16 ก.ค. 2022 เวลา 03:06 • การศึกษา
ทุกคนล้วนมีความคิดเป็นของตนเอง โดยมีหลักเหตุผลและอารมณ์มาเป็นองค์ประกอบ บ่อยครั้งสาเหตุที่เกิดการถกเถียง จนถึงการทะเลาะเบาะแว้ง เพราะความไม่เข้าใจ และคิดต่าง
ในทางศาสนาพุทธ เรียกว่า "นานา จิตตัง" มีความหมายว่า การสะสมของจิตที่แตกต่างกันไป เพราะความหลากหลายของลักษณะนิสัย จึงทำให้แต่ละคนมีอุปนิสัยที่แตกต่างกันไป บางคนสะสมปัญญามามาก บางคนสะสมความโกรธไว้มาก ตามแต่สภาพจิตใจที่แตกต่างกันไป กล่าวโดยย่อคือ มี "จริต" ที่ไม่เหมือนกัน
ไม่มีเหตุผลใดถูกต้องทั้งหมด และไม่มีการกระทำใดผิดทั้งหมด ทุกอย่างล้วนเกิดจาก การกำหนดกฎฏเกณฑ์จากคนกลุ่มหนึ่ง ที่ประสงค์ให้การอยู่ร่วมกันนั้นดำเนินไปได้ด้วยดี
ถ้าหากคุณไม่ได้มีอาการ หลงตัวเอง เห็นแก่ตัว ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่แคร์สังคม ทำอะไรไร้จิตสำนึก คุณก็ยังไม่ถือว่าเป็นคนที่ชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง อย่างที่ถูกกล่าวหา
เหมือนธรรมเทศนาตอนหนึ่งที่ทรงนำมาแสดง ว่าด้วยเรื่องต่างจิต ต่างใจ "ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาททั้งหลายอยู่ร่วมในเรือนหลังเดียวกัน แต่มีความต้องการที่ต่างกัน ข้าพระบาทอยากได้บ้านส่วย นางพราหมณีอยากได้โคนมสักร้อยหนึ่ง
ลูกชายอยากได้รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ลูกสะใภ้อยากได้กุณฑลแก้ว ฝ่ายนางปุณณทาสีผู้ชั่วช้าก็จำนงจะใคร่ได้ครก สาก และกระด้ง
ท่านทั้งหลาย จงให้บ้านส่วยแก่พราหมณ์ จงให้โคนมร้อยหนึ่งแก่นาง พราหมณี จงให้รถเทียมด้วยม้าอาชาไนยแก่ลูกชาย จงให้กุณฑลแก้ว แก่ลูกสะใภ้ และจงให้ครกตำข้าว สาก และกระด้งแก่นางปุณณทาสี ผู้ชั่วช้า
จะเห็นได้ว่าความต้องการที่ต่างกันออกไปนั้น มีมาอย่างนานนม การเปลี่ยนความคิดคนอื่น แทบไม่มีโอกาสเป็นไปได้ แต่ถ้าเริ่มจากใจเรา ที่มองท่านเหล่านั้นด้วยความเมตตา ใจเราเองก็จะเป็นสุขขึ้น
โฆษณา