8 ส.ค. 2022 เวลา 13:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อแบงก์ชาติ กลายเป็นนักลงทุนสถาบัน
ที่ซื้อทองคำมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก
จากการที่แบงก์ชาติ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลายเป็นนักลงทุนสถาบันผู้ซื้อทองคำมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกนั้น
1
ก็ด้วยเหตุที่ว่า ธปท. ได้มีการเข้าไปซื้อทองคำเพิ่มเป็นจำนวนมาก จนทุบสถิติการสำรองทองคำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย ด้วยปริมาณราว 244 ตัน ในปี 2564 ที่ผ่านมา
จนเข้าปี 2565 สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ผลักดันให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ซ้ำเติมระดับเงินเฟ้อทั่วโลกให้เกิดวิกฤติมากขึ้นไปอีก
ส่งผลให้ราคาทองคำ ที่เป็นสินทรัพย์ที่สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ดีที่สุด ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงเป็นประเด็นให้คิดต่อว่า ธปท. จะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดจากการสำรองทองคำไว้ในระดับสูงขนาดนี้
2
ซึ่งจากสถานการณ์ความเคลื่อนไหวนี้ ทางสภาทองคำโลก (World Gold Council) มีการวิเคราะห์ว่า เป็นการเกิดขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงภัยคุกคามจากเงินเฟ้อ
และยังถือเป็นการเตรียมรับมือต่อการไหลออกของเงินทุนที่อาจจะเกิดขึ้น จากทิศทางนโยบายทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ด้วย
การที่ ธปท. ซื้อทองคำสำรองที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ ณ สิ้นปี 2564 สัดส่วนของทองคำในเงินสำรองฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อัตรา 5.76% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.76 แสนล้านบาท
ซึ่งการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทองคำสำรองมีนัยต่อสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นของประเทศไทยอีกด้วย
1
และเมื่อราคาทองคำขึ้นเช่นนี้ จะส่งผลให้มูลค่าทองคำสำรองของไทยเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่
ถ้าพิจารณาทองคำสำรองตามมูลค่าสกุลเงินบาทรวมอยู่ที่ 4.76 แสนล้านบาท หรือราคาถัวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,948 ล้านบาทต่อตัน ณ สิ้นปี 2564
ราคาทองคำในตลาดโลกช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (Ref.goldprice.org)
และราคาทองคำในตลาดโลกขณะนั้นได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ราว 2,200 ล้านบาทต่อตันนั้น หากปริมาณทองคำสำรองของไทยยังคงเท่าเดิมจะพบว่า
ทองคำสำรองของไทยจะมีมูลค่ารวมประมาณ 5.37 แสนล้านบาท คิดเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 61,528 ล้านบาท
แต่ด้วยปริมาณทองคำสำรองที่นำมาคำนวณนี้ อ้างอิงจากข้อมูล ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งปัจจุบันปริมาณทองคำที่ ธปท.ถืออยู่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
1
เนื่องจากเงินสำรองฯ นั้นสามารถปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เกือบจะตลอดเวลา เท่าที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้น
ซึ่งล่าสุด ธปท. ได้รายงานตัวเลขทุนสำรองฯ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 พบว่า ระดับทุนสำรองฯ คงเหลือทั้งสิ้น 2.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
1
ซึ่งเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 2.2 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังเงินบาทอ่อนค่าแตะ 36.75 บาทต่อดอลลาร์
1
และเริ่มลดลงต่อเนื่อง หลังจากเงินบาทอ่อนค่าลงตามลำดับ และปรับขึ้นมาอยู่ที่ 2.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน กรกฎาคม 2565
ข้อมูลเงินสำรองระหว่างประเทศจาก ธปท.
ทั้งนี้เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของเงินทุนสำรองที่ลดลงอย่างรวดเร็วนั้น อาจเกิดจากการที่ ธปท.นำทุนสำรองเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท
เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนหรืออ่อนค่าลงแรงจนกระทบต่อผู้ส่งออกและนำเข้าที่ไม่สามารถทำราคาได้
นอกจากนี้ แม้ว่าเงินสำรองฯ สุทธิอาจจะมีมูลค่าเท่าเดิม แต่ก็อาจมีการปรับสัดส่วนของการถือครองสินทรัพย์ในแต่ละชนิด ตามดุลยพินิจการบริหารเงินสำรองฯ ของธปท. ก็ทำให้มูลค่าทองคำในเงินสำรองฯ นั้นสามารถปรับตัวขึ้นลงได้
ดังนั้น คงไม่สามารถสรุปได้ว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากสถานการณ์ราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นนี้หรือไม่
1
และไม่ว่าสถานการณ์โลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร แต่ด้วยมูลค่าเงินสำรองฯ ที่สูงเป็นอันดับที่ 13 ของโลก
ก็คงพอเป็นหลักประกันให้อุ่นใจได้ว่า ไทยเรายังมีศักยภาพพอที่จะรับมือกับความเสี่ยงทางการเงินจากภาวะสงคราม การเมือง หรือเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นได้
Cr. BOT, bangkokbiznews, thansettakij
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา