5 ส.ค. 2022 เวลา 11:45 • ความคิดเห็น
ตำนานไผ่ทอง ตำนานเลือดข้นไอศครีมจาง
ผมบังเอิญเดินเจอไอศครีมรถเข็นเจ้าดังที่อยู่คู่กับประเทศไทยและธุรกิจแบบขายเร่มากกว่า 70 ปี วันนี้เลยนึกถึงเรื่องดังเมือ 3-4 ปีที่แล้วว่าไอศครีมเจ้านี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ เอาไปทำseries ได้เลย วันนี้เลยเอามาเล่าผสมความคิดผมถึงควาทขัดแย้งในธุรกิจมี่ไม่น่าเกิดแต่ก็เกิดศึกสายเลือดขึ้น คุณแม่ฟ้องลูกชายกันเลย
ปี 61 สงครามทั้งผู้บริโภคและเจ้าของ ใครแท้ใครเทียม เรามาฟังกันครับ
“ไผ่ทองไอสครีม” หรือ “ไผ่ทองไอศครีม”
เพราะ 2 ถ้วยนี้ ทำให้ผมคิดถึงเรื่องนี้ อิ่มท้องและมีเรื่องเล่า
ประวัติอย่างย่อ ต้นกำเนิดไผ่ทอง
จริงๆต้นกำเนิดชื่อที่ถูกต้องคือ “ไผ่ทองไอสครีม” ก่อตั้งโดยคุณกิมเซ้ง และคุณน้ายเฮียง แซ่ซี เมื่อ 68 ปีก่อน เริ่มแรกคุณกิมเซ้งเป็นพนักงานขายไอศกรีมของโรงงานแห่งหนึ่ง
ด้วยความที่เป็นคนขายเฮียเขาเลยจับหรือโดนลูกค้าบ่นก็ไม่รู้ว่ารสชาติขอที่เขาขายมันไม่ได้มาตรฐานเลย เพราะรสชาติแต่ละวันไม่เคยออกมาเหมือนกัน เลยแนะนำเจ้าของตามประสาเซลที่ดีต้องเพื่มยอดขาย แต่โดนหมัดสวนว่าเป็นแค่คนขายอย่ามาวิจารณ์นะ เฮียกิมเซ้งเลยขึ้น ลาออกเลย เดียวไปทำเองเลย แกเลยก็เลยตัดสินใจลาออกมาทำไอศครีมกะทิสดเอง ขายเอง เรียกว่าเอาลูกค้ามาต่อยอดเอง
เริ่มจากกะทิ ตอนนี้หลากหลายรสชาติสไตล์ไทยๆที่ถูกปาก
แบรนด์แรกชื่อหมีบิน และหมีบินแบบยอดทะลุเลย เฮียเลยจัดไปเปิดโรงงานเองเลย สักพักก็ปรับชื่อแบรนด์และโลโก้ให้เป็นรูปไผ่เพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของคนจีนและแปรงร่างจาก “หมีบิน” มาเป็น “ไผ่ทอง”
เส้นทางที่อากงสร้างไว้กว่า 70 ปี ตั้งแต่นับ 1 ในปี 2498
ธุรกิจครอบครัวทำกันทาง่ายๆมีคุณแม่และลูกๆ 8 คน ช่วยกันสร้างแบรนด์ขึ้นมาจากไม่มีใครรู้จัก ขายส่งต่อไปที่ขายปลีกด้วย
ทำไมไอสครีม ละสะกดผิดเฉย!!
สาเหตุที่ใช้คำว่า “ไอสครีม” เป็น ส.เสือ นั้นเพราะอยากสร้างจุดเด่น ให้ชื่อดูน่าสนใจ เอาแบบสมัยนี้เป็น talk of the town or talk of socia ไปเลย
ส เสือ
หจก.ไผ่ทองซีกิมเอ็ง ดำเนินภายใต้แบรนด์ “ไผ่ทองไอสครีม” จดทะเบียนเมื่อปี พ.ศ.2541 ทุนจดทะเบียน 7.5 ล้านบาท และมีชื่อของนางน้ายเฮียง เป็นผู้ถือหุ้นหลัก
ที่มาที่ไปขอปัญหา ศึกสายเลือด ไผ่ทองไอสครีม vs ไผ่ทองไอศครีม จนเกิดวาทะ เลือกข้นไอจิมจาง ลูกทำแข่งแม่เลยที่เดียว
ศ ศาลา
เพื่อให้ยุติธรรม ผมเอาข้อมูลผู้ให้ 2 ฝั่งมาเล่าให้ฟังกันครับ
เทียบผลประกอบการ ส เสือ ชนะทั้งรายได้และกำไร
ฝ่ายแรกทีมไผ่ทองไอสครีม (ส.เสือ) จดทะเบียนเมื่อ วันที่ 1 กย 41 เล่าว่าเมื่อก่อนธุรกิจทำกันทั้งครอบครัว แต่ลูกชายคนที่ 7 ของแม่ ได้ออกจากบ้านไปทำธุรกิจของตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เธอบอกว่าเขาออกไปทำหลายธุรกิจ แล้วไม่ได้ติดต่อกับที่บ้านแต่มาทราบภายหลังว่าไปทำไอศกรีมของตัวเอง ใช้ชื่อ “ไผ่ทองไอศครีม” (เปลี่ยนเป็น ศ.ศาลา) และโลโก้คล้ายกับของที่บ้านจนมีลูกค้ามาร้องเรียนเรื่องคุณภาพของไอศกรีมนั่นทำให้คุณน้ายเฮียงไม่พอใจและทำให้คุณแม่ ฟ้องลูกชายของตัวเองในที่สุด
ฝ่ายที่สองทีมไผ่ทองไอศครีม (ศ.ศาลา) บริษัทที่จดทะเบียนที่หลังเมื่อวันที่ 8 ตค 46 เล่าว่าลูกชายคนที่ 7 เขาถูกบีบให้ออกจากบ้าน และครอบครัวโดยเมืออกมาก็สู้ชีวิตมาอย่างลำบาก ต้องไปขออาศัยอยู่กับญาติและคนรู้จัก และไปรับไอศครีมจากที่บ้านมาขาย ซึ่งก็คือไอสครีมไผ่ทอง จนปี 2549 มีเงินพอเปิดโรงงานเล็กๆ และเติบโตชื่อไอศครีมไผ่ทองแต่สุดท้ายก็มีเรื่องฟ้องร้องกันโดนคุณแม่และพี่น้องพาขึ้นศาลเฉย!!
ลูกชายคนที่ 7 และคุณแม่
ผลคดีความออกมาวันที่ 1 มิย 63 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้อ่านคำพิพากษาในคดีแพ่ง คดีหมายเลขดำที่ ทป 173/2561 คดีหมายเลขแดงที่ ทป 58/2563
ตัดสินยกฟ้องในคดีที่ลูกคนที่7 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องทีทคุณแม่และพี่น้องโดยศาลเห็นว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นาสืบมาไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไผ่ทองไอสครีม รูปต้นไผ่คู่ และเครื่องหมายอื่นใดที่มีสาระสาคัญอยู่ที่รูปหรือคำดังกล่าว และจำเลยทั้งหกมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้ารูปประดิษฐ์เส้นโครงสองเส้นหน้าคาว่าไผ่ทองไอสครีม โดยไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ตามกฎหมายทีมแรกชนะได้สิทธิไปครอง
4
ทีมแม่และพี่น้องได้สิทธิไปครอบครอง
ผมได้มีโอกาสอ่านบทสัมภาษณ์ลูกชายคนที่ 7ครับ ฟังแล้วน่าเห็นใจเพราะครอบครัวนี้มีลูกชาย 2 คน โดยปี 2526 พ่อแบ่งมรดกให้ลูกชาย 2 คนของครอบครัว จากพี่น้องทั้งหมด 8 คน ที่เป็นหญิง 6 คน “พี่ชายคนโตได้เลือกก่อนว่าจะเอาทรัพย์สินใด ตอนนั้นพี่ชายไม่เลือกธุรกิจไอศครีม คนเล็กที่อายุแค่17-18 รับไปแทน
ถ้าตรงนี้มีเอกสารยกมรดกชัดเจนแต่แรก จะไม่มีปัญหาถึงวันนี้ คุณพ่อเองคงไม่คิดว่าธุรกิจนี้จะเติบโตจนครอบครัวต้องฟ้องร้องกัน ลูกชายคนเล็กเลยได้ทำไอศกรีมแบรนด์เดิมชื่อ “ไอศครีมไผ่ทอง” แต่ไม่ได้จดทะเบียน และเกิดประเด็นจึงทำให้มีการกล่าวหาว่าอีกฝ่ายเป็น “ของปลอม” ทั้งๆที่เป็นสูตรไอศกรีมดั้งเดิมที่ถูกผลิตออกมาจากโรงงานเดียวกันตั้งแต่อดีต
โดยคนที่ขยายกิจการคือลูกคนที่ 7 ตอนนั้นรุ่งเรืองจนมาซื้อตึกทำโรงงานที่สะพานขาว และที่นี้ก็เป็นที่อยู่ของ “ไผ่ทองไอศครีม” ในปัจจุบันด้วย โดยตอนแรกต้องใช้ชื่อของพี่สาว 2 คนเป็นเจ้าของเพราะตนยังไม่บรรลถนิติภาวะ แต่ได้ทำธุรกรรมซื้อคืนจึงมีชื่อเป็นเจ้าของโรงงานไผ่ทองไอศครีมตั้งแต่ปี 2530 จนปี 2538 คุณแม่เข้ามาและมีปัญหากัน นำไปสู่การขัดแย้ง และสุดท้ายก็ฟ้องร้องกันในปี 2561
1
มองในภาพใหญ่โดนครอบครัวและคุณแม่ฟ้องมันไม่ดีแต่มันก็จบในรุ่นนี้ ต่อไปส่งต่อ 2 โรงงานนี้ให้ทายาทก็ไม่ต้องมีอะไรค้างคากัน จบปัญหาที่เพราะไม่มีมรดกเขียนจากพ่อว่าให้ใครไว้ชัดเจน
ข้อสรุปคือทั้งสองแบรนด์ เป็นแบรนด์ ‘แท้’ เหมือนกัน เพราะคนทำธุรกิจก็เป็นเลือดตระกูลเดียวกัน และสูตรมีต้นตำรับจากคุณพ่อเหมือนกัน แต่ใครอร่อยกว่าคงต้องให้ผู้ชิมจัดให้ครับ
ใครที่อยากหาชิม หาไม่ยากครับผมเจอทุกวันที่ สุขุมวิทซอย 59 จะมาหลังบ่าย 2 ถ้วยละ 20 บาท หรือขนมปังก็ 20 บาท มันแพงเกินไปไหม!!! 55 ตอนเด็กๆผมกินแค่ ถ้วยละ 5 ขนมปัง 3 บาท
หาไม่ยาก ใครผ่านมาแถวทองหล่อ ซอย 59 เจอพี่เข้างันธรรมดา หลังบ่าย 2 ครับ
โฆษณา