13 ก.ค. 2022 เวลา 06:12 • ความคิดเห็น
เมื่อก่อน เราดูละครจากเนื้อเรื่อง ทำให้ละครหลายเรื่องจะหลีกเลี่ยงไม่ดู โดยเฉพาะแนวรักสามเส้า เราสามคน แต่เดี๋ยวนี้ลองเปลี่ยนมุมมองในการดูละครใหม่ นอกจากความบันเทิง หรือเปล่า ที่ได้จากเนื้อเรื่อง แต่ที่แน่ๆ ได้แง่คิดจากตัวละคร
ตัวละคร จากละครที่เพิ่งจบไป ทำให้รู้เลยว่า ในสังคมมีคนแบบนี้อยู่มากมายจริงๆ และสิ่งที่ไม่น่าเชื่อคนเหล่านี้ เค้าไม่รู้ตัวว่าเป็นแบบนี้ อย่างตัวละครที่ชื่อหวาน จากเรื่องคู่เวร เป็นตัวละคร ที่เจอในชีวิตจริงของตัวเอง
ความคิดเมื่อก่อนตัวเองจะกลัวคนที่เข้าหาเราแบบปากหวาน พูดชมทั้งที่ชมอะไรนะ เอาของมาให้ ซื้อของมาให้มาก เพราะเราตัดสินไปแล้วว่าคนเหล่านี้ไม่จริงใจ เน้นการโกหกจากประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่เอาเข้าจริง 70-80 % คนเหล่านี้เป็นแบบที่คิด หรือเพราะเราคิดแบบนี้
แต่พอมองลึกลงไป ว่าเค้าทำแบบนั้นเพื่ออะไร เราก็เริ่มที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองในการมองมากขึ้น ไม่ได้มองแค่สิ่งที่เค้าทำภายนอก แต่กลับมองลงไปว่าเค้าทำแบบนั้นแล้วลึกๆ ต้องการจะสือสารอะไร
มันได้ผล เพราะทำให้ปรับเปลี่ยนความรู้สึกข้างในได้ แม้สิ่งที่เค้าทำยังกระทบอารมณ์เรา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือมันใช้เวลาในการกวนใจเราน้อยลง
ก่อนหน้าที่จะปรับเปลี่ยนได้ พบว่าเวลาคนแบบนี้ทำอะไรแบบไม่จริงใจ หรือโกหก ตัวเราจะตอบโต้กลับ และมีอารมณ์โกรธ และยิ่งควบคุมไม่ได้เวลาเค้าทำซ้ำๆ
แต่หลังจากปรับเปลี่ยนมุมมอง ตัวเรายังคงมีโกรธ แต่มีสติ และกลับมาควบคุมอารมณ์ได้ไวขึ้น สุดท้ายเรากลับแก้ปัญหาได้ดีกว่าการตอบโต้ด้วยซ้ำ
อะไรที่ทำให้ความคิดปลี่ยนไป เพราะเรามองแบบไม่ตัดสิน และมองให้ลึกลงไปในสิ่งที่เค้าจะสื่อสาร ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการโค้ช และการโค้ชทำให้ได้มุมมองแบบนี้
เรากลับพบว่าบางครั้งการกระทำของเค้า กระทำโดยไม่รู้ตัว เป็นปฏิกิริยาตอบสนองเวลาที่เค้ารู้สึกไม่ปลอดภัย เช่นโดนกดดัน อยากดูดี อยากเก่งในสายตาคนอื่น เป็นต้น ตัวคนทำก็จะพยายามสร้างภาพ เพื่อให้รู้สึกว่า I am OK.
การสร้างภาพลักษณ์ หรือตัวตน เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากมี อยากตัวเราเองก็ยังอยากมี แต่แค่วิธีการเค้าแตกต่างจากเรา เราจึงตัดสินไม่ได้ว่าการที่เค้าพยายามเอาใจคนอื่น การพูดจาชื่นชม เป็นเรื่องที่ผิด และแค่มองเห็นว่ามันคือการสร้างภาพลักษณ์ของเค้า และทำความเข้าใจ
ดังนั้นตัวละครนี้เลย ทำให้มองเห็นสิ่งที่เราเคยเจอในวันนั้น และสิ่งที่ทำให้ความคิดเราเปลี่ยนไป และยิ่งมองผ่านตัวละคร ซึ่งข้อดีทำให้เราเห็นในมุมอื่น ไม่ใช่แค่คนเผชิญหน้า เป็นการมองจากภายนอกมองเข้าไป และข้อสรุปของตัวละคร ก็ทำให้เห็นว่า เค้าอาจจะมีประสบการณ์บางอย่าง ทำให้เลือกใช้พฤติกรรมนี้
ในการโค้ช พฤติกรรม มันแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่อยู่ด้านล่าง ทั้งความเชื่อ(Belief) การให้คุณค่า (Values) ความต้องการ (์Needs) ความเป็นต้วตน (Being) และความกลัว (Fears) สิ่งเหล่านี้คือประสบการณ์ ที่ทำให้เค้าแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาแตกต่างกัน
และถ้าเราอยากเปลี่ยนพฤติกรรม หรือเปลี่ยนแปลงตัวเอง ก็เพียงแค่ปรับเปลี่ยนมุมมองด้านล่างของภูเขาน้ำแข็ง ก็จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้
สำหรับบางคนที่บอกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะแก่แล้ว เพราะทำแบบอื่นแล้วไม่ชอบ มันเป็นแค่คำบอกตัวเอง ในการอยู่ใน comfort zone และเราเปลี่ยนแค่พฤติกรรม ไม่ใช่ปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ หรือ mindset ด้านใน
เพราะแค่เราเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ หรือ Mindset บางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้ว่าเรามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จนคนข้างๆ บอกว่า "เธอเปลี่ยนไป"
การโค้ช คือการฝึกตน
โค้ชกิ๊ฟ
โฆษณา