Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Think Trade Think DITP
•
ติดตาม
7 ส.ค. 2022 เวลา 05:00 • การตลาด
“เยอรมนี กินอย่างไร”
ภาพรวมพฤติกรรมการกินและแนวโน้มในการจับจ่ายซื้อของคนเยอรมัน
กระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMEL) ได้เผยแพร่รายงานโภชนาการ “เยอรมนี กินอย่างไร” ซึ่งจัดทำโดยสถาบันวิจัย forsa โดยรายงานดังกล่าวแสดงข้อมูลภาพรวมของพฤติกรรมการกิน แนวโน้มในการจับจ่ายซื้อของและทำอาหารของผู้บริโภคในเยอรมนี
รายงานโภชนาการฉบับปัจจุบัน “Ernährungsreport 2022” ชี้ให้เห็นว่า คนเยอรมันยังคงชอบทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน แม้สัดส่วนการทำอาหารทุกวันเมื่อเทียบกับปีที่แล้วจะลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 52 เป็นร้อยละ 46 แต่การทำอาหาร 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์กลับเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารนอกบ้านก็เป็นที่นิยมเช่นกัน โดยอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์คนเยอรมันมีการ รับประทานอาหารที่ร้านอาหาร (ร้อยละ 16) ที่แคนทีน (ร้อยละ 11) หรือสั่งอาหารพร้อมรับประทานมา รับประทาน (ร้อยละ 11) ทั้งนี้ เป็นที่น่าจับตามองเกี่ยวการสั่งซื้อของชำพร้อมบริการจัดส่งถึงบ้านที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ผักและผลไม้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนเยอรมัน โดยร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสำรวจกินผักและผลไม้ทุกวัน ด้วยเหตุผลด้านรสชาติ ด้านสุขภาพ และแคลอรี่ที่ต่ำเป็นสำคัญ รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์นม (ร้อยละ 61) เนื้อสัตว์หรือไส้กรอก (ร้อยละ 25) และมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่กิน ปลา/อาหารทะเล อาหารสำเร็จรูป ทุกวัน
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มขึ้นของการบริโภคอาหารมังสวิรัติ/วีแกนทดแทนผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่อายุน้อย เหตุผลหลักในการเลือกซื้ออาหารมังสวิรัติ/วีแกน ได้แก่
(1) ความอยากรู้อยากลอง (ร้อยละ 75)
(2) สวัสดิภาพสัตว์ (ร้อยละ 71)
(3) การปกป้องสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 64)
(4) รสชาติ (ร้อยละ 64)
(5) ด้านสุขภาพ (ร้อยละ 47)
(6) ได้อ่านหรือได้ฟังมา (ร้อยละ 36)
(7) เป็นอาหารทางเลือก เนื่องจากการแพ้อาหารบางอย่าง (ร้อยละ 15)
ทั้งนี้ นมถั่วเหลือง นมข้าวโอ๊ต ยังรั้งอันดับ 1 เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ถูกซื้อมากที่สุด ในส่วนของผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ไส้กรอก โยเกิร์ต และปลาก็ต่างได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
ข้อมูลทางโภชนาการ รายการส่วนผสม วันหมดอายุ เป็นข้อมูลสำคัญบนบรรจุภัณฑ์อาหาร (กฎหมายกำหนดให้ระบุ) ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ นอกจากนี้ การติดฉลาก/ตรารับรอง หรือระบุข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น สวัสดิภาพสัตว์ แฟร์เทรด การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น
สำหรับผู้บริโภคที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น ต้องการรับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตว่าเป็นแบบเชิงนิเวศหรือแบบดั้งเดิม ระยะเวลา และเส้นทางการขนส่ง ปริมาณการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้น้ำ และปริมาณการปล่อย CO2 ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบสำรวจจำนวนมากให้ความสำคัญกับฉลาก/ตรารับรองเหล่านี้
(1) ฉลากระบุสินค้าท้องถิ่น (ร้อยละ 64)
(2) ฉลากสวัสดิภาพสัตว์ (ร้อยละ 61)
(3) ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 60)
(4) ตรารับรองการประมงที่ยั่งยืน (ร้อยละ 55)
(5) ตราแฟร์เทรด (ร้อยละ 53)
ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากสนับสนุนให้มีการติดฉลากสวัสดิภาพสัตว์ภาคบังคับ สอดคล้องกับการที่รัฐบาลเยอรมนีกำลังพิจารณาข้อบังคับฉลากสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare labelling) ซึ่งจะทำให้การทำปศุสัตว์ต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างจริงจัง และจะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตสัตว์และการปฏิบัติต่อสัตว์ในฟาร์มให้ดีขึ้น โดยฉลากสวัสดิภาพสัตว์จะแสดงข้อมูลด้านแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ระบบการเลี้ยงดู การขนส่งและวิธีการเชือดสัตว์ ทั้งนี้ เยอรมนีต้องการเริ่มใช้ฉลากสวัสดิภาพสัตว์ ในปี 2023
เยี่ยมชม
ditp.go.th
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ,ส่งออก,Export,การค้าระหว่างประเทศ,การค้า,Trade,ตลาดต่างประเทศ,ตลาดส่งออก,งานแฟร์,นำเข้า,DITP
เยอรมนี
พฤติกรรมผู้บริโภค
แนวโน้ม
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย