18 ก.ค. 2022 เวลา 02:32 • ศิลปะ & ออกแบบ
เคยเป็นไหม? ดูงานศิลปะไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ!
ลองมาอ่าน '4 เคล็ดลับในการชมงานศิลปะแบบง่ายๆ ใครก็ทำได้' กัน
3
ภาพจากนิทรรศการ Nothing is everything by COMO Bianca X Tul & Add
ช่วงเดือนที่ผ่านมานั้น มีงานนิทรรศการศิลปะตามสถานที่ต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ในแกลลอรี่ ไปจนถึง ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าหรือกระทั่งในโรงแรม
เพราะในปัจจุบัน เป็นที่รู้กันว่า 'ศิลปะ' เป็นสื่อกลางที่เชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสถานที่ แบรนด์ และเรื่องราวต่างๆ เพราะศิลปะนั้นนอกจากจะสวยงามและยังเชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นด้วย
แต่เชื่อว่าหลายๆ คนก็ยังรู้สึกว่างานศิลปะหลายๆ ชิ้นนั้น ช่างเข้าใจยาก เข้าไม่ถึงจริงๆ ซึ่งบอกได้เลยว่าไม่แปลก แต่หากเราอยากลองเข้าใจให้มากขึ้นนั้น เราอาจเริ่มต้นได้ง่ายๆ ตามแบบฉบับของตัวเรา
วันนี้ Art of จึงนำเคล็ดลับในการชมงานศิลปะมาฝาก ซึ่งรวบรวมและเพิ่มเติมจากประสบการณ์ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ถือว่าลับอะไร แต่อาจแค่เป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะลืมนึกถึง และการแยกออกมาเป็นข้อๆ นั้นก็อาจช่วยทำให้เราเห็นมันชัดเจนมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละคนเลย ว่าต้องการอะไรจากการไปงานนั้นๆ
1
โดยต้องขอบอกก่อนว่า ไม่ว่าจะลองทุกทำขั้นตอน ทำบางขั้นตอน หรือไม่ลองทำเลย สิ่งสำคัญของการดูงานศิลปะก็คือ ใช้หัวใจและความรู้สึกดูนั่นเอง เพราะท้ายที่สุดแล้ว ต่อให้เราอาจจะไม่เข้าใจอะไรเลย แต่เรารู้สึกอะไรบางอย่างจากผลงานนั้น ก็ถือว่ามันได้สื่อสารกับเราแล้ว
1
แต่ละข้อนั้นจะเป็นอะไรกันบ้าง ลองไปอ่านกันเลย!
1. Look (มอง)
1
อาจจะฟังดูง่ายๆ ก็เพียงแค่มอง จะมีอะไรยาก แต่รู้หรือไม่ว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนจะมองงานศิลปะชิ้นหนึ่งเฉลี่ยเพียงแค่ 2 วินาทีเท่านั้นและก็ผ่านไป เพราะฉะนั้นการหยุดเพื่อมองจึงสำคัญมาก เหมือนกับเป็นการให้โอกาสศิลปะชิ้นนั้นได้สื่อสารกับเรา
2
หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องหยุดมองที่ชิ้นไหน? คำตอบคือ ให้เราลองเชื่อสัญชาตญาณตัวเอง หรือหากจะบอกว่า 'ใช้หัวใจนำไป' ก็ไม่แปลก เราไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลในการหยุดมอง เพราะเราอาจเจอคำตอบนั้นก็ได้ในขั้นต่อไป
2
ภาพจากนิทรรศการ Colors of Flower
2. Describe (เห็นอย่างที่เป็น)
เมื่อหยุดมองแล้ว ก็เริ่มจากการสังเกตผลงานชิ้นนั้นเบื้องต้นแบบไม่ตัดสิน อธิบายตัวมันเองแบบสิ่งที่มันเป็นเช่น ผลงานชิ้นนี้เป็นอะไร? เช่นภาพวาด ภาพถ่ายหรือรูปปั้น ทำจากวัสดุหรือวาดลงบนอะไร? เช่นผ้าใบ กระดาษ ก้อนหินหรือทำจากเซรามิค ผลงานชิ้นนี้มีสีอะไร? หยาบหรือเรียบ? เป็นต้น
1
ขั้นนี้จะช่วยให้เราพินิจที่ผลงานแบบพื้นฐาน
1
ภาพจากนิทรรศการ Yindee's mysterious friend by faan.peeti
3. Context (สังเกตบริบท)
สังเกตว่าผลงานชิ้นนั้นตั้งอยู่ในบริบทแบบไหน สถานที่แบบไหน มีสิ่งของอะไรที่อยู่กับมันบ้าง เช่น หากมีเรื่องราวให้อ่านไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศิลปินหรือเรื่องราวของงาน เมื่ออ่านแล้วเราอาจจะเข้าใจมากขึ้น
1
หรือหากศิลปินอยากแนะนำให้เราสัมผัส ดมกลิ่น หรือทำสิ่งใด เพื่อช่วยสื่อสารกับเรามากขึ้น การลองทำตามนั้นก็อาจช่วยให้เราเข้าใจงานมากขึ้นนั่นเอง
โดยหลายๆ ครั้ง ผู้ชมอาจจะไม่อยากอ่านความหมายของงานก่อน อยากลองข้ามไปคิดและตีความก่อนก็ยังได้
4
งานบางชิ้นอาจต้องมองห่างๆ บางชิ้นอยากให้ดูใกล้ๆ อาจลองสังเกต เก้าอี้ อุปกรณ์ หรือสัญลักษณ์ดู
1
ภาพจาก Text Installation by anatol knotek
4. Think & Connect (คิดต่อยอดและเชื่อมโยง)
คิดต่อยอดว่าศิลปะนี้ต้องการสื่อสารความหมาย และอยากให้เรารู้สึกอะไร? ทำไมเราถึงรู้สึกเช่นนั้น? อาจเป็นเพราะสี วัสดุ ขนาด เส้นสาย หรือสถานที่
1
หรือนอกจากที่ศิลปินอธิบายแล้ว ยังมีสิ่งใดที่เราค้นพบเพิ่มเติมอีกบ้าง?ซึ่งขึ้นชื่อว่าศิลปะแล้ว ไม่มีอะไรถูกผิด เราอาจเห็นตรงหรือไม่ตรงกับคนอื่น หรือกระทั่งศิลปินก็เป็นได้ หรือเราอาจจะเลือกที่จะไม่ชอบงานชิ้นนี้ก็ได้เช่นกัน!
เมื่อคิดต่อแล้วก็ลองเชื่อมโยงผลงานนี้กับตัวเรา มันอาจทำให้เราคิดถึงประสบการณ์ในชีวิตของตัวเอง ความรู้สึกของตัวเอง ของคนอื่น หรือผลงานชิ้นอื่น
โดยนอกจากจะเชื่อมโยงกับตัวเราเองแล้ว การที่เราแชร์ความคิดกับคนอื่น ไม่ว่าจะคนที่ดูงานอยู่ข้างๆ หรือใครก็ตาม ก็อาจทำให้เราได้พบมุมมองใหม่ๆ
โฆษณา