14 ก.ค. 2022 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
“มนุษย์ (Human)”
1
“ชิมแปนซี (Chimpanzee)” เป็นสัตว์ที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับมนุษย์ถึง 98% หากแต่ก็มีข้อแตกต่างจากมนุษย์ เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ บนโลก
2
สัตว์ไม่สามารถพูดคุยเล่นๆ กับสัตว์อื่นๆ ไม่สามารถสร้างตึกสูง ไม่สามารถสร้างระบบการเมืองการปกครอง อีกทั้งสัตว์ยังไม่จำเป็นต้องมีสิ่งบันเทิงต่างๆ เพื่อคลายความเบื่อเหมือนมนุษย์
1
อาจจะดูแปลก แต่ดูเหมือนว่าบนโลกใบนี้ ในบรรดาสายพันธุ์สัตว์นับล้าน ดูเหมือนจะมีอยู่เพียงสายพันธุ์เดียวที่สามารถนำทรัพยากรของโลกมาใช้ในทางที่ไม่มีใครคาดถึง
1
ชิมแปนซี (Chimpanzee)
เมื่อราวๆ หกล้านปีก่อน สายพันธุ์สุดท้ายที่ใกล้เคียงกับมนุษย์และชิมแปนซีได้ดำรงอยู่ ก่อนที่อีกกว่า 5.93 ล้านปีต่อมา ก็ได้เกิดสายพันธุ์มนุษย์ที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น “โฮโม อีเร็กตัส (Homo Erectus)” “นีแอนเดอธัล (Neanderthal)” “โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens)” เป็นต้น
1
สายพันธุ์มนุษย์เหล่านี้ได้ค้นพบการก่อไฟ การทำเครื่องมือที่ทำจากหิน และพัฒนาวิธีการล่าสัตว์
1
พวกเขาเกาะกลุ่มกันเป็นกลุ่มเล็กๆ หาอาหารและที่อยู่ โดยในเวลานั้น โฮโมเซเปียนส์หรือก็คือมนุษย์ในยุคใหม่ ได้พักอาศัยอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก
1
แต่เมื่อราวๆ 70,000 ปีก่อน มนุษย์ก็ได้เริ่มกระจายไปยังแถบอื่น ตั้งแต่แอฟริกาจนถึงยุโรปและเอเชีย
1
เมื่อราวๆ 45,000 ปีก่อน มนุษย์ได้ข้ามทะเลและมาถึงออสเตรเลีย ซึ่งเป็นดินแดนใหม่สำหรับมนุษย์ในเวลานั้น
1
พวกเขาได้ทำการขับไล่มนุษย์สายพันธุ์อื่นๆ เช่น นีแอนเดอธัล ออกไปจากดินแดนนั้นจนกระทั่งสูญพันธุ์ และในไม่ช้า เผ่าพันธุ์ก็ขยายข้ามไปถึงอเมริกา
1
ภายในเวลาไม่กี่ศตวรรษ สัตว์ดึกดำบรรพ์ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในดินแดนต่างๆ เป็นเวลานับล้านปี ต่างก็หายไปจากโลก
1
30,000 ปีก่อน มนุษย์ได้เห็นการเกิดขึ้นของเรือ ตะเกียงน้ำมัน ธนู และเข็ม ซึ่งทำให้ยุคนี้ เริ่มเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ศิลปะ”
1
เมื่อราว 12,000 ปีก่อน มนุษย์ได้พัฒนากระบวนการเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะมีการสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างซับซ้อน รวมทั้งมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่เน้นความสวยงาม รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ
2
คำถามสำคัญไม่ใช่ “ทำอย่างไร” แต่คือ “ทำไมเราจึงทำในสิ่งที่เราทำ”
2
มนุษย์อาจจะใช้ชีวิตในป่า เอาชีวิตรอดด้วยการล่าสัตว์และกินอะไรก็ตามที่พอจะหาได้
1
อาจจะพูดได้ว่าการค้นพบต่างๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญและโอกาสต่างๆ หากแต่เรื่องราวของ “วิวัฒนาการ” นั้นต่างออกไป
3
ดูเหมือนว่าความโลภ การครอบครองและความไม่รู้จักพอ อาจจะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนให้มนุษย์สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มาได้จนถึงทุกวันนี้
2
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเมื่อ 70,000 ปีก่อน สมองของมนุษย์วานรในเวลานั้น ได้เกิดความเปลี่ยนแปลง
1
เกิดการกลายพันธุ์ในพันธุกรรม ส่งผลต่อระบบสมอง ทำให้มนุษย์สามารถคิดและสื่อสารได้โดยใช้ภาษาแบบใหม่
1
ทำให้มนุษย์เริ่มรู้จักในการคิดค้นเรื่องราว
1
และด้วยการที่มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ภาษาและการสร้างเรื่องราว ทำให้มนุษย์เริ่มสร้างตำนานต่างๆ โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกช่วงเวลาวิวัฒนาการนี้ว่า
1
“การปฏิวัติการรับรู้ (Cognitive Revolution)”
1
สมองของมนุษย์จะทำหน้าที่จับข้อมูลที่ได้รับมาจากอวัยวะรับความรู้สึก และเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลที่อยู่ในสมอง
1
สมองของมนุษย์มักจะใช้เหตุการณ์ในอดีตเพื่อคาดการณ์ถึงอนาคต ทำให้มนุษย์สามารถมีความฝัน มีกระบวนการทางความคิดที่จะกระทำสิ่งต่างๆ
2
นี่คือเหตุผลหลักที่มนุษย์สามารถสร้างเรื่องราวต่างๆ ได้ แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลก
1
และด้วยภาษา ภาพที่เห็น และเสียงที่ได้ยิน ก็ทำให้ผู้คนสามารถสื่อสารและรับรู้เรื่องต่างๆ เกิดอารมณ์ความรู้สึก
1
วิวัฒนาการของกระบวนการรับรู้ ได้ปูทางให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สัตว์อื่นๆ ทำไม่ได้ในเวลานั้น
1
จากนั้น มนุษย์ก็สามารถเกาะกลุ่มได้ใหญ่ขึ้น มีผู้คนในกลุ่มกว่า 150 คน และเมื่อเวลาผ่านไป อารยธรรมเริ่มก้าวหน้า จาก 150 คน ก็กลายเป็นหลักพัน
1
อีกข้อก็คือ โฮโมเซเปียนส์สามารถถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวได้
1
ด้วยเหตุนี้ ทำให้สามารถวางแผนและดำเนินการในสิ่งที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการล่าสัตว์ หาอาหาร รวมทั้งหาที่อยู่อาศัยใหม่
1
สุดท้าย พวกเขาก็เริ่มที่จะสื่อสารเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นวิญญาณ ตำนานต่างๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
2
ในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลากำเนิดพระเจ้า เริ่มมีความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ และทุกๆ คนต้องทำตัวให้ดีเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงบาป
2
และเมื่อมนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ก็มีความท้าทายตามมา ซึ่งความท้าทายที่สำคัญมากก็มีอยู่สองข้อ
1
1.ขจัดภัยอันตราย
1
2.ขยายดินแดน
1
สัตว์ทุกตัวมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดและหวงเขตแดน
1
และในเมื่อมนุษย์อาศัยอยู่รวมกัน มนุษย์ก็จำเป็นต้องมีดินแดนที่กว้างใหญ่เพื่อพัฒนาและปกป้องกันและกันจากสัตว์ร้าย
1
แต่ด้วยกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ ก็ทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะความท้าทายต่างๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
1
ในไม่ช้า มนุษย์ก็ค่อยๆ ทำลายสัตว์ดึกดำบรรพ์ เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ และกลายเป็นผู้พิชิตอาณาจักรสัตว์โลก
2
เมื่อราว 45,000 ปีก่อน มนุษย์ได้เข้าไปถึงดินแดนออสเตรเลีย และด้วยความที่ออสเตรเลียเป็นดินแดนห่างไกล จึงเกิดวิวัฒนาการในระบบนิเวศน์เป็นเวลานับล้านปี ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตแปลกๆ
1
สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมา ก็เช่นจิงโจ้หนักกว่า 200 กิโลกรัม เสือขนาดยักษ์ โคอาล่ายักษ์ งูยาวกว่าห้าเมตร เป็นต้น
1
แต่ภายหลังจากผ่านไปแค่ไม่เกิน 1,000 ปี สัตว์จำนวน 24 สายพันธุ์ในออสเตรเลีย ก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 23 สายพันธุ์
3
มนุษย์ได้เข้ามาถึงดินแดนอเมริกาเมื่อราว 13,000 ปีก่อน และภายในเวลาไม่นาน สายพันธุ์สัตว์ที่หนักกว่าหนึ่งตัน ก็ได้สูญพันธุ์ไปถึง 78 สายพันธุ์ ไม่ว่ามนุษย์เข้าไปยังดินแดนใด ก็จะเกิดความวุ่นวายไปทั่ว
3
การฆ่าสัตว์ดึกดำบรรพ์ ทำให้ภัยอันตรายลดลง และก้าวต่อไป ก็คือการยึดครองดินแดนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
1
ในไม่ช้า มนุษย์ก็กระจายไปทั่วโลก เกิดอาณานิคมต่างๆ และเป็นจุดกำเนิดอารยธรรม
1
และด้วยการปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) ซึ่งเริ่มเมื่อราวๆ 10,000 ปีก่อน มนุษย์ก็เริ่มรู้จักการผลิตอาหารเพื่อบริโภคในดินแดนของตน
1
ทฤษฎี “การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)” มีใจความหลักๆ คือ สิ่งมีชีวิตที่เอาตัวรอดได้ดีกว่า จะมีโอกาสในการสืบพันธุ์กับคู่ของตนมากกว่า และดีเอ็นเอของตนก็จะถูกถ่ายทอดไปถึงลูกหลาน
1
การฆ่าสัตว์ดึกดำบรรพ์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นด่านแรกที่นำมนุษย์ไปสู่การเข้ายึดครองดินแดนและสิ่งต่างๆ
1
ระบบโดพามีน (Dopamine System) ได้เริ่มวิวัฒนาการ เริ่มเกิดความรู้สึกโลภและการครอบครอง
2
หากคิดตามทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ อาจจะกล่าวได้ว่ามนุษย์ ซึ่งมีสัญชาตญาณในการต่อสู้และยึดครอง ก็มีโอกาสในการรอดมากกว่าสัตว์อื่นๆ
3
และมนุษย์ก็มีการสืบพันธุ์ ส่งต่อดีเอ็นเอไปยังลูกหลาน ซึ่งก็ทำให้สมองของมนุษย์มีการรับรู้และเข้าใจถึงความรู้สึกโลภ การครอบครอง
2
จากผลการวิจัย ระบบโดพามีนของมนุษย์มีวิวัฒนาการที่แตกต่างจากชิมแปนซี มีวิวัฒนาการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
2
ด้วยความที่มนุษย์สามารถสร้างเรื่องราว จึงก่อให้เกิดเป็นความโลภและการยึดครอง ซึ่งก็เป็นผลสะท้อนมาตั้งแต่แรก
2
ความต้องการหรือความโลภอาจจะมาได้ในทุกรูปแบบ อาจจะมีคนที่ต้องการครอบครองเกาะทั้งเกาะ ประเทศทั้งประเทศ หรืออาจจะโลกทั้งใบ
1
แต่สมมติว่าบุคคลนั้นได้สิ่งที่ตนต้องการแล้ว เช่น อาจจะได้โลกทั้งใบ แต่บุคคลนั้นก็อาจจะยังไม่พอ ยังต้องการที่จะยึดครองดาวดวงอื่น หรืออาจจะทั้งจักรวาล
1
เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ได้บ้าง
1
1.ตระหนักรู้ถึงอารมณ์ หากเรารู้สึกว่าต้องซื้ออะไรบางอย่าง หรือมีความต้องการอะไรซักอย่าง ก็ขอให้เข้าใจว่านั่นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราจำเป็นต้องมี แต่เป็นเพียงสมองของเราที่บอกให้เรามี
1
2.เรียนรู้ว่าจิตใจของเราไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่าง “ความจำเป็น” กับ “ความต้องการ”
2
สิ่งที่สมองคิด ก็แค่ยิ่งเยอะยิ่งดี นั่นจึงทำให้มนุษย์ไขว่คว้าหาเงินทอง ชื่อเสียง หรืออำนาจ
3.ตระหนักรู้ว่าสัตว์ไม่สามารถตระหนักรู้ถึงภาวะทางอารมณ์ต่างๆ ในขณะที่มนุษย์สามารถตระหนักรู้ได้ และอนาคตของโลกก็อาจจะไม่ได้อยู่ที่การครอบครองหรือยึดครอง หากแต่อาจจะอยู่ที่ “สติ” ก็เป็นได้
1
โฆษณา