14 ก.ค. 2022 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
“อุตสาหกรรมจีน” กำลังจะแซงหน้าเยอรมนี
จีนเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่สุดของเยอรมนีมาตั้งแต่ปี 2015 แต่ความสัมพันธ์อันแนบแน่นนี้ กำลังจะสิ้นสุดลงไป เมื่อ เยอรมนีค่อยๆ มีความกลัวเรื่องการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรมในภาคการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่ทำให้เยอรมนีเริ่มมองทางเลือกอื่น
การดำเนินนโยบายต่อจีนอย่างไม่มีสมดุลของเยอรมนีจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผลประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติและจะส่งผลต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ
1
📌 เยอรมนี นักลงทุนรายใหญ่ของจีน
ภาพรวมในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น อุตสาหกรรมเคมี วิศวกรรมเครื่องกล และอุตสาหกรรมยานยนต์ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในจีนเพิ่มขึ้นจากระดับ 2% ในปี 2000 เป็น 14% เมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่ อุตสาหกรรมยานยนต์เพียงอย่างเดียว มีการลงทุนเป็น 24% ของสินทรัพย์ต่างประเทศในจีน
โดยบริษัทต่างๆ ในประเทศเยอรมนีได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะภาคการผลิตอย่างเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยตั้งแต่ปี 1990 มีจำนวนสาขาและโรงงานผลิตของบริษัทเยอรมนีในจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผลของการลงทุน ก็ทำให้เยอรมนีได้ประโยชน์ในเรื่องของต้นทุนค่าแรงและต้นทุนการผลิตราคาถูกในประเทศจีน ในขณะที่จีนก็ได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุน และ ความรู้ทางด้านเทคนิคและนวัตกรรมต่างๆ จากเยอรมนี
แต่สุดท้าย เยอรมนีอาจแพ้ความสามารถในการผลิตของจีน และอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีนกำลังจะแซงหน้าเยอรมนี ทั้งในด้านขนาดและคุณภาพในเร็วๆ นี้ ซึ่งก็เป็นผลมาจากการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของจีนทั้งในด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมไปถึงนโยบายลดการพึ่งพาประเทศคู่แข่ง
3
📌 นโยบายอุตสาหกรรม "Made in China 2025"
นโยบาย Made in China 2025 เป็นแผนระยะเวลา 10 ปี ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก นโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของเยอรมนี
โดย นโยบาย Made in China 2025 นี้ทางรัฐบาลในการปรับปรุงฐานการผลิตของจีน ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทค 10 แห่งอย่างรวดเร็ว เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์พลังงานใหม่อื่นๆ เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งอนาคต (IT) และโทรคมนาคม ตลอดจนหุ่นยนต์ขั้นสูงและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ทันกับความสามารถทางเทคโนโลยีของตะวันตกในอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า
และก็มีการวิเคราะห์โดย Enodo Economics แสดงให้เห็นว่านโยบายอุตสาหกรรม "Made in China 2025" จะเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้เล่นเฉพาะกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพในการแทนที่ในอุตสาหกรรมขนาดกลางที่เป็นหัวใจและจิตวิญญาณของเศรษฐกิจเยอรมนี
📌 ชัยชนะในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ สู่ชัยชนะในอุตสาหกรรมอื่นๆ
เยอรมนีเคยมีสัดส่วนเป็นอันดับต้นๆ ของโลกในตลาดอุตสาหกรรมแผงการผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิก ที่เปลี่ยนพลังงานแสงหรือโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้า และ เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี Solar PV ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญของนโยบาย Energiewende ซึ่งเป็นความพยายามที่จะลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงฟอสซิล
1
โดยอุตสาหกรรมแผงการผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิก ของเยอรมนีประสบกับความเฟื่องฟู ในช่วงกลางปี ​​2000 หลังจากที่ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อมาสนับสนุนให้อุตสาหกรรมนี้เติบโต
แต่หลังจากการที่จีนสามารถเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดที่สามารถผลิตเซลล์โฟโตโวลตาอิก ในราคาที่ถูกกว่า ก็ได้ทำให้ส่วนแบ่งของเยอรมนีลดลง บริษัทรายใหญ่ในเยอรมนีต้องยื่นปรับโครงสร้าง รวมไปถึงประเทศอื่นๆ ก็ต้องยอมให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดแห่งนี้
ซึ่งในขณะที่จีนกำลังเคลื่อนเข้าสู่เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ใหม่ๆ การพัฒนาในปัญญาประดิษฐ์ ยานยนต์ไฟฟ้า และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในอนาคต จีนอาจไม่จำเป็นต้องมองหาการลงทุนหรือเทคโนโลยีของเยอรมนีอีกต่อไป
1
และสุดท้ายก็ไม่มีใครรู้ว่า นโยบาย Made in China 2025 จะสำเร็จหรือไม่ แต่ความทะเยอทะยานของจีนในการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากเน้นปริมาณสู่การผลิตที่เน้นคุณภาพ และ การเป็นแหล่งผลิตนวัตกรรมของโลก อาจทำให้อุตสาหกรรมในเยอรมนี หรือ อุตสาหกรรมในประเทศอื่นๆ ต้องรักษาตำแหน่งของตัวเองไว้ให้ดีๆ
1
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา