8 ส.ค. 2022 เวลา 00:03 • ความคิดเห็น
Unknown unknown
ผมได้มีโอกาสฟังมืออาชีพชาวฮ่องกงท่านหนึ่งเล่าถึงสมัยที่ถูกสัมภาษณ์งานตอนจะเข้าทำงานใหม่ๆในบริษัทระดับโลก ผู้สัมภาษณ์ในตอนนั้นถามเขาถึงความรู้สี่แบบ แบบที่รู้ว่าตัวเองรู้ (known known) รู้ว่าตัวเองไม่รู้ (known unknown) ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ (unknown unknown) และไม่รู้ว่าตัวเองรู้ (unknown known) ว่ามีความเห็นอย่างไรในแต่ละองค์ความรู้
9
โดยเฉพาะเรื่องที่สามคือ ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ หรือ unknown unknown ว่าเราจะมีทางแก้ไข รับมือหรือทำให้รู้มากขึ้นในเรื่องนี้ได้อย่างไร
ตอนที่มืออาชีพท่านนี้ถูกสัมภาษณ์เมื่อหลายสิบปีก่อน โลกสมัยนั้นก็ยังไม่ได้วุ่นวายเท่านี้ ยิ่งเมื่อเจอเรื่องโควิด ต่อด้วยวิกฤตรัสเซียก็ยิ่งทำให้เราเห็นชัดเจนว่า เรื่องที่เราไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้นั้นมีจริงและอันตรายเป็นอย่างยิ่ง ลองนึกถึงช่วงเวลาก่อนโควิด เราไม่มีความรู้และไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ในเรื่องโควิดและผลกระทบที่ตามมาในด้านต่างๆอย่างมากมาย
จนเมื่อเกิดเรื่องแล้วจึงเริ่มเข้าใจ เหตุการณ์ลักษณะที่เรียกว่า black swan นั้นน่าจะเกิดมาขึ้นเรื่อยๆนับจากนี้เป็นต้นไป เรื่องรัสเซียยูเครนก็เช่นกัน
แต่ที่เป็นคำถามสำคัญในการเลือกคนทำงานของบริษัทระดับโลกซึ่งมองหาคนเก่งมาทำงานด้วย เขาต้องการทักษะอะไรกันแน่ถึงถามคำถามนั้น ทำไมถึงให้ความสำคัญกับเรื่องที่ไม่รู้ว่าเราไม่รู้เป็นหลักในการเลือกคน…
1
Unknown Unknown สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ เป็นคำพูดตอนหนึ่งของ Ronald Rumsfeld รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐที่ใช้อธิบายเรื่องสงครามอิรัก ซึ่งจริงๆแล้วมาจากหนังสือที่ชื่อว่า Known and unknown เป็นการท้าทายสิ่งที่เราคิดว่ารู้แต่เอาเข้าจริงๆปรากฏว่าเราดันไม่รู้แต่เข้าใจผิดว่าเรารู้ ซึ่งเป็นอันตรายกับความคิด การตัดสินใจและการดำเนินชีวิตในยุคสมัยนี้อย่างมาก
2
สิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้ (known known) นั้นเข้าใจไม่ยาก เป็นสิ่งง่ายๆที่เราทำในชีวิตประจำวัน งานง่ายๆที่ร้อยวันพันปีก็เหมือนเดิม สิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้ (known unknown) นั้นคือเราตระหนักดีว่าศาสตร์หรือศิลป์นั้นมีอยู่จริง แต่เราไม่ได้เก่งหรือเชี่ยวชาญ เช่นผมรู้ตัวเองว่าวาดรูปไม่เป็นและไม่รู้วิธีการวาดรูปที่ดีเลย
2
สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเรารู้ (Unknown known) นั้นก็คือการที่เราไม่รู้ตัวแต่เข้าใจถึงจังหวะจะโคน การปฏิบัติได้เมื่อมีเหตุ เช่นกริยามารยาทต่อผู้ใหญ่ การไม่ถามคำถามอะไรที่ดูจะดูถูกดูหมิ่นคนชาติอื่นเป็นต้น
1
แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุด ก็คือสิ่งที่เราไม่รู้ว่าไม่รู้ (unknown unknown) แถมคิดว่าตัวเองดันรู้เข้าไปอีก สิ่งนี้เรียกว่า blindspot หรือจุดบอดที่เรามองไม่เห็น และเป็นอันตรายเหมือนกับเวลาขับรถก็จะมี blindspot ที่บางทีเราก็เผลอเลี้ยวโดยมองไม่เห็นมอเตอร์ไซด์ที่วิ่งมา
ในมุมของผู้นำองค์กร Known known ก็คือการที่ผู้นำรู้จักจุดแข็งของตัวเอง Known unknown ก็คือการรู้จักจุดอ่อนของตัวเอง unknown known ก็คือการที่ยังไม่ได้ปล่อยความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ ถ้าสามารถค้นพบก็จะเพิ่มขีดความสามารถได้ แต่ที่อันตรายที่สุดก็คือ unknown unknown หรือจุดบอด ที่จะทำให้ตัดสินใจผิด หรือไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างเต็มที่
1
ผมได้ฟังรายการ mission to the moon ตอนเช้าของคุณแท้ป รวิศ ซึ่งพูดถึงทักษะสามประการที่คนทำงานยุคนี้จะต้องมี โดยอ้างอิงมาจาก mckinsey report โดยทักษะประการแรกก็คือทักษะด้าน hard skill ที่เราเข้าใจกันอยู่แล้ว เป็นองค์ความรู้ในด้านต่างๆ
เช่น โปรแกรมเมอร์ วิศวกรรม ฯลฯ ส่วนทักษะประการที่สองเป็นเรื่องของ soft skill เป็นด้านความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ การทำงานร่วมกัน การสื่อสาร ฯลฯ
1
แต่ที่น่าสนใจคือทักษะที่สามที่ mckinsey บอกว่าสำคัญที่สุดในยุคสมัยนี้ ก็คือทักษะที่เรียกว่า meta skill เป็นความสามารถในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง สนใจใคร่รู้ในเรื่องต่างๆ มี growth mindset ที่พร้อมที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลวได้อย่างรวดเร็ว
5
ทักษะสองประการแรกทั้ง hard และ soft skill นั้นสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับความรู้สามแบบได้ ก็คือ known known การคิดวิเคราะห์และตัดสินใจนั้นอยู่บนข้อมูลที่มีอยู่แล้ว known unknown คือรู้ว่าตัวเองไม่รู้ก็ใช้วิธีตั้งสมมติฐาน ทดสอบและวิจัยหาข้อมูลได้ และในส่วนของ unknown known การไม่รู้ว่าตัวเองรู้นั้น การสุมหัวระดมสมอง brainstorm ก็เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ดีในความรู้ส่วนนั้น
แต่ในยุคที่ unknown unknown เริ่มมีบทบาทและน่ากลัวขึ้นทุกวันในโลกที่ผันแปรไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนา meta skill ที่เป็นทักษะที่สามจึงจำเป็นและมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนา growth mindset ที่สร้างความกระหายใคร่รู้ ไม่เก่งก็ฝึกได้ ไม่รู้ก็เรียนได้ ล้มเหลวก็ลุกได้ ตระหนักดีว่าอาจจะมีความไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อยู่ในโลกนี้เสมอ จึงจะรับมือกับความรู้แบบ unknown unknown ได้ดีกว่าคนอื่น
3
Think again : the power of knowing what you don’t know หนังสือเล่มล่าสุดของ adam grant นักคิดผู้เฉียบคม (สำนักพิมพ์ welearn แปลเป็นภาษาไทยแล้ว) ได้พูดถึงกระบวนการสร้างปัญญาในยุคที่ผันผวนแบบนี้ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลา คิดใหม่ว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อหรือคิดอยู่นั้นจริงหรือยังคงถูกอยู่หรือไม่ ไม่เชื่ออย่างหัวปักหัวปำถึงแม้กาละและเทศจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม
1
การเสาะแสวงหาการท้าทายทางความคิดในพื้นที่หรือแนวคิดจากคนที่ไม่เหมือนเราโดยการพยายามเสาะหาความรู้สึกที่จะ “ดีใจเมื่อคิดผิด” เพราะจะได้ปรับวิธีคิดตัวเอง นั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เราไม่รู้มากมายเหลือเกิน
2
การที่จะ “ดีใจที่คิดผิด” นั้นไม่ง่ายเลยเพราะคนเราโดยเฉพาะเมื่อเรามีอายุมากขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งสูงๆ การคิดเข้าข้างตัวเองและมีความสุขกับความรู้สึกว่าตัวเองถูกนั้นเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ หนังสือของ adam grant ยกตัวอย่างว่าให้หลีกเลี่ยงการคิดแบบนักเทศน์ (ความรู้ที่นิ่งแล้วและพร่ำสอนคนอื่น) อัยการ (หาทางจับผิดคนอื่น) หรือนักการเมือง (เจรจาหว่านล้อมให้เชื่อ) แต่ให้คิดแบบนักวิทยาศาสตร์ คือการตั้งสมมติฐานแล้วทดสอบจนกว่าจะได้ความจริงซ้ำแล้วซ้ำอีก
และอย่างที่คุณบุญคลี ปลั่งศิริ อดีตซีอีโอมือต้นๆของประเทศ ตอบคำถามผมบนเวทีว่าคนเก่งสมัยนี้วัดกันตรงไหน ในยุคสมัยแห่ง VUCA (volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity) ที่มีเรื่องที่ unknown unknown เราไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ทยอยกันมาเรื่อยๆนั้น…
1
คุณบุญคลีบอกว่า คนเก่งสมัยนี้วัดกันที่ ability to learn ไม่ว่าในอดีตเก่งแค่ไหน มีประสบการณ์อะไรมาก่อน แต่วัดความสามารถกันเดี๋ยวนี้ ในยุคสมัยที่ประสบการณ์เดิมใช้แทบไม่ค่อยได้นั้น ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆคือตัววัดความเก่งของผู้บริหารในยุค post covid และ pre worldwar 3 นี้
1
ซึ่งก็น่าจะเป็นคำตอบว่าทำไมบริษัทระดับโลกถึงถามคำถามเกี่ยวกับความรู้แบบ unknown unknown เพื่อตัดสินใจรับคน
1
คนแบบที่ Ray Dalio เคยกล่าวไว้ว่า…
if you don’t look back at yourself and think, Wow, how stupid I was a year ago, then you must not have learned much in the last year
Ray Dalio
2
มาพยายาม “ดีใจที่คิดผิด” กันนะครับ ….
2
โฆษณา