11 ก.ค. 2022 เวลา 06:27 • ไลฟ์สไตล์
ตอนที่ 15: Being a counselor FOR LIFE? - การเปลี่ยนเส้นทางชีวิตการทำงาน….เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ที่ Healthy กับตัวเองมากกว่า
สวัสดีค่ะ และแล้ววววว ดิฉันก็กลับมาแล้วค่ะทุกคนนนนนนน
ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ดิฉันต้องบอกเลยว่า…ดิฉันต้องฝ่าฟันต่อสู้กับอะไรหลายอย่างค่อนข้างเยอะพอสมควรเลยค่ะ
โดยเฉพาะกับสิ่งที่ก็ได้เปรยในหัวข้อเรื่องวันนี้ไปแล้ว…..นั่นก็คือเรื่อง “งาน” นั่นเอง
ตั้งแต่ต้นเดือนมกรา ที่ดิฉันตัดสินเข้าทำงานจิตวิทยาให้คำปรึกษาที่สถาบันแห่งหนึ่ง ซึ่งตลอดมาจนถึงวันนี้ ดิฉันก็ได้ทำงานก้าวเข้าสู่การทำงานเดือนที่ 7 แล้วล่ะค่ะ ในหัวดิฉันส่วนหนึ่งก็คิดว่า เวลามันก็ผ่านไปเร็วเหมือนกันเนอะ แต่ในอีกใจหนึ่งมันก็มีความคิดอีกด้านผุดขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ ว่ากว่าดิฉันจะผ่านมาสู่เดือนที่ 7 ได้นั้น… มันก็เหนื่อยยากลำบากต่อใจเราเหมือนกันนะ
อยากจะดอกจันสักหนึ่งร้อยดวงเอาไว้ตรงนี้ก่อนเลยนะคะว่าสิ่งนี้อาจไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกคนเมื่อได้ทำงานสายนี้ก็ได้นะ สิ่งที่ดิฉันเขียนต่อจากนี้ มันไม่ได้หมายความว่าสายงานนี้เป็นสายงานที่แย่ suffer หรืออะไรใด ๆ ทั้งนั้น แต่สิ่งที่ดิฉันจะเขียนต่อจากนี้ เป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง และดิฉันอยากซื่อสัตย์กับตนเองเพียงเท่านั้น และก็คิดเพียงว่า สิ่งที่ดิฉันได้เผชิญมา มันก็อาจเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับใครบางคนก็ได้ ก็เลยอยากเขียนและนำมาแชร์สู่กันฟังค่ะ
Reflect x Recap การทำงานเป็นจิตปรึกษาของฉันช่วงไตรมาสหลัง (ก่อนจบ) - เริ่มเลอะ!
หลังจากที่ไตรมาสแรก ดิฉันได้ข้อสรุปกับตนเองในเรื่องความรู้สึก “ไม่อยากทำงาน” แล้วว่า มันอาจจะต้องใช้เวลาดูอีกหน่อยเพราะเราอาจยังไม่มีประสบการณ์การทำงานมากพอ และอาจต้องหางานอื่นทำเพิ่มเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกนี้เพิ่ม
มาจนถึงตอนนี้ ดิฉันอยากบอกเลยค่ะ ว่าในส่วนของการหางานอื่นทำเพิ่มนั้น ….. ก็ยังไม่ได้เริ่มเลอะ! 55555 เพราะยอมรับเลยว่าพอทำงานนี้แล้วพลังงานมันหมดจริง ๆ ค่ะ ทำเสร็จปุ๊บก็ไม่อยากทำอะไรอีกแล้วนอกจากพักดูคลิปหรือหนังคลายเครียด แล้วก็นอน 555555555 มีบ้างที่เอาตัวเองออกไปข้างนอกเพื่อไปช่วยขับรถหรือสานฝันกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับเจ้าคุณพ่อและเจ้าคุณแม่ ซึ่งสิ่งนั้นก็พอทำได้อยู่นะ เพราะเราก็อยากออกไปข้างนอกด้วยแหละ อย่างน้อยก็เปลี่ยนบรรยากาศ ออกจากพื้นที่การทำงานเดิม ๆ ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้มข้น
ส่วนคำตอบเพิ่มเติมกับความรู้สึก “ไม่อยากทำงาน” นั้น หลังจากที่ทำงานมาถึงจุดนี้แล้ว ก็ต้องยอมรับค่ะ ว่าความรู้สึกนี้มันก็ยังคงอยู่จริง ๆ มิหนำซ้ำยิ่งรู้สึกว่ามันเข้มข้นขึ้นด้วย
มันจะมีบางวันที่เรา control ได้และไม่ได้สลับกันไป วันที่เรา control ได้มักเป็นวันที่เคสไม่หนัก หรือมักเป็นวันที่เรา prepare ตนเองกับการทำเคสมาดีเพราะเราสามารถลดความกังวลและ expectation กับการทำเคสได้ ส่วนสำหรับวันที่เรา control ไม่ได้ (ซึ่งมีเยอะช่วงหลัง ๆ) มักจะเป็นวันที่เราเจอเคสหนัก ๆ หรือคนอื่นมาบอกเราว่านี่เป็นเคสหนักเราเลยรู้สึกหนัก
และที่สำคัญเลยเป็นวันที่เรารู้สึกกับตนเองว่าเราไม่พร้อม ไม่มั่นใจกับการรับเคส ซึ่งมาจากความล้าทางร่างกาย ความนอยด์จากอาการเฟลของการทำเคสเมื่อวานหรือเคสก่อน ๆ ที่ยังตราตรึงใจเราทำให้เรากลัวการรับเคสสไตล์นั้น ทำให้พาลไม่กล้ารับเคสอื่น ๆ ที่อาจนำพามาสู่ความเฟลไปด้วย รวมไปถึงความกดดันอื่น ๆ ที่มาจากเงื่อนไขการทำงานบางอย่างที่ force เราให้ผลักดันศักยภาพการทำงานให้มากขึ้นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ซึ่งไอ่สิ่งหลังนี่แหละ….ที่ทำให้ดิฉันยิ่งเหนื่อยสุด ๆ ไปเลย)
แต่ถามว่า feedback เรื่องศักยภาพและความสามารถของดิฉันกับการทำงานนี้เป็นอย่างไร…..ผลงานก็ไม่ได้แย่นะ เพราะในช่วงปลายไตรมาสแรกทางสถาบันก็ได้มีการประเมินผลงานแหละ
ซึ่งผลการประเมินงานจากพี่ ๆ superviser หลาย ๆ คนนั้นเขาก็บอกว่าดิฉันทำงานได้อยู่ในระดับ “ดี” ล่ะค่ะ ซึ่งก็บอกตามตรงว่าช็อคอยู่เหมือนกัน แต่ก็ภูมิใจในตนเองนะ ว่าทำงานมาไม่กี่เดือน เราก็มีคะแนนอยู่ในระดับดีเลย เยี่ยมมาก! แสดงว่าเราก็น่าจะมีกึ๋นกับการทำงานนี้อยู่บ้างแหละ แล้วมันก็ทำให้เราได้มั่นใจและ reassure กับตนเองว่า สิ่งที่เราทำอยู่คือมาถูกทางแล้วแหละ
แต่อาจด้วยการที่เราเป็นคนตั้งใจกับการทำงานมาก ๆ มากเสียจนบางทีเวลาเรามอบสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุดให้กับเคสแล้ว แต่เคสกลับไม่มองแบบเดียวกับเรา หรือปฏิเสธการช่วยเหลือจากเรา มันก็เลยชอบทำให้เรา doubt กับศักยภาพการทำงานของเราบ่อย ๆ จนกลายเป็นขาดความมั่นใจมาก ๆ ซึ่งสิ่งนี้มันก็คืออะไรที่ต้องใช้เวลาในการ work on นั่นแหละ ถ้าสุดท้ายแล้วเรารู้สึกอยากสู้กับการทำงานนี้จริง ๆ
แต่สุดท้ายแล้ว มันก็ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ แหละ ว่า….
1) ระบบการทำงานหลาย ๆ อย่าง มัน “กดดัน” เราเกินไปว่ะ
บางทีมันมาถึงจุดที่ดิฉันก็อยากตั้งคำถามใหญ่ ๆ ไปถึงใครหลาย ๆ คนเลยว่า การที่เราจะต้องทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริการ โดยเฉพาะอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการงานสาธารณสุข อาชีพที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพกายและใจ รวมถึงสร้างความตระหนักให้คนกลับมาใส่ใจสุขภาพกายและใจมากขึ้น….
‘ถ้าเราไม่ได้มีเวลาในการดูแลสุขภาพกายและใจของตนเอง เราจะสามารถให้บริการหรือดูแลสุขภาพกายและใจของคนอื่นได้ยังไงกัน’
มันล้ามากจริง ๆ ค่ะทุกคน ทั้ง physical และ emotional แถมยิ่งเจอระบบการทำงานบางอย่างที่มันไม่ได้ motivate ให้เราอยากทำงานหรือเอื้อต่อการดูแลกายใจเราเลย มันยิ่งไปกันใหญ่เลยค่ะ ดิฉันสังเกตเห็นตัวเองได้อย่างชัดเจนเลยว่าตั้งแต่ทำงานนี้มาในช่วงเดือนหลัง ๆ ดิฉันอารมณ์สวิงมาก รวมถึงรู้สึกเลยว่าเริ่มควบคุมอารมณ์ลำบากขึ้นเพราะได้รับ effect จากการนอนไม่เป็นเวลา ไม่ได้มีเวลาพักกับตนเองอย่างเต็มที่ ไม่ได้มีเวลาหาความสุขใส่ตัวมากเพียงพอ
แล้วพอจะลุกฮึบขึ้นมาหาความสุขให้ตนเอง ดิฉันก็ไม่มีแรงเสียละ เพราะง่วงและล้ามาก ๆ
ใช่แหละ ดิฉันไม่ปฏิเสธเลยว่างานที่ทำอยู่มันก็มีความ flexible มาก ๆ แล้วในระดับหนึ่ง บวกกับ environment การทำงานมันก็ดีมากจริง ๆ โดยเฉพาะคน ทุกคนพร้อม support และเห็นใจกันเสมอ ไม่มีการชิงดีชิงเด่นอะไรทั้งนั้น (และเอาจริง ทำงานแบบนี้มันจะไปมีแรงชิงดีชิงเด่นอะไร แค่ดีลกับเคส ๆ หนึ่งก็พลังหายไปหลายเปอร์เซ็นต์ละ 55555) มีแต่การพูดให้กำลังใจกัน แถมพี่ที่ทำงานก็ชอบเชียร์และพาพักผ่อนอย่างไม่หยุดหย่อนเลยจริง ๆ
(แต่มันก็ so drastically contrast กับระบบเลยว่ะ 55555)
2) การรับฟัง(esp. ความทุกข์)คนอื่นไปนาน ๆ … มัน effect กับเราจริง
ถึงแม้ดิฉันจะรู้สึกมีความสุขกับการทำงานนี้ เพราะเราได้สัมผัสถึงความโล่งใจ ความสุข การเข้าใจตนเอง การพยายามรักตัวเอง หรือได้เห็นถึง improvement บางอย่างของเคสหลังจากเข้าสู่กระบวนการ
แต่ถ้าให้ลองมองในระยะยาว หากความสุขนั้นมันจำเป็นต้องแลกมากับการที่เราต้องได้ยินเรื่องทุกข์ของคนอื่นก่อน หรือต้องได้ยินความสุขไปพร้อม ๆ กับความทุกข์อันหนักหนาสาหัสมาก ๆ ในระยะเวลา 20 นาที 30 นาที 40 นาที หรือไปจนถึง 1 ชม.หรือมากกว่า มันก็ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ที่ต้องใช้พลังใจสูงเพื่อรับฟัง ซึ่งมันเหนื่อยจริง ๆ ค่ะ แล้วพอยิ่งเราตั้งใจทำเคสมากเกินจนมีความคาดหวังกับการดีขึ้นของเคส บอกเลยว่ายิ่งเหนื่อย และนำไปสู่อารมณ์เฟลที่ไวมาก ซึ่งกว่าเราจะรู้ตัวเราก็จมไปกับมันสักระยะหนึ่งเลย
‘ชอบรับฟังนะ แต่ไม่ชอบรับฟังตลอดเวลา’ - นี่น่าจะเป็นสิ่งที่น่าจะสรุปได้กับตนเองแหละ
จากทั้งสองประเด็นนี้ มันก็เลยนำมาซึ่งข้อสรุปตามหัวเรื่องข้างต้นนั่นแหละค่ะ….ว่าาาาาา
เดี๋ยวปลายเดือนก.ย. ดิฉันจะออกจากงานค่ะ! 5555555 ใช่! ตัดสินใจแบบนั้นเลย เพราะไม่อยากฝืนสุขภาพกายและใจไปมากกว่านี้ละ รวมถึงจริงๆ เราก็บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเองที่ตัดสินใจทำงานนี้แล้วด้วย คือได้เข้าใจอย่างถ่องแท้จริง ๆ แล้วแหละว่างานนี้ทำอะไร หน้าตาเป็นอย่างไร บวกกับตนเองไม่ได้คิดจะทำงานที่นี่ยาว ๆ แต่แรกอยุ่แล้ว (เพราะมีแพลนเรียนต่อ) เลยคิดว่าออกเลยก็ไม่น่าเสียหายอะไร
และถ้าถามว่าอาชีพที่เล็งไว้ต่อไปคือจะทำอะไร?
จาก work life lesson นี้ ทำให้ดิฉันมี assumption กับตนเองว่า ถ้าเราได้ทำงานกับสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข มันน่าจะเป็นอะไรที่ healthy กับตัวเรามากกว่า (?) ก็เลยตัดสินใจทำงานกับสิ่งที่สามารถสร้างความสุขและความมั่นใจให้กับเราจริง ๆ ซึ่งนั่นก็คือ ดนตรีนั่นเอง
ส่วนอาชีพด้านดนตรีจะเป็นอะไรนั้น จริง ๆ ก็มีเล็ง ๆ ไว้แหละค่ะ ว่าอาจเริ่มจากการทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับเปียโนแน่นอน เพราะเปียโนช่วยฮีลใจเราได้แน่นอน แม้ว่าเราจะเคยมีความรู้สึกเบื่อและเฝือกับมันมาก่อนจากประสบการณ์ที่มหาวิทยาลัย แต่บอกเลยว่าตอนนี้คิดถึงน้องมาก และหากเรารู้สึกเบื่อ อย่างน้อยเราแน่ใจมากว่าน่าจะอยู่กับมันได้มากกว่าการรับฟังแน่นอนค่ะ 5555555
มารอดูกันว่าเส้นทางนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปนะคะ เพราะดิฉันก็ตื่นเต้นพอ ๆ กับทุกคนเลยนั่นแหละ 55555
ปล. ภาพประกอบต่าง ๆ นี้ (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์แต่อย่างใด) เป็นภาพจาก Naiipa (ในป่า) Private Office ค่ะ เป็น working space ที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้สีเขียวชอุ่มเต็มไปหมด ถูกใจสายรักป่าอย่างดิฉันมากจริง ๆ บรรยากาศดีฮีลใจสุด ๆ ดิฉันมานั่งปั่น blog นี้ที่ RAWR Cafe ซึ่งเป็นร้านกาแฟข้างในโครงการแหละ
หากใครอยากลองมาสัมผัสบรรยากาศเขียว ๆ สบาย ๆ ร่มรื่นแบบนี้ก็ลองมาจอยได้นะคะ เชิญชวนๆ เพราะมันดีจริงเลยอยากบอกต่อเลยนะ! ไม่ได้ค่าสปอนอะไรแต่อย่างใด 55555
โฆษณา