22 ก.ค. 2022 เวลา 02:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เพราะเวลาของเราเดินไม่เท่ากัน
1 ชั่วโมงที่นี่ เท่ากับเวลา 7 ปีบนโลก
Interstellar (2014)
เวลา เป็นปริมาณทางฟิสิกส์ที่น่าพิศวง มันเป็นสิ่งที่คอยกำหนดการกระทำของเรา เป็นตัวกำหนดว่าเราควรทำอะไรเมื่อไหร่อย่างไร และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเวลา คือมันไม่ได้มีค่าเท่ากันในทุกๆสถานที่
หากคุณเคยดูภาพยนตร์เรื่อง Interstellar ของผู้กำกับ Christopher Nolan ในปี 2014 คุณจะพบว่าหนังเรื่องนี้มีการเล่นประเด็นเกี่ยวกับเวลาเอาไว้เยอะมาก และ 1 ในฉากที่น่าสนใจที่สุดคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนดาวเคราะห์น้ำที่มีชื่อว่า Miller's Planet
ที่มา https://www.caixinglobal.com/10-incredible-fan-made/
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า 1 ชั่วโมงบนดาวดวงนี้จะมีค่าเท่ากับ 7 ปีบนโลก เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น หากเราย้อนไปในหนังจะพบว่าดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวอยู่ใกล้กับหลุมดำมวลยิ่งยวด ทำให้กาลอวกาศ (space-time) รอบๆดาวเคราะห์มีความบิดเบี้ยวเนื่องจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของหลุมดำจนเวลาบนดาวดวงนี้ช้ากว่าเวลาของโลก เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การหน่วงของเวลา (time dilation)
ภาพวงโคจรของดาว Miller's (water planet) ที่มา https://scifi.stackexchange.com/questions/72173/was-the-time-dilation-caused-by-millers-planet-or-the-close-proximity-to-the-ga
โดยความหน่วงของเวลาดังกล่าวเกิดจากการที่ว่าเมื่อกาลอวกาศเกิดการบิดเบี้ยวจากแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ จนทำให้เวลาที่โดยปกติแล้วควรจะเดินทางเป็นเส้นตรง กลายเป็นต้องเดินทางเป็นวิถีโค้งตามกาลอวกาศที่บิดเบี้ยวแทนทำให้เวลานั้นช้าลง (ดูภาพประกอบได้ครับถ้างง)
เส้นเหลืองข้างบน เวลาเดินทางปกติ / เส้นประด้านล่าง เวลาเดินทางช้าลงเนื่องจากกาลอวกาศบิดเบี้ยว
โดยปรากฏการณ์นี้เป็นไปตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอสไตน์ ซึ่งการหน่วงของเวลานั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากการที่มีแรงโน้มถ่วงมากเพียงอย่างเดียว หากเราเดินทางด้วยความเร็วที่มากๆ ก็สามารถทำให้เกิดการหน่วงของเวลาเช่นเดียวกัน โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่านาฬิกาที่ติดตั้งบนดาวเทียมที่โคจรรอบโลกด้วยความเร็วสูง จะเดินช้ากว่านาฬิกาที่ตั้งอยู่เฉยๆบนโลกเล็กน้อย
หากใครสนใจเรื่องเกี่ยวกับเวลา ฟิสิกส์ อวกาศ หรืออยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก็สามารถคอมเม้นมาพูดคุยกันได้เลยครับ :)
1
โฆษณา