6 ส.ค. 2022 เวลา 06:52 • ความคิดเห็น
เจาะลึก : หลักการคำนวณภาษีนำเข้า แบบเข้าใจง่ายใน 3 นาที
ขอบคุณภาพจาก canva
นำเข้าเราต้องรู้ ...ทุก ๆ การนำสินค้าใด ๆ เข้ามาในราชอาณาจักรไทยจำเป็นจะต้องมีการเสียภาษีนำเข้าทุกครั้ง
เคยสงสัยไหมคะว่ามูลค่าภาษีที่เราต้องจ่ายให้กับกรมศุลกากรนั้น คิดคำนวณมาจากอะไร ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการคิดคำนวณ
ตามที่ได้ชวนตรวจใบขนสินค้าไปในบทความก่อน รายละเอียดตามลิงค์นี้เผื่อใครยังไม่ได้อ่าน https://www.blockdit.com/posts/62d8a25888178a8ee1bbeb52
แต่ถ้าใครได้อ่านแล้วจะพอทำให้ทราบว่า การคำนวณฐานภาษีที่จะต้องจ่ายให้กับกรมศุลกากรนั้นมาจาก ราคา CIF นั่นก็คือ มูลค่าสินค้า + ค่าขนส่ง + ประกันภัย กลายเป็นฐานภาษีที่เอามาคำนวณกับอัตราภาษี ได้ออกมาเป็นยอดภาษีที่เราต้องจ่าย + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
สินค้าแต่ละชนิดแต่ละประเภท อัตราภาษีก็จะไม่เท่ากัน บางหมวด 10% บางหมวดได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี นั่นก็คือ อัตราภาษี 0% บางหมวดอัตราภาษีอาจจะสูงไปถึง 35 % หรือบางหมวด หากต้องการลดอัตราภาษีลงก็จะต้องมีเอกสารตามประกาศของกรมศุลกากร มาอ้างอิงเป็นหลักฐานประกอบในตอนเคลียร์สินค้า
ในบทความนี้เราจะชวนมาทำความรู้จัก ความเกี่ยวข้องกันของ Incoterms แต่ละอันที่รายละเอียดจะไปปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าและการคิดคำนวณฐานภาษี (น่าจะเป็นประโยชน์กับน้องใหม่ในวงการนำเข้าส่งออกหรือใครหลายคนที่กำลังสนใจเรื่องนี้นะคะ ) หรือหากใครต้องการหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อง Incoterms สามารถอ่านได้จากลิงค์นี้เลยค่ะเราสรุปและรวบรวมไว้ให้แล้ว https://www.blockdit.com/posts/61dab3a34d06d1f426ecc549
รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคำนวณเป็นฐานภาษีมีดังนี้
1. EX-work charge (EXW) : เป็นค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นที่ต้นทาง เริ่มจากหน้าโรงงานของผู้ขาย ไปจนถึงในโกดังของท่าเรือ เป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายให้กับ Forwarder ที่เราว่าจ้างให้เขาทำงานให้กับเรา
2. Freight charge (F): ค่าขนส่งสินค้า หรือที่เรียกอีกอย่างว่าค่าระวางสินค้า
3. Insurance (I): ประกันความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้า
🌟 Incoterms : EX-WORK : หากการซื้อขายเป็น EX-WORK รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวณฐานภาษีจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
- Ex-work charge 3% (EXW)
-Freight charge (F)
-Insurance (I)
🌟 Incoterms : FCA : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-FCA change 3%
-Freight charge (F)
-Insurance (I)
🌟 Incoterms : FAS : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Freight charge (F)
-Insurance (I)
🌟 Incoterms : FOB : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Freight charge (F)
-Insurance (I)
🌟 Incoterms : CFR : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Insurance (I)
(Freight ไม่ต้องแสดงเพราะ incoterms นี้รวม Freight แล้ว) แต่ถ้าใน invoice แยก freight ให้เห็นก็ต้องแสดงในใบขน
🌟 Incoterms : CIF : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
👉 กรณีนำสินค้าเข้ามากับ Forwarder Freight /Insurance ไม่ต้องแสดงเพราะหน้า HAWB บอกชัดเจนแล้วว่า Freight Prepaid.
🌟 Incoterms : CPT : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Freight charge (F)
-Insurance (I) ถ้าไม่ได้ทำประกันเพิ่ม จะคำนวนจาก 1% ของมูลค่า invoice.
👉 กรณีนำสินค้าเข้ามากับ Courier FedEx, DHL ,TNT และหาข้อมูล freight ไม่ได้ ……ในใบขนจะต้องระบุ Freight คำนวณตาม zone ที่ศุลกากรกำหนดไว้เพื่อคำนวณฐานภาษี
🌟 Incoterms : CIP : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Freight charge (F)
-Insurance (I) 1% ของมูลค่า invoice
👉 กรณีนำสินค้าเข้ามากับ Courier FedEx, DHL ,TNT และหาข้อมูล freight ไม่ได้ ……ในใบขนจะต้องระบุ Freight คำนวณตาม zone ที่ศุลกากรกำหนดไว้เพื่อคำนวณฐานภาษี
🌟 Incoterms : DAT : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Freight charge (F)
-Insurance (I) 1% ของมูลค่า invoice.
👉 กรณีนำสินค้าเข้ามากับ Courier FedEx, DHL ,TNT หาข้อมูล freight ไม่ได้ ……ในใบขนจะต้องระบุ Freight คำนวณตาม zone ที่ศุลกากรกำหนดไว้เพื่อคำนวณฐานภาษี
🌟 Incoterms : DAP : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Freight charge (F)
-Insurance (I) 1% ของมูลค่า invoice.
👉 กรณีนำสินค้าเข้ามากับ Courier FedEx, DHL ,TNT หาข้อมูล freight ไม่ได้……ในใบขนจะต้องระบุ Freight คำนวณตาม zone ที่ศุลกากรกำหนดไว้เพื่อคำนวณฐานภาษี
🌟 Incoterms : DDP : รายละเอียดที่จะปรากฏอยู่บนใบขนสินค้าจะมีดังนี้
-มูลค่าสินค้า
-อัตราภาษีที่ศุลกากรกำหนด
-Freight charge (F)
-Insurance (I) 1% ของมูลค่า invoice.
👉 กรณีนำสินค้าเข้ามากับ Courier FedEx, DHL ,TNT ……ในใบขนจะต้องระบุ Freight คิดตาม zone ที่ศุลกากรกำหนดไว้เพื่อคำนวณฐานภาษี
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับใครที่สนใจในเรื่องการนำเข้าสินค้าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
การนำเข้ายังมีเรื่องราวให้เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยค่ะ จะทยอยเอามาเล่าบ่อย ๆ น๊า
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปนะคะ
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นที่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกเขียนนิยาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา