13 ก.ค. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ประเทศไทยแข็งแรงแค่ไหนในเอเชีย ?
🏅 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียนมาโดยตลอด รวมถึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเอเชีย
ไม่ว่าจะผ่านวิกฤติเศรษฐกิจระดับประเทศ หรือระดับโลก เราก็สามารถประคองตัวเองให้รอดพ้นมาได้ทุกครั้ง
แต่เคยสงสัยมั้ยว่า ประเทศไทยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึงทุกวันนี้ เราทำได้ดีแล้ว หรือเราทำได้ดีกว่านี้อีก
1
วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความแข็งแรงของประเทศเมื่อครั้งอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ว่าเรามีโครงสร้างเศรษฐกิจและทรัพยากรที่ “เหมาะสม” แล้วรึยัง ถ้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ไปดูกันเลย
ประเทศไทยแข็งแรงแค่ไหนในเอเชีย ?
💵 ปัจจัยแรก คือ ระดับรายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศ เป็นปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นถึงความมีกินมีใช้ของคนในประเทศ
หากเปรียบเทียบกับประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน สิงคโปร์ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงอย่างมาเลเซีย และประเทศดาวรุ่งในปัจจุบันนี้อย่างเวียดนาม
รายได้ประชากรต่อคน
📌 จะเห็นว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนไทยอยู่รั้งท้ายมาโดยตลอดที่ 20,500 บาทต่อเดือน เหนือกว่าเพียงเวียดนามที่มีรายได้เฉลี่ย 7,700 บาทต่อเดือน
1
กลับกันหากไปดูประเทศผู้นำอย่างญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะพบว่าประชาชนมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 123,000 และ 96,000 บาท ตามลำดับ
และที่น่าจะสร้างความประหลาดใจให้กับใครหลายคน คือ ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างสิงคโปร์ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงอันดับต้น ๆ ของเอเชียเลยทีเดียว
1
โดยคนสิงคโปร์มีรายได้เฉลี่ยถึงเดือนละ 160,000 บาท หรือ มากกว่าคนญี่ปุ่น 30% !
📌 อีกมิติที่น่าสนใจคือ หากวัดแค่ 30 ปีล่าสุด คนไทยมีระดับรายได้เติบโต 5 เท่า ขณะที่รายได้คนเวียดนามโต 20 เท่า และรายได้คนจีนโตถึง 30 เท่า
1
และเมื่อดูเส้นกราฟประกอบ จะเห็นว่าเรากำลังโตแบบช้า ๆ ช้ามาก ไม่จนลง แต่ก็ไม่รวยสักทีเช่นกัน
1
ใช่แล้ว..เรากำลังติดอยู่ใน “กับดักรายได้ปานกลาง” มาหลายสิบปีแล้ว
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาประเทศ
1
แล้วหากเทียบกับอีก 6 ประเทศก่อนหน้านี้ล่ะ เรายังพอแข่งขันได้อยู่มั้ย
ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล (PISA)
📌 จากรูปแสดงผลคะแนนการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ที่ประเมินความ “ฉลาดรู้” ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
โดยจะเห็นว่าประเทศไทย “แพ้” ทั้ง 6 ประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นอันดับ 14 จาก 20 ประเทศในเอเชียที่ร่วมประเมิน รวมถึงอยู่อันดับ 60 จาก 77 ประเทศทั่วโลก
ที่สำคัญเราถูกเวียดนามทิ้งห่างแบบไม่เห็นฝุ่นเลย
ขณะที่ประเทศ “ร่ำรวย” อย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มีผลคะแนนสูงมากในทุกทักษะ สะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาของประเทศนั้นได้เป็นอย่างดี
1
📌 สรุป ประเทศไทยเรากำลังมีปัญหาในการพัฒนาคนอย่างชัดเจน รวมถึงขาดการพัฒนาทักษะที่สำคัญในการทำงาน และนี่เป็นปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดเลยล่ะ
2
เราติดกับดักรายได้ปานกลาง การศึกษายังไม่ดีพอ แล้วแรงงานในอนาคตล่ะ เราจะฝากความหวังได้มากน้อยแค่ไหน
1
หัวข้อนี้เราจะพามาดูกราฟ “ปิรามิด” ที่สะท้อนให้เห็นโครงสร้างของประชากรแบ่งแยกตามวัย
ประชากรวัยแรงงานกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยหากปิรามิดฐานกว้าง แปลว่าประเทศนั้นมีแรงงานในอนาคตจำนวนมาก แต่หากเป็นปิรามิดฐานแคบหัวโต แปลว่า ประเทศนั้นอาจจะมีแรงงานไม่เพียงพอในอนาคต และกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ
1
จะเห็นว่ารูปส่วนใหญ่เป็นปิรามิดหัวโตกันหมด เพราะโลกเรากำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุจริง ๆ แต่ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น แต่มันดันมีประเทศไทยอยู่ด้วยนี่สิครับ
3
📌 หรืออธิบายให้เข้าใจคือ ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ยังต้องพึ่งพาการใช้แรงงานเป็นหลัก เหมือนเวียดนาม มาเลเซีย ที่เขาต่างเป็นปิรามิดฐานกว้างซึ่งถูกต้องตามโครงสร้างการพัฒนาประเทศของเขาแล้ว
แต่นี่เรากำลังจะมีแรงงานไม่เพียงพอในอนาคต มิหนำซ้ำเมื่อมาดูที่รายได้เราก็ยังติดกับดักรายได้ปานกลางอยู่เลย แล้วเราจะพัฒนาเศรษฐกิจได้ยังไงในเมื่อเรายังมีทรัพยากรไม่เพียงพอเลย
เมื่อเราพูดถึงประเด็นความแข็งแรงของประเทศ ก็คงต้องพูดถึงอายุขัยของคนแต่ละประเทศกันหน่อย
💎 จากสถิติตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2020 หรือ 30 ปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยเดียวที่เรียกได้ว่าประเทศไทย “เกาะกลุ่ม” การเพิ่มขึ้นของอายุโดยเฉลี่ยไว้ได้ในระดับที่น่าพอใจ
อายุขัยเฉลี่ย 30 ปีที่ผ่านมา
โดยอายุขัยของคนไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คือ อายุ 70 ปี และขยับมาเป็น 77 ปีในปัจจุบัน ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม มาเลเซีย รวมถึงจีน
ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ประชากรมีอายุขัยที่สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัดเฉลี่ยที่ 83-85 ปี
📌 ประเด็นที่น่าใจอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ โดยขยับอายุขัยของคนเกาหลีจาก 72 ปีเมื่อ 30 ปีก่อน (ใกล้เคียงกับไทย) มาเป็นมีอายุเฉลี่ย 83 ปีได้อย่างน่าประทับใจ
1
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ปัจจัยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเสมอ หากการศึกษาดี การพัฒนาชาติก็ไปได้ไว รายได้ก็เติบโต คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น และอายุขัยก็สูงขึ้นตามไปด้วย
1
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
1
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
1
โฆษณา