4 ส.ค. 2022 เวลา 16:26 • ข่าวรอบโลก
1) “The history”
นับแต่ยุคการขยายอาณาจักรของท่าน อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) และท่าน เจงกิส ข่าน (Genghis Khan) อดีตจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิมองโกล
แว่นแคว้นและดินแดนทุกหนทุกแห่งบนพื้นโลก ได้มีผู้ปกครองดินแดนเหล่านั้นผลัดเปลี่ยนกันสืบทอดดูแล โดยบางยุคก็มีการขยายอาณาเขตออกไปและมีบางช่วงที่ต้องเสียดินแดนไปตาม
ยุคสมัย
ไม่เว้นกรณีของจีนกับไต้หวัน ซึ่งผมมองว่า ไต้หวันคงไม่ต่างจาก ยูเครนของรัสเซีย ในสายตาของจีน
เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์แห่งสงคราม ผมเริ่มมองเห็น “สงครามตัวแทน” หรือ
“proxy wars”
โดย “สงครามตัวแทน” หรือผมอยากเรียกอย่างง่ายๆว่า “สงครามแบบตีวัวกระทบคราด” มีมายาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองโลกเท่าที่ผมสังเกตดูครับ
1.1) “สงครามเกาหลี” หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1945 ในที่สุด “โลกเสรี” ที่มี “พี่นกอินทรีย์” เป็นผู้นำ และอีกฝ่ายคือ “พี่หมี” เป็นหัวหอกของทางฝ่าย “โลกสังคมนิยม” ก็เริ่มเปิดฉากความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกตามเหตุและปัจจัยที่เกื้อหนุนในแต่ละภูมิภาค
เมื่อ “จีน” ส่งกองกำลังรุกเข้าคาบสมุทรเกาหลี ทางฝ่าย “พี่นก” และแม้กระทั่ง ทหารไทย ก็ได้ส่งกองกำลังเข้าไปสู้รบในสมรภูมิแห่งคาบสมุทรเกาหลีด้วย!
1.2) “สงครามเวียดนาม”
เมื่อเวียดนามถูกแบ่งเป็นเหนือและใต้ โดยที่มีทั่ง “พี่นก” และ “พี่หมี” เข้าไปมีอิทธิพลทั้งทาง “การเมืองและเศรษฐกิจ” ในพื้นที่เหล่านั้น “ความขัดแย้ง” ก็เกิดขึ้นจนได้ และในที่สุด “เวียดนาม” ก็กลายเป็นประเทศแนวสังคมนิยมหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1975 เมื่อทหารของฝ่าย “พี่นก” ถูกสั่งให้ถอนกำลังออกจากสมรภูมิในเวียดนาม
ด้วยเหตุผลทางการเมืองในบ้าน “พี่นก” เองด้วยเหตุผลที่ว่า ประชาชนบ้าน “พี่นก” ไม่เห็นด้วยกับการสูญเสียทั้งชีวิตและงบประมาณของฝ่าย “พี่นก” เอง จนนักการเมืองบ้าน “พี่นก” กลัวคะแนนเสียงตกจนต้องมีคำสั่งถอนทหาร
ในกรณีของไต้หวันนั้น เป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไต้หวันเป็นดินแดนที่เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีการแยกตัวออกมาชัดเจนจาก “แผ่นดินใหญ่” (mainland) และไต้หวันยังมีระบบการปกครองที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งจากประชาชน
ในขณะที่จีน อ้างความเป็นเจ้าของดินแดนเหนือเกาะไต้หวัน โดยที่ทางไต้หวันเองก็มีความสัมพันธ์อันดีทั้งทางเศรษฐกิจและทางความมั่นคงทางทหารกับ “มหาอำนาจ” ซึ่งก็เคยมีการ “ปะทะ” กับทางจีน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในยุค “สงครามตัวแทน” มาแล้ว
2) “The leaders”
อีกมุมหนึ่ง ประวัติความเป็นมาของทั้งท่าน Xi Jinping และ ท่าน Putin แห่งรัสเซีย ที่ท่านทั้งสองเติบโตมาในยุคที่ทั้งทางจีนและรัสเซีย อยู่ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากในทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพความมั่นคงในเวทีโลกที่ไม่สู้ดี
ท่าน Xi เองเติบโตมาโดยที่ท่านเคยเลี้ยงสุกรในฟาร์ม ส่วนท่าน Putin ก็เป็นอดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง KGB ซึ่งผมเคยได้ยินมาจากข่าวทีวีที่ไม่ยืนยันข้อเท็จจริงว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ท่าน Putin เคยขับรถ taxi เลี้ยงชีพ! ในยุคที่อดีตสหภาพโซเวียตล่มสลายในยุค 90s
ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่ว่า เหตใดเมื่อวันนี้ที่ทั้งจีนและรัสเซีย มีความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหารในเวลทีโลก ท่านผู้นำทั้งสองจึงพยายาม “กอบกู้” เกียรติยศและศักดิ์ศรีของประเทศบ้านเกิดของท่านเองอย่างไม่ลังเล!
3) “The scenarios”
“ฉากทัศน์” ในการใช้กำลังทางทหารของจีนในการบุกยึดเกาะไต้หวันนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อชาวโลกมากกว่ากรณียูเครนกับรัสเซีย เนื่องด้วยขนาดเศรษฐกิจของจีนนั้นใหญ่โตกว่าทางรัสเซียราว 10 เท่า!
ผมเองลองค้นข้อมูลและลองจินตนาการถึงการบุกยึดเกาะไต้หวันจากทางจีนไว้คร่าวๆดังนี้ครับ
3.1) เกาะไต้หวันอยู่ห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่ราว 130 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่ใกล้มากๆ คล้ายๆกับที่กรุงโซลของเกาหลีใต้อยู่ห่างจากพรหมแดนของเกาหลีเหนือในระยะที่ “ปืนใหญ่” จากทางเกาหลีเหนือสามารถยิงกระสุนปืนใหญ่ข้ามเขตแดนมาตกลงในกรุงโซลได้!
จากการประเมินพื้นฐาน ถ้าทางจีนส่งเครื่องบินรบเข้าโจมตีเป้าหมายบนเกาะไต้หวัน เครื่องบินรบของจีนที่มีทั้งที่ทางจีนพัฒนาขึ้นมาเอง และที่ทางจีนซื้อมาจากทางรัสเซีย ซึ่งเป็นเครื่องบินรบสมรรถนะสูง สามารถบินด้วยอัตราเร็วเหนือเสียง หรือ supersonic ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 2-3 Mach หรือ 2-3 เท่าของอัตราเร็วของเสียง!
นั่นคือ เมื่อเครื่องบินรบของจีน take off จากฐานทัพอากาศที่อยู่ใกล้เกาะไต้หวันแล้ว นักบินสามารถนำเครื่องบินเข้าน่านฟ้าของไต้หวันได้ในเวลาไม่กี่วินาที!
และสิ่งที่ทางจีนจะทำเป็นสิ่งแรกๆคงไม่พ้นการ “โจมตีทาง cyber” และการทำลายที่มั่นสำคัญที่รวมถึง “ฐานทัพอากาศของทางไต้หวัน” โดยเร็วที่สุด เพื่อสกัดกั้นการต่อต้านทางอากาศจากไต้หวัน
ในทางตรงกันข้าม ทางไต้หวันเองก็อาจมีการส่งเครื่องบินรบของตัวเองซึ่งส่วนใหญ่คงจะเป็นเครื่องบิน F-16 ที่อาจจะมีสมรรถนะเทียบเท่าเครื่องบินรบรุ่นที่ใหม่กว่าจากจีนไม่ได้ ขึ้นบินลาดตระเวนพร้อมทำการสกัดกั้นอยู่แล้ว
1
ทั้งนี้หากทางไต้หวันไม่สามารถนำเครื่องบินรบของตัวเองขึ้นบินให้เร็วที่สุด หลังจากได้รับการแจ้งเตือนว่ามีการรุกล้ำน่านฟ้าจากจีนแล้ว เครื่องบินรบและฐานทัพอากาศของไต้หวันอาจถูกโจมตีจนไม่สามารถปกป้องน่านฟ้าของตัวเองได้เลย
ทั้งนี้การที่ทางไต้หวันมีระบบป้องกันภัยทางอากาศด้วยขีปนาวุธและระบบเรดาร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จะช่วยให้ไต้หวันปกป้องน่านฟ้าของตัวเองได้ดีขึ้น
3.2) ทางจีนเอง ก็คงเริ่มโจมตีเกาะสาขาของทางไต้หวัน และเป็นไปได้สูงมากที่ทางจีนจะโจมตี “ฐานทัพของคุณลุงแซม” ในละแวกใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น ฐานทัพในฟิลิปปินส์, ฐานทัพบนเกาะ Okinawa ของญี่ปุ่น, ฐานทัพบนเกาะ Guam ในมหาสมุทร Pacific หรือไปไกลถึงฐานทัพอากาศทางตอนเหนือของออสเตรเลียที่เมือง Darwin ซึ่งฐานทัพเหล่านี้สามารถส่งเครื่องบินรบมาช่วยทางไต้หวันได้!
ทั้งนี้ “กองเรือดำนำ้” และ “กองเรือบรรทุกเครื่องบิน” ของทางคุณลุงแซม จะมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางทหารกับทางไต้หวันอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพราะทางไต้หวันเองมีกำลังทหารน้อยกว่าทางจีนที่มีทหารประจำการอยู่ราว 2 ล้านคน เป็นอันมาก
4) “The new normal”
หลังจากวิกฤตทั้งในยูเครนและช่องแคบไต้หวันแล้ว โลกกำลังเข้าสู่ยุค
“Deglobalization” หรือ “Economic decoupling”
1
ซึ่งผมพยายามอธิบายตัวผมเองแบบนี้ครับ
สมมุติว่าในซอยบ้านเรามี “ร้านคุณ A” เปิดขายก๋วยเตี๋ยวเรืออยู่ คุณ A จะสั่งซื้อทั้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว และ ลูกชิ้นจากทาง “ร้านคุณ B” ซึ่งเป็นโรงงาน SME ขนาดเล็กที่อยู่ห่างจาก “ร้านคุณ A” เพียง 300 เมตร!
วันหนึ่งทั้งสองร้านมีประเด็นไม่ลงรอยกัน “คุณ A” ประกาศไม่ซื้อของจากทางคุณ B อีก
คุณ A ต้องซื้อของจาก คุณ C ที่เปิดร้านห่างออกไป 3 กิโลเมตร ส่วนคุณ B ได้ orders ของจาก คุณ D แทน แต่ร้านคุณ D อยู่ถัดออกไปอีกซอย และมียอด orders น้อยกว่าร้านคุณ A ถึง 50% !
นั่นคือ ระบบอุปสงค์อุปทานของทั้งโลกกำลังจะเปลี่ยนไป และอาจทำให้ “ต้นทุนทางเศรษฐกิจ” ของทุกคนบนโลกเพิ่มสูงขึ้น!
เมื่อมองไปที่ไต้หวัน ในตอนที่ไต้หวันเกิดแผ่นดินไหว ราคา RAMs ในบ้านเราเพิ่มสูงขึ้น เพราะโรงงานผลิต RAMs ที่ไต้หวันได้รับความเสียหาย
TSMC เป็นกิจการผลิต semiconductors จากไต้หวันที่ผมได้ยินมาว่าถือส่วนแบ่งในตลาดโลกถึง 40-50%
และถ้าหากไต้หวันได้รับผลกระทบจากการรุกรานจากจีน! คุณลองจินตนาการดูสิครับว่า “ราคาของ iPhone 14” ที่กำลังจะเปิดตัวในช่วงเดือนกันยาปีนี้และสินค้า IT และกลุ่มอุปกรณ์ Hi-Tech รวมถึงรถยนต์ จะมีทิศทางการปรับตัวไปในทิศทางใด!
5) “ภูมิรัฐศาสตร์” (geopolitics)
สำหรับท่านผู้สนใจในหัวข้อนี้และการประเมินความเสี่ยงในการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3
ผมขอแนะนำให้ติดตามข้อเขียนนี้ของผมครับ!
โฆษณา