4 ส.ค. 2022 เวลา 11:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"รู้จักกับภาพถ่ายใหม่ล่าสุดของเจมส์เว็บบ์"
1
เมื่อไม่นานมานี้ทางนาซาได้เปิดเผยรูปภาพใหม่ล่าสุดจากกล้องโทรทรรศน์เจมส์เว็บบ์ออกมาอย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่มีการเปิดตัวภาพชุดแรกเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน ซึ่งภาพใหม่นี้ก็อาจแลดูสวยงามตามสไตล์ภาพถ่ายอวกาศทั่วไป
1
แต่ทว่าก็กลับมีน้อยคนนักที่จะรู้ถึงเรื่องราวอันน่าพิศวงหลายร้อยเรื่องที่บรรจุซุกซ่อน ร้อยเรียงอยู่ในภาพ ๆ นี้ เนื่องจากการที่จะเข้าใจภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ได้อย่างถ่องแท้นั้นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานอยู่พอสมควร ดังนั้นในบทความภาพชุดนี้เราจึงจะมาร่วมรู้จักภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ไปด้วยกันสำหรับผู้เริ่มศึกษาโดยเฉพาะ
2
โดยบทบรรยายจะอยู่ในแต่ละภาพประกอบตามลำดับ
2
"รู้จักกับภาพถ่ายใหม่ล่าสุดของเจมส์เว็บบ์"
1
เมื่อไม่นานมานี้ทางนาซาได้เปิดเผยรูปภาพใหม่ล่าสุดจากกล้องโทรทรรศน์เจมส์เว็บบ์ออกมาอย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่มีการเปิดตัวภาพชุดแรกเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน ซึ่งภาพใหม่นี้ก็อาจแลดูสวยงามตามสไตล์ภาพถ่ายอวกาศทั่วไป
1
แต่ทว่าก็กลับมีน้อยคนนักที่จะรู้ถึงเรื่องราวอันน่าพิศวงหลายร้อยเรื่องที่บรรจุซุกซ่อน ร้อยเรียงอยู่ในภาพ ๆ นี้ เนื่องจากการที่จะเข้าใจภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ได้อย่างถ่องแท้นั้นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานอยู่พอสมควร ดังนั้นในบทความภาพชุดนี้เราจึงจะมาร่วมรู้จักภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ไปด้วยกันสำหรับผู้เริ่มศึกษาโดยเฉพาะ
3
โดยบทบรรยายจะอยู่ในแต่ละภาพประกอบตามลำดับ
1
1). นี่คือภาพถ่ายภาพล่าสุดของดาราจักร*กงเกวียนอันโด่งดัง โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ ซึ่งนาซาได้เปิดเผยสู่สายตาสาธารณชนเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา
1
โดยภาพ ๆ นี้เป็นภาพที่คมชัดและละเอียดที่สุดของดาราจักรกงเกวียนเท่าที่เราเคยมีมาในประวัติศาสตร์ ทำให้นักดาราศาสตร์ต่างคาดการณ์ไว้ว่าข้อมูลชุดใหม่จะช่วยให้เราเข้าใจการวิวัฒนาการของดาราจักรลักษณะพิเศษนี้ในอนาคตได้ดีกว่าเดิม
2
*คำว่า "ดาราจักร" คือคำแปลภาษาไทยของ "กาแล็กซี่" (Galaxy) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงอาณาจักรของดวงดาว ที่ได้มารวมตัวกันนับแสนนับล้านดวงภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง เราจึงอาจกล่าวได้ว่าดาราจักรก็ไม่ต่างอะไรไปจากเกาะแห่งแสงสว่างที่ล่องลอยอยู่ท่ามกลางทะเลอันดำมืดของอวกาศ
7
2). ในภาพนี้เราจะสามารถเห็นตัวดาราจักรกงเกวียนอยู่ทางบริเวณด้านขวาของภาพได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ทางด้านซ้ายก็มีดาราจักรบริวารขนาดเล็กอีกสองแห่ง ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงร่วมกับดาราจักรกงเกวียน
1
คล้ายกับการที่ดาราจักรเมฆแมกเจลแลนใหญ่และเมฆแมกเจลแลนเล็กอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาราจักรทางช้างเผือกของเราเช่นกัน
2
3). ทีนี้เรามารู้จักกับข้อมูลเบื้องต้นของดาราจักรกงเกวียนกันบ้างเริ่มจากขนาดที่แสนกว้างใหญ่ของมันถึง 150,000 ปีแสง ซึ่งถือว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าทางช้างเผือกราว 1.5 เท่า แต่ก็ยังคงเล็กกว่าดาราจักรแอนโดรเมดาที่เป็นกาแล็กซี่เพื่อนบ้านของทางช้างเผือกอยู่เล็กน้อย
4
โดยขนาดที่ใหญ่กว่านั้นก็ย่อมหมายถึงมีปริมาณดวงดาวที่มากกว่าทางช้างเผือกเช่นกัน
1
4). และหากเราลองมาซูมเข้ามาดูกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราแล้ว เราก็จะเข้าใจความยิ่งใหญ่ของดาราจักรได้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะในระยะนี้ดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวฤกษ์*ผู้มอบแสงสว่างให้แก่เราและดาวเคราะห์*ในครอบครัวทั้ง 8 ไล่ตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงเนปจูน ก็ยังเห็นเป็นเพียงแค่จุดสีเหลือง ๆ จุดเล็ก ๆ จุดเดียว ณ บริเวณชายขอบของทางช้างเผือกเท่านั้น เรียกได้ว่าดวงอาทิตย์ก็เป็นดาวฤกษ์ธรรมดาดวงหนึ่งท่ามกลางดาวฤกษ์อีกมากกว่า 400,000 ล้านดวงในทางช้างเผือกของเรา
3
*ดาวฤกษ์คือดาวที่มีแสงสว่างในตนเอง ซึ่งผลิตพลังงานจากการทำปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นที่หลอมหลวมอะตอมของไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม ณ แกนกลางของดาวจนเกิดแสงสว่างและความร้อนขึ้นมา
5
*ส่วนดาวเคราะห์นั้นคือเศษซากที่หลงเหลือจากการก่อตัวของดาวฤกษ์ อย่างเช่นโลกของเรา
4
5). โดยในยุคก่อนหน้ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์นั้น ดาราจักรกงเกวียนนั้นเป็นวัตถุที่ตรวจสอบอย่างละเอียดได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากระยะที่อยู่ห่างจากทางช้างเผือกไปกว่า 500 ล้านปีแสง ซึ่งห่างจากดาราจักรแอนโดรเมดาที่เรารู้จักกันดีเป็นหลายร้อยเท่า จึงแทบเป็นไม่ได้เลยที่เราจะเดินทางไปยังดาราจักรกงเกวียนได้ ขนาดดาวฤกษ์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเรามากสุดในทางช้างเผือก ซึ่งห่างไปราว 4.2 ปีแสง เรายังต้องใช้เวลาทางเป็นหมื่น ๆ ปีด้วยเทคโนยีในปัจจุบัน
3
และการที่มันอยู่ห่างเราไปมาก ๆ ก็ทำให้ภาพนี้กลายเป็นภาพในอดีตด้วยเช่นกัน เนื่องจากแสงต้องใช้เวลาเดินทางออกจากดาวฤกษ์ในดาราจักรกงเกวียนมายังโลกเป็นระยะเวลาหลายร้อยล้านปี ซึ่งในขณะนั้นมนุษย์ก็ได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แล้วส่งมันออกสู่อวกาศเพื่อเก็บเกี่ยวเศษเสี้ยวของลำแสงยุคโบราณนี้ไว้ จนเราได้ภาพของดาราจักรกงเกวียนที่เรากำลังเห็นอยู่นี้
4
ไม่แน่ว่าในตอนนี้รูปร่างของดาราจักรกงเกวียนก็คงเปลี่ยนไปมากจนเราไม่สามารถจำหน้าตามันได้เลยก็เป็นได้
2
6). นอกจากนี้อีกเรื่องหนึ่งที่เราควรรู้กันก็คือภาพที่กล้องเจมส์เว็บบ์ส่งกลับมาให้เรานั้น ไม่ใช่ภาพจริง ๆ ที่เราจะสามารถมองเห็นดาราจักรกงเกวียนด้วยตาเปล่าได้ เพราะอุปกรณ์รับแสงบนเจมส์เว็บบ์ถูกออกแบบมาให้รับช่วงคลื่นย่านอินฟราเรดซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ ไฟล์ภาพที่ได้มาจึงเป็นสีขาวดำทั้งหมด ก่อนที่จะมีการเติมสีลงไป
7
อย่างกรณีนี้ทางทีมนักดาราศาสตร์ก็ได้ใช้สีแดงเพื่อแบ่งแยกบริเวณพื้นที่อวกาศว่างเปล่ากับส่วนบริเวณที่มีดาวฤกษ์ร่วมตัวกันอย่างหนาแน่น ณ ใจกลางของดาราจักรและวงแหวนรอบนอก อีกทั้งแสงในช่วงคลื่นอินฟราเรดยังสามารถส่องทะลุกลุ่มเมฆหมอกแก๊สระหว่างดวงดาวได้เป็นอย่างดี ทำให้ภาพจากกล้องโทรทรรศน์เจมส์เว็บบ์นั้นมีปริมาณดาวฤกษ์ปรากฏให้เห็นเยอะกว่าทางฝั่งกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล แถมยังมีความคมชัดมากกว่าอีกด้วย
7
8). ย้อนกลับไปในช่วงปลายยุค 90 กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินบนโลกได้ศึกษาร่องรอยของสัญญาณวิทยุจากกลุ่มแก๊สไฮโดรเจน ในบริเวณพื้นที่ของดาราจักรกงเกวียนจนสามารถตามรอยกาแล็กซี่ที่เคยเคลื่อนที่ผ่านไปมาในอดีตได้ เนื่องจากเวลากาแล็กซี่เคลื่อนที่เข้ามาใกล้กันนั้น พวกกลุ่มแก๊สระหว่างดวงดาวที่ประกอบไปด้วยไฮโดรเป็นส่วนใหญ่มักจะถูกอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงผลักออกไปนอกเส้นทางอยู่เสมอ
2
นี่จึงเป็นหลักฐานชั้นดีว่าเมื่อประมาณ 400 ล้านปีที่แล้วเคยมีกาแล็กซี่ขนาดเล็กพุ่งเข้าชนดาราจักรกงเกวียน ณ บริเวณใจกลางอย่างพอดิบพอดี ซึ่งแรงโน้มถ่วงมหาศาลระหว่างกาแล็กซี่ทั้งสองก็ได้ทำปฏิกริยาต่อกันและกัน จนสามารถเคลื่อนดาวฤกษ์จำนวนมากกระจัดกระจายไปทั่วได้ ก่อนที่จะกลายมาเป็นรูปทรงลักษณะวงแหวนในที่สุด คล้ายกับปรากฏการณ์ที่เราโยนก้อนหินลงน้ำ
3
แต่ทว่าส่วนใหญ่แล้วการปะทะกันระหว่างกาแล็กซี่นั้นแทบไม่ได้ส่งผลอะไรที่รุนแรงต่อเหล่าดวงดาวในนั้นเลย เพราะช่องว่าระหว่างดาวฤกษ์มันกว้างใหญ่เสียจนไม่สามารถทำให้ดาวมาชนกันได้ ถึงขนาดที่ว่าเมื่อกาแล็กซี่แอนโดรเมดาและทางช้างเผือกมาชนกันในอนาคต โลกของเราก็จะอยู่กันอย่างปกติสุขดี นอกเสียจากตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้าจะเปลี่ยนไปและมีความยุ่งเหยิงกว่านี้มาก
5
9). ยิ่งไปกว่านั้นการปะทะกันของดาราจักรหรือกาแล็กซี่กงเกวียนนั้นยังทำให้กลุ่มแก๊สไฮโดรเจนถูกผลักออกไปรวมตัวกันในปริมาณมาณมหาศาลในบริเวณวงแหวนรอบนอกอีกด้วย ก่อนที่จะเริ่มยุบตัวลงแล้วกระตุ้นให้ก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์จำนวนไม่นับไม่ถ้วนในช่วงเวลาเดียวกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
1
และเมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยล้านปีจนถึงปัจจุบันสายธารของดาวฤกษ์รอบนอกก็เริ่มที่จะก่อตัวเป็นแขนกังหันขึ้นมาบ้างแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาเกือบพันล้านปีกว่าที่รูปทรงของดาราจักรกงเกวียนจะกลายมาเป็นทรงกังหันมีคานสมบูรณ์แบบทางช้างเผือกของเรา
1
ทีนี้เรามาลองนึกกันเล่น ๆ ดูว่าท่ามกลางดาวฤกษ์หลักหมื่นล้านดวงที่ได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในวงแหวนรอบนอกของดาราจักรกงเกวียนนั้น จะมีสักกี่ดวงที่จะมีเศษซากหลงเหลือจากการก่อตัวมารวมกันเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดาวแม่ของมันในระยะที่พอดี เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไปและมีมหาสมุทรสีฟ้าครามประดับอยู่บนนั้น ซึ่งคำตอบจากตัวเลขที่มหาศาลนี้ก็คงไม่ใช่ 0 ดวงแน่ ๆ
2
และหากเรานับรวมจำนวนกาแล็กซี่อื่นอีกนับล้าน ๆ แห่งด้วยแล้ว เราจึงอาจกล่าวได้ว่าความเป็นไปได้ที่จะเจอดาวเคราะห์เฉกเช่นโลกนั้นไม่มีที่สิ้นสุดเลยจริง ๆ เพียงแค่ว่าเราจะเจอตอนไหนแค่นั้นเอง ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ด้วยเช่นกัน
4
จบ. หลังจากอาจแล้วรู้สึกยังไงกันบ้างครับ มาแชร์กันได้
โฆษณา