24 ก.ค. 2022 เวลา 17:55 • ประวัติศาสตร์
ผมมองว่าการที่เราจะมีความสามารถในการเข้าใจความเป็นไปของสิ่งรอบตัวที่ในที่สุดก็จะมีผลกระทบต่อเราไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การเรียนรู้จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญ
อย่างยิ่ง
1
ผมขอตอบคำถามนี้โดยยกกรณีศึกษาที่ผมเองอาจไม่ได้มี background โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านั้น แต่ผมจะพยายามอธิบายตามความเข้าใจของผมครับ
1) “ระบบเศรษฐกิจ”
-ในปี 1997 ประเทศไทยมีวิกฤตต้มยำกุ้ง
1
-ในปี 2008 มีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ประเทศมหาอำนาจอย่างเมืองคุณลุงแซม
-ในปี 2020 เศรษฐกิจโลกถดถอยเพราะ Covid-19 และแน่นอนว่า the next big thing is on the way
ผมเองไม่ได้มีพื้นฐานการศึกษาในแวดวงธุรกิจการเงิน แต่ผมก็สนใจ “ประวัติศาสตร์” ของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ จนผมได้หาข้อมูลและพยายามจะอธิบายตัวเองดังนี้ครับ
1.1) ในโลกของการ “กู้ยืมเงิน” จากสถาบันการเงินนั้น แบ่งประเภทของ “ผู้กู้” ออกเป็นหลายระดับตาม “ความสามารถในการชำระหนี้” ที่ถูกประเมินโดยสถาบันที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่ “ผู้กู้ชั้นดี” (prime) และที่รองลงมาคือ “subprime”
1.2) ในราวๆช่วงต้นๆของยุคปี 2000 นั้น ดอกเบี้ยพันธบัตรของเมืองคุณลุงแซมอยู่ที่ราว 1% นักลงทุนจำนวนไม่น้อยกำลังมองหาช่องทางการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า 1% โดยที่ยังแบกรับความเสี่ยงต่ำที่สุด
1.3) ณ เวลานั้น ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ราคาบ้านอยู่ในช่วงขาขึ้น เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยไม่สูง ผู้คนที่อยากมีบ้านจึงมีความต้องการที่จะกู้เงิน าซื้อบ้าน ครับเมื่อ “อุปสงค์” อยู่ในช่วงขาขึ้นสูงกว่า “อุปทาน” จึงมีแรงส่งให้ “ราคาบ้าน” เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
1.4) เท่าที่ผมเข้าใจคร่าวๆมันเป็นแบบนี้ครับ
“ผู้กู้เงินซื้อบ้าน” (homeowners) —> เข้าไปติดต่อกับ “mortgage broker” เพื่อหาเงินกู้มาซื้อบ้าน
“mortgage broker” —> ติดต่อ “lender” ซึ่งผมเข้าใจว่าคือ “ธนาคารพาณิชย์” เพื่อแจ้งว่า “คุณมีลูกค้าแล้ว”
หลังจากนั้น “mortgage” หรือที่ผมเข้าใจว่ามันคือ “สัญญาจำนอง” ก็เกิดขึ้นระหว่าง “ผู้กู้เงินซื้อบ้าน” กับ “ธนาคารพาณิชย์” โดย “mortgage broker” ได้ “ค่านายหน้า” ส่วน “ธนาคารพาณิชย์” ได้ “ดอกเบี้ย” แล้ว “homeowners” ได้บ้าน
โดยถ้าหาก “ผู้กู้” ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา “ธนาคาร” ก็จะยึดบ้านมาเป็นของเขา
1.5) “ห่วงโซ่” ไม่ได้จบเพียงเท่านั้น ตัวละครใหม่คือ “investment bankers” หรือที่ผมเข้าใจว่าในวงการเรียกว่า “วานิชธนกิจ” ได้เข้ามา “ซื้อ” mortgage เหล่านั้นต่อจาก “ธนาคาร” โดย “ธนาคาร” ได้กำไรส่วนต่างจาก “วานิชธนกิจ” อีกต่อหนึ่ง
1.6) ถึงจุดนี้ “วานิชธุรกิจ” ที่ซื้อ mortgage มาจาก “ธนาคาร” ก็นำ สัญญาจำนองเหล่านั้นมาทำเป็น “ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน” ที่นำเสนอสู่ “นักลงทุน” ที่กำลังมองหา “หนทางการลงทุน” ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ผลตอบแทน 1% ที่ได้จากพันธบัตรของรัฐบาล!
โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวคือ Collateralized Debt Obligations หรือ “CDOs” หรือที่ผมเข้าใจว่าในวงการเรียกมันว่า “ตราสารหนี้”
ซึ่ง “ความเสี่ยง” เป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนได้มีโอกาสเลือก เช่น
“safe” คือความเสี่ยงตำ่, ผลตอบแทน 3%
“ok” คือความเสี่ยงสูงขึ้น, ผลตอบแทน 7%
“risky” คือความเสี่ยงสูงมาก, ผลตอบแทน 10%
เป็นต้น
1.7) จุดเปลี่ยน หรือ turning point เกิดขึ้นเมื่อ CDOs ขายดี! จน วานิชธนกิจต้องการ mortgage มากขึ้นตาม “อุปสงค์” ที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน
และแน่นอนว่า “ห่วงโซ่” ก็สาวไปถึง “mortgage broker” และ “lender” ที่ต้องการ “make money” เช่นกัน โดยการ “ลดเงื่อนไขในการกู้เงิน” ลง! และนั่นแหละครับที่เป็นที่มาของคำว่า
“subprime mortgages crisis” ในปี 2008 เพราะ “ผู้กู้ซื้อบ้าน” ล้วนเป็น “ผู้กู้คุณภาพต่ำ” (ปริมาณมากแต่ไม่มีคุณภาพ)
1.8) และแน่นอนครับ เมื่อถึงจุดหนึ่ง “ผู้กู้ subprime” ทั้งหลาย เริ่มที่จะไม่มีความสามารถในการชำระหนี้! และหยุดชำระหนี้ในที่สุด
1
และ “ผู้กู้ชั้นดี” (prime) บางส่วนก็หยุดชำระหนี้ด้วย! เพราะอะไรรู้มั้ยครับ?
เพราะพวกเขากู้เงินซื้อบ้านมาในช่วงที่ราคาบ้านอยู่ในช่วงขาขึ้น เช่น พวกเขากู้เงินมาซื้อบ้านตอนที่บ้านในเวลานั้นราคา 250,000 เหรียญ แต่ตอนที่เกิดวิกฤต มูลค่าบ้านที่พวกเขายังต้องจ่ายค่างวดบ้านรวมถึง “ดอกเบี้ย” นั้น มูลค่าของบ้านของพวกเขาในตลาดหลังเกิดวิกฤตมันลดลงเหลือเพียง 90,000 เหรียญ!
เป็นผลให้ “ธนาคาร” ยึดบ้าน! แต่จำนวนบ้านที่ธนาคารยึดมานั้น มีจำนวนเยอะมากๆในระยะเวลาไม่นาน!
ผลคือ “ธนาคาร” ต้องการขายบ้านที่ยึดมาจำนวนมากนั้นเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด และหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานบอกไว้ว่า เมื่อ “อุปทาน” มีมากกว่า “อุปสงค์” หรือ ตลาดอยู่ในสภาวะ “oversupply” ราคาบ้านที่เคยอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” ก็กลับร่วงลงเป็น “ขาลง” !
จนในที่สุด “ห่วงโซ่” ดังกล่าวก่อให้เกิดสิ่งที่ต่อมากลายเป็น “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์”
ผมเองเมื่อมองย้อนไปศึกษา “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ซึ่งเป็น “ประวัติศาสตร์” หน้าใหญ่ๆหน้าหนึ่งในยุคปี 2008 แล้วผมก็มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับวงการคริปโต ผมเองก็อดเป็นห่วงนักลงทุนไม่ได้ ทั้งๆที่ผมไม่เคยลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาดคริปโตแต่อย่างใด
จนผมได้ค้นคว้าข้อมูลและเขียนเป็นข้อเขียนไว้แล้วดังนี้
2) “ระบบการเมืองโลก”
3) ”สังคม”
มีข่าวการเสียชีวิตของชาวผิวสีให้เห็นอยู่หลายครั้ง และนำมาซึ่งความไม่สงบในชุมชนเนื่องจากการประท้วง จนแม้แต่ชาวเมืองเชื้อสายเอเชีย ยังได้รับผลกระทบ
ผมได้ดูภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงเรื่องหนึ่งที่คาดว่าเกิดในยุค 50s เป็นเรื่องของสุภาพสตรีผิวสีที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และได้ทำงานให้กับองค์กรทางอวกาศที่เลื่องชื่อที่สุด แต่ในยุคนั้นยังมีการแบ่งแยกห้องนำ้ระหว่างชาวผิวสีกับคนผิวขาว! ซึ่งแสดงให้เห็นที่มาของการแบ่งแยกทางเชื้อชาติที่มีมานานแล้วในประวัติศาสตร์
4) ”ภัยธรรมชาติ”
ช่วงที่ tsunami เกิดขึ้นที่ภูเก็ต มีผู้เสียชีวิตประมาณห้าพันคน มีอยู่สองเหตุการณ์ที่มีผู้รอดชีวิต
4.1) เด็กชาวต่างชาติได้รับการสอนในโรงเรียนเรื่อง tsunami โดยเด็กคนนั้นบอกผู้คนรอบข้างให้หนีห่างจากบริเวณชายหาดเมื่อเธอพบว่า นำ้ทะเลเริ่มลดระดับลงอย่างผิดปกติ ก่อนที่คลื่นใหญ่จะซัดเข้าฝั่ง
4.2) เด็กชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ริมทะเล สังเกตเห็นการลดระดับของนำ้ทะเลอย่างผิดปกติเช่นกัน แล้วพากันขึ้นที่สูงเพราะบรรพบุรุษได้เล่าสืบต่อกันมาเรื่องภัยธรรมชาติที่จะมาเมื่อนำ้ทะเลลดระดับอย่างรวดเร็วผิดปกติ
การสืบต่อความรู้ทางประวัติศาสตร์จึงสามารถช่วยชีวิตได้!
โฆษณา