9 ส.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ผู้บริโภคในยุโรปชะลอการบริโภค ทำให้ยุโรปกลัวว่าจะเผชิญภาวะถดถอย
ยอดค้าปลีกในยูโรโซนลดลง 1.2% ในเดือนมิถุนายนเนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น
สถานการณ์นี้ทำให้ประเทศในสหภาพยุโรปกลัวว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป หรือ Eurostat ประกาศว่าในเขตยูโรในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปริมาณการค้าปลีกลดลง 2.6% สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร
  • เชื้อเพลิงยานยนต์ลดลง 1.1%
  • อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ลดลง 0.4%
หากเทียบปีต่อปี ยอดค้าปลีกในยูโรโซนลดลง 3.7%
สำหรับสหภาพยุโรป ยอดค้าปลีกลดลง 1.3% ในเดือนมิถุนายน และลดลง 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี
การลดลงรายเดือนที่ใหญ่ที่สุดคือในเดนมาร์ก (- 3.8%) เนเธอร์แลนด์ (- 3.4%) และเอสโตเนีย (-2.4%)
ในทางกลับกัน ประเทศต่าง ๆ เช่น ไอร์แลนด์ มอลต้า ฟินแลนด์ และออสเตรีย นั้นมียอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุด โดย ไอร์แลนด์และมอลตาเพิ่มขึ้น 0.5% ฟินแลนด์เพิ่มขึ้น 0.3% และออสเตรียเพิ่มขึ้น 0.2%
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซนที่วัดกิจกรรมทางธุรกิจลดลงเหลือ 49.8 ในเดือนกรกฎาคมปี 2022 จาก 52.1 ในเดือนมิถุนายน
การหดตัวในครั้งนี้เป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020
อย่างไรก็ตามตัวเลขที่ออกมาก็ยังสูงกว่าประมาณการเบื้องต้นเล็กน้อยที่ 49.6
สาเหตุของการหดตัว มาจากผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายท่ามกลางวิกฤตค่าครองชีพ
อิตาลี ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับสองในยูโรโซนรองจากเยอรมนี หดตัวรุนแรงที่สุด
โดยดัชนีอยู่ที่ 48.5 และประสบกับคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมากนับตั้งแต่การระบาดของโควิดในเดือนเมษายน 2020
Chris Williamson หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจของ S&P Global เตือนว่า
การผลิตในยูโรโซนกำลังจมดิ่งสู่การตกต่ำอย่างลึกล้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยของภูมิภาคยุโรป
เยอรมนีเจ็บสุด ในยอดค้าดัชนีปลีก
ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป ประสบกับยอดค้าปลีกที่ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนีในปี 1994
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว
ปริมาณการขายปลีกลดลง 8.8% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนหน้า ในขณะที่อิตาลียังแสดงการลดลง 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี
คุณ Claus Vistesen หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยูโรโซนจาก Pantheon Macroeconomics กล่าวว่า
ผลลัพธ์ที่น่าที่เกิดขึ้นนั้นน่าเศร้ามาก และส่วนใหญ่เป็นเพราะผลกระทบของราคาที่พุ่งสูงขึ้น ต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค
อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษที่ 8.5%
ยอดค้าปลีกที่ลดลงบ่งชี้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีชะลอตัวลงระหว่างไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง รวมถึงข้อมูลที่ระบุว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจอยู่ที่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนของการระบาดโควิด
ในขณะที่คุณ Chris Williamson หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจของ S&P Global Market Intelligence ตั้งข้อสังเกตว่ากิจกรรมการผลิต
1
“กำลังจมดิ่งสู่ความถดถอยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยของภูมิภาค” ในเยอรมนีและที่อื่น ๆ
แม้ว่ายอดค้าปลีกในเยอรมนีจะลดลงอย่างรวดเร็ว
แต่ผู้บริโภคก็ลดการใช้จ่ายประจำลง 0.8% เท่านั้น
และก็เป็นผลกระทบจากเงินเฟ้อที่มีต่อกำลังซื้อ
ยอดค้าปลีกที่ลดลงนี้ อาจส่งผลให้มีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนี จากแนวโน้มครั้งก่อน
นอกจากนี้ ข้อมูลจาก Eurostat ซึ่งเป็นหน่วยงานทางสถิติของคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่าจำนวนผู้ว่างงานในยูโรโซนเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน
ซึ่งอาจจะไปกระทบกับการใช้จ่ายในอนาคตอีกด้วย
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
#APEC2022COMMUNICATIONPARTNER

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา