8 ส.ค. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
ทำไมขายอาหารด้วย!?!ความสำเร็จของ IKEA ที่เป็นมากกว่าร้านเฟอร์นิเจอร์
1
‘รีวิวอาหาร IKEA’
‘รีวิวเจลลีทุกรสจาก IKEA’
นอกจากเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นหัวใจของ IKEA แล้ว อีกสิ่งที่เราได้ยินคนพูดถึงกันบ่อยๆ ก็คงจะเป็น “อาหาร” และ “ขนม” ของ IKEA ที่ไม่ว่ามองไปทาง Facebook, Youtube หรือ Twitter ก็มักจะเห็นคอนเทนต์รีวิวอยู่เป็นประจำ
และเพราะเรารู้กันดีว่าธุรกิจหลักของแบรนด์ดังสัญชาติสวีเดนนี้ คือ เฟอร์นิเจอร์ หลายคนจึงไม่ได้คาดหวังว่าอาหารหรือขนมจะอร่อยอะไรมากมาย แต่เมื่อได้ไปลองเองกลับพบว่าผิดคาด! เพราะรสชาติและคุณภาพของอาหารนั้นไม่เป็นสองรองใคร
จึงเกิดคำถามว่า.. “ขายเฟอร์นิเจอร์ก็ดีอยู่แล้ว ทำไมยังมาขายอาหารด้วย?”
1
ในบทความนี้เราจะพาไปศึกษาธุรกิจของ IKEA กันอีกครั้ง เพื่อหาคำตอบว่าทำไม IKEA ถึงหันมาทำธุรกิจอาหาร ทั้งๆ ที่ธุรกิจขายเฟอร์นิเจอร์ก็ดีอยู่แล้ว เป็นการตลาดหรือความตั้งใจ? และจับปลาสองมือแบบนี้ทำไมถึงไม่ร่วง แต่ยิ่งรุ่งขึ้นไปอีก!?!
IKEA #คู่แข่งที่ร้านอาหารคาดไม่ถึง
เมื่อเราพูดถึง “ร้านอาหารเชน” อันดับต้นๆ ของโลก เราจะนึกถึงอะไร? แน่นอนว่าต้องเป็น KFC, Burger King, McDonald’s และอื่นๆ แต่เมื่ออ่านลิสต์ลงไปเรื่อยๆ เราอาจจะพบชื่อหนึ่งที่แปลกตา
ซึ่งก็คือ “IKEA” นั่นเอง
ฟังดูน่าแปลกใจใช่ไหม? แต่จริงๆ แล้วรายได้จากการขายอาหารของ IKEA นั้นมากพอจน IKEA สามารถถูกจัดว่าเป็นแบรนด์ร้านอาหารได้
1
ในปี 2018 นั้นมีการคาดการณ์กันว่า IKEA มีลูกค้าร้านอาหารกว่า 650 ล้านคนจาก 50 ประเทศทั่วโลก
และในปี 2019 ผลสำรวจพบว่า IKEA ทำเงินจากอาหารได้มหาศาลจนขึ้นเป็นอันดับ 6 ในแบรนด์ร้านอาหารเชนของโลก
2
IKEA จริงจังกับธุรกิจรองนี้อย่างมากไม่แพ้ธุรกิจหลัก ในบางประเทศพวกเขาไม่ได้ทำแค่ร้านอาหารเล็กๆ ในร้านเฟอร์นิเจอร์ แต่เป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ อย่างเช่น ในปี 2018 IKEA สาขาประเทศอินเดียได้สร้างความฮือฮา ด้วยการเปิดร้านอาหารขนาดใหญ่ที่จุคนได้ถึง 1,000 คน
เรียกได้ว่านอกจากจะตอบรับกระแสนิยมของเฟอร์นิเจอร์ IKEA แล้ว ยังชวนให้ชาวอินเดียรัก IKEA มากขึ้นไปอีกด้วยอาหารคุณภาพและราคาไม่แพง ที่มาพร้อมกับพื้นที่มากมายให้เลือกนั่งรับประทาน
เจาะลึกเบื้องหลัง #ทำไมร้านเฟอร์นิเจอร์ถึงขายอาหารด้วย
การเลือกเฟอร์นิเจอร์เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานและต้องตัดสินใจให้ดี ลองคิดดูว่า หากลูกค้าใช้เวลาเลือกนานแถมตัดสินใจไม่ได้ จนพวกเขาหิวและเดินออกจากร้านไปหาอะไรกินก่อน ค่อยกลับมาตัดสินใจซื้อ พวกเขามีแนวโน้มมากแค่ไหนที่จะกลับมาตัดสินใจซื้อจริงๆ?
70%? 50%? หรือน้อยกว่านั้น?
เพื่อป้องกันลูกค้าเหนื่อย หิว จนสุดท้ายก็ไม่ซื้อและกลับบ้านไป IKEA จึงตัดสินใจเปิดร้านอาหารในตัวร้านเฟอร์นิเจอร์ เพราะพวกเขาเชื่อว่า ถ้าลูกค้าอิ่มท้อง มีแนวโน้มว่าลูกค้าจะอยู่ในร้านนานกว่า และมีโอกาสที่จะตัดสินใจซื้อของมากกว่านั่นเอง
2
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกๆ บริษัทไม่ได้ใส่ใจกับการทำเงินจากร้านอาหารนัก เพราะยอดขายเฟอร์นิเจอร์ของพวกเขากำลังไปได้ดี
“อาจจะแปลกนะ แต่พวกเราเกือบจะไม่สังเกตเห็นมันจริงๆ” Michael La Cour กรรมการผู้จัดการฝ่าย IKEA Food ให้สัมภาษณ์กับ Fast Company ในปี 2017 “ในปี 2016 ยอดขายของเราดีมากๆ เรามีรายได้รวมกว่า 36.5 พันล้านเหรียญ ตัวเลขที่มากขนาดนี้ทำให้รายได้จากอาหารเกือบถูกกลืนไป”
แต่ในปี 2017 ที่ IKEA ทำรายได้ไป 42.2 พันล้านเหรียญ พวกเขาค้นพบว่า.. กว่า 30% ของลูกค้าที่มาที่ร้าน มาเพื่อทานอาหารเฉยๆ!
1
และนั่นก็เป็นจุดเปลี่ยนให้ IKEA หันมาจริงจังกับแบรนด์ในฐานะ ‘ร้านอาหาร’ มากขึ้น จนประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้นั่นเอง
2
จิตวิทยากับการตั้งราคา ของ IKEA
การช่วยให้ลูกค้าอิ่มท้องและซื้อสินค้าอาจเป็นจุดประสงค์แรกเริ่มของการขายอาหาร ตั้งแต่ปี 1958 แต่ปัจจุบัน IKEA ใช้การขายอาหารให้เป็นประโยชน์กว่านั้น โดยการทำให้ลูกค้าคิดว่า “สินค้าของ IKEA ราคาถูก” นั่นเอง
บทความจาก Business Insider ระบุว่าคนเราไม่ได้ซื้อเฟอร์นิเจอร์บ่อยๆ เราจึงบอกไม่ได้เหมือนกันว่าโซฟาหรือตู้เสื้อผ้าตรงหน้านั้นแพงหรือถูก แต่กับอาหารที่เราซื้อในชีวิตประจำวัน เราบอกได้แน่นอนว่าฮอตด็อกตรงหน้านั้นถูกหรือแพง
1
และนี่คือสาเหตุที่ IKEA ตั้งราคาอาหารและขนมให้ถูกกว่าร้านรอบๆ เพราะต้องการให้ลูกค้ามองแบบเหมารวมว่า “ร้านนี้ขายของถูก” และตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ (ซึ่งเป็นสินค้าทำรายได้หลัก) ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
3
IKEA ยังมีเคล็ดลับทางการตลาดที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เรื่องการขายอาหารถูกและดีก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกลยุทธ์แสนฉลาดเท่านั้น คนผู้อ่านล่ะ มีความคิดเห็นอย่างไรกับกลยุทธ์นี้ของ IKEA บ้าง และรู้สึกอยากจะนำไปปรับใช้ตามบ้างไหม?
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ทำอย่างไรให้ลูกค้า ‘จ่ายแพงกว่า’ และ ‘พอใจ’ กับสินค้าสุดๆ! ถอดบทเรียนความสำเร็จจาก IKEA : https://bit.ly/3g8cN1b
- ตุ๊กตาที่มีแทบทุกบ้าน! เทคนิค Bulla Bulla การตลาดจาก IKEA ที่ทำให้คนยิ่งเผลอช็อปโดยไม่ได้ตั้งใจ : https://bit.ly/3zH3e2o
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#marketing
โฆษณา