15 ก.ค. 2022 เวลา 00:06 • สิ่งแวดล้อม
ปูมะพร้าว Birgus latro:
Coconut crab, Palmendieb ปูปล้น หรือ
ปาล์มขโมย ใกล้สูญพันธุ์
🦀 ปูมะพร้าว ที่ภูเก็ต !!! เป็นปูเสฉวนขนาดยักษ์ ที่สามารถปีนต้นมะพร้าวได้ และก้ามมีกำลังมหาศาลขนาดฉีกลูกมะพร้าวได้ เป็นปูที่หายากในไทยเป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน และเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน
กิตติศัพท์ที่ว่าปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ในบางครั้งปูมะพร้าวถูกเรียกว่า ปูปล้น หรือ ปาล์มขโมย (เยอรมัน: Palmendieb)
ทั้งนี้เนื่องจากปูมะพร้าวมักจะขโมยข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ส่องประกาย อย่างเช่น หม้อ หรือถ้วยสแตนเลส บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า ปูเสฉวนบก แต่อันที่จริงนอกจากปูมะพร้าวแล้ว ยังมีปูชนิดอื่นอีกที่จัดได้ว่าเป็นปูเสฉวนบกเช่นกัน
นอกจากนี้ ปูมะพร้าวอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกในแต่ละที่ เช่น ที่เกาะกวม เรียกปูมะพร้าวว่า อายูยูอาหารหลักของปูมะพร้าวคือผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าว อย่างไรก็ดี ปูมะพร้าวสามารถกินได้หมดไม่ว่าจะเป็นใบไม้ ผลไม้เน่า ไข่เต่า ซากสัตว์ และเปลือกของสัตว์อื่นๆ ปูมะพร้าวอาจกินสัตว์อื่นเป็นๆ ที่เคลื่อนไหวช้า เช่น เต่าทะเลที่เพิ่งฟักออกจากไข่ เป็นต้น
ปูมะพร้าวในบ้านเราเกือบสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว นานๆ จึงจะมีผู้พบเข้าสักตัว คนไทยส่วนใหญ่คงไม่รู้จัก เพราะน้อยคนนักที่จะได้พบเห็น
แต่ชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดภูเก็ตบอกว่า ในอดีตจะพบปูมะพร้าวได้ทั่วไปตามเกาะที่ห่างไกลทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยชาวประมงจับมาเป็นอาหารอยู่เนื่องๆ มันเชื่องช้าและจับง่ายเลยใกล้สูญพันธุ์
Cr.เหยี่ยวข่าวภูเก็ต
ข้อมูลเพิ่มเติม
ปูมะพร้าว
ขนาดโตเต็มวัยอาจ มี น้ำหนักประมาณ 4 -17 กิโลกรัม ความยาวลำตัว 40 ซม. ถ้าวัดรวมขาด้วยยาว 100 ซม.
อายุยืนประมาณ 30-60 ปี 
สามารถยกของหนักได้ถึง 29 กิโลกรัม
ปูมะพร้าวในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2542 เรือสำรวจแหล่งปลาทูน่าในทะเลสากลของกรมประมง เมื่อเดินทางไปสำรวจมหาสมุทรอินเดียแล้ว ได้นำปูมะพร้าวจำนวน 23 ตัว จากเกาะแอสซัมชัน ประเทศเซเชลส์ กลับมาประเทศไทยด้วย โดยเป็นตัวผู้ 4 ตัว และตัวเมีย 19 ตัว ซึ่งตอนนี้เลี้ยงไว้ที่สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต[2]
ในปลายปี พ.ศ. 2557 มีรายงานการพบปูมะพร้าวคู่แม่ลูก 3 ตัวด้วยกัน ที่เกาะสี่ ภายในหมู่เกาะสิมิลัน นับเป็นการกลับมาอีกครั้งของปูมะพร้าวในรอบนับ 10 ปี บ่งบอกว่ามีการแพร่ขยายพันธุ์อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการอนุรักษ์ธรรมชาติ
โฆษณา