็นแสงสว่างเลย หนึ่งคืนที่หมอไม่ได้นอน แลกกับหนึ่งชีวิตที่รอด คุ้มค่าเสมอ หลายครั้งต้องบอกแม่ว่า หมอจะดูแลและทำเต็มที่เลยนะ แต่เราต้องเผื่อใจไว้นะแม่ ... แล้วเราก็สวดมนต์ในใจ
พอถึงตรงนี้ อาจจะตกใจ ว่าเป็นแล้วตายอย่างเดียวเลยเหรอ มันมีความจริงของไข้เลือดออกที่ควรรู้เหมือนกันค่ะว่า....
1: ไข้เลือดออกระบาดได้ทุกที่ ไม่ว่าในเมืองหรือชนบท
2: ไข้เลือดออกเสี่ยงทุกอายุ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คนที่สุขภาพแข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว
แต่จะมีกลุ่มเสี่ยงป่วยหนัก และเสี่ยงตายนะคะ โรคนี้จะน่ากลัวมากวสำหรับเด็กอ้วนค่ะ อัตราตายสูงกว่าเด็กที่ีรูปร่างผอมหรือปกติ
3: การติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกมีตั้งแต่แสดงอาการไม่รุนแรง ไปจนถึงอาการรุนแรง และเสียชีวิต ฉะนั้นเป็นแล้วอาการเล๋กน้อย เหมือนติดเชื้อไวรัสททั่วๆไป ไข้ ปวดเนื้อปวดตัว สองสามวันหาย แบบนี้ก็ได้ บางคนหายเองแบบไม่ได้มารพ.พบแพทย์ ไม่ได้เจาะเลือด ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นไข้เลืออดออก ซึ่งกลุ่มอาการไม่รันแรงมีมากกว่าคนไข้ที่มีอาการรุนแรงเยอะเลยค่ะ แต่ถ้าระบาดมาก คนป่วยเยอะ เราก็จะเจอเคสหนัก และเสียชีวิตมากตามสัดส่วน
4: ไข้เลือดออกเป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก เพราะไวรัสไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ การเป็นซ้ำไม่ใช่ไวรัสมันกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ เรามักได้ยินข่าวแบบนี้ ไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ไม่เคยเปลี่ยน
5: การติดเชื้อซ้ำอาจเพิ่มความเสี่ยงให้อาการรุนแรงขึ้น การป่วยเป็นไข้เลือดออกครั้งที่สองที่สาม มักมีอาการรันแรงงกว่าครั้งแรก เนื่องจากกลไกของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ไม่สูงพอที่จะป้อวกันการติดเชื้อใหม่ได้ แต่กลับกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบที่รุนแรงขึ้นในการติดเชื้อครั้งใหม่
6: ยังไม่มียารักษาไข้เลือดออกแบบเฉพาะเจาะจง การรักษาโรคไข้เลือดออก ใช้หลักการเข้าใจพยาธิวิทยาของโรคอย่างลึกซึ้ง รู้จัก และเข้าใจธรรมชาติของโรค เพื่อให้การรักษาด้วยสารน้ำอย่างถูกต้องและเหมาะสม
7.ไข้เลือดออกมีแค่ 4 สายพันธุ์นะคะ ยังไงก็ 4 ยังไม่มีสายพันธุ์ใหม่ใดๆ
การควบคุมและป้องกันโรค
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
กำจัดยุงลาย
ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดทั้งผู้ป่วยและคนที่ยังไม่ป่วย
พอเห็นอิงมา ก็คิดถึงคนไข้ไข้เลือดออกค่ะ เจอแต่โควิดซะจนไข้เลือดออกไม่มีที่ยืนเลยทีเดียวในช่วงสองปีที่ผ่านมา
.
◾️ ชมคลิปแนะนำตัวของอิงมาได้ที่นี่: https://youtu.be/h-lF-xlH-hA
◾️ ติดตามเรื่องจริงจากอิงมาเพิ่มเติมได้ที่นี่:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา