9 ส.ค. 2022 เวลา 01:01 • ความคิดเห็น
เรื่องราวของสมาธิการประพฤติปฏิบัติธรรม อธิษฐานปฏิบัติธรรมในกิริยาทั้งสี่ กิริยาของพระ ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยจิตที่ภาวนา พุทโธ เดินตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเรื่องราวของการขจัดอารมณ์ ความรู้สึกนึก ที่เราหลงใหล ยึดอารมณ์ โลภ โกรธ หลง ที่เป็นตัวการใหญ่ เป็นศัตรูของจิต ที่จิตต้องตกเป็นทาสของอารมณ์ เป็นทาสของกรรม จิตต้องอยู่กับการเกิดๆตายๆ ไม่มีที่สิ้นสุดการเกิดตาย ไม่จบสิ้น
เมื่อจิตมีกรรมก็มีอารมณ์ อารมณ์นำมาเกิด อารมณ์นั้นเป็นผู้ที่สั่งจิต จิตก็ทำไปตามอารมณ์ เช่น เกิดอารมณ์ไม่พอไอ้คนนี้ แค่เห็นหน้า ไม่รู้จักกันด้วยซ้ำ ก็คว้าไม้ตืกระบาลไอ้คนนี้ แล้วไอ้คนที่ตีเค้ามันเป็นยังไง เรื่องมันก็เนื่องด้วยอารมณ์กรรม นั้นแหละที่เกิดขึ้นมา ทำลายกัน เหตุที่มาทำลายทำร้าย กันเราก็ต้อง สวบสวนด้วยจิตของเราว่า อารมณ์นั้นมาจากไหน เมื่ออารมณ์มันเกิดขึ้น เรารู้จักอารมณ์อะไรที่เกิดขึ้น ที่มีรายระเอียด มีอาการอย่างไรบ้าง จิตของเราสามารถหยุดยั้งอารมณ์ได้มั้ย
เรื่องของการฝึกหัดปฏิบัติธรรม ขจัดความหลง..หลงเรื่องนั้นเรื่องนี้ว่าเป็นของเรา ซึ่งมันก็เนื่องด้วยอารมณ์ อารมณ์หิวกระหาย ปวดตรงนั้นตรงนี้ ก็เป็นอารมณ์ เรื่องไสยศาสตร์ ก็เป็นเรื่องนำพาจิตไปยึดไปถือ ไม่ได้ปล่อยวางอะไร เรื่องราวคาถาอาคมเวทมนต์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าพ่อเจ้าแม่ ผีสางนางไม้ เป็นเรื่องของการยึด..ยึดไปทำอะไรกัน เพื่อความหลงใหล แล้วไปสร้างกรรม อวดเก่ง อวดดี ต่อกรรม มีของดีให้ยึดถือ
แล้วที่ว่าของดีในเรื่องราวไสยศาสตร์ นั้นมีเป็นอย่างไร มันทำให้มีกรรม สร้างแต่กรรมจริงหรือไม่จริง ก็เรียนรู้ให้ชัดเจน จะได้ไม่ไปหลงใหลในเรื่องราวเหล่านี้ เรียนรู้ห่างๆไม่ต้องไปคลุกคลีกับเค้าหลอก เพราะจิตเรามันไม่มีกำลังพอ เข้มแข็งพอ ไปคลุกคลี ก็เป็นทาสเค้าไป
เรื่องราวของคาถาอาคม เวทมนต์ เค้าก็ทำให้เห็นตรงนั้นตรงนี้ ทำให้จิตนั้นหลงใหลด้วยอำนาจของเค้า ตกอยู่ใต้อำนาจของเวทมนต์คาถา ไสยศาสตร์ แต่สิ่งที่ได้มีแต่กรรม มีแต่ความทุกข์ร้อนเป็นรางวัล หาความสุขไม่ได้
เรื่องราวพวกนี้ ถ้าเราไม่รู้จัก หรือ ไปสัมผัส ในเรื่องราวเหล่านี้ จิตอ่อนๆ จิตน้อยๆ ก็หลงใหล ยึดว่าเป็นของดี มีเรื่องราวที่จะอุปโลกน์ หลอกหลอนจิต หลอกหลอนอยู่ในวิญญาณในกายของผู้ที่ชอบเรื่องราวไสยศาสตร์ อเทธิฤทธิ์อิทธิเดช เราจึงเห็นบางคน ห้อยวัตถุเต็มคอ เดินกระเซอะกระเซิง ผมเผ้าไม่ตัด น้ำไม่อาบ เดินเลื่อนลอยไปไม่มีจุดหมาย
แล้วเรื่องราวการประพฤติปฏิบัติธรรม ภาวนา พุทโธ ท่านบอกให้ทำง่ายๆ ทำกายให้นิ่งจิตเฉยๆ ภาวนา สองคำพอ คือ พุทโธ ไม่ต้องไปเอาอะไรอีก ทำไปเพื่อรู้จักคำว่าจิต ที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ให้รู้จักสติของจิตนั้นเป็นอย่างไร จิตที่ไม่มีอารมณ์ นึกคิดเป็นอย่างไร
แล้วก็ไปศึกษาเรื่องราวของอารมณ์เกิดมาจากไหน มาจากไหนบ้าง เรื่องราวของวิญญาณทั้งหก เรื่องราวของธาตุทั้งสี่ที่ต้นอาศัย เรื่องทาน เรื่องบุญ บุญคืออะไร ทำไมถึงเรียกว่าบุญ ทำไมคนตาย จิตที่เร่ร่อนต้องการบุญ บุญจริงๆเป็นลักษณะอย่างไร
เราทำบุญอุทิศส่วนกุศลได้จริงมั้ย ไปถึงผู้ที่เราเจาะจงช่วยได้จริงมั้ย ผู้ที่จะรับบุญ จิตเค้าสามารถรับบุญได้มั้ย เรื่องราวพวกนี้ มันก็เป็นเรื่องราวของการเรียนรู้จัก อาศัยสมาธิพุทโธ เรียนรู้เป็นมโทษศึกษาของจิต ที่อยู่ที่จิตของแต่ละดวง จะกระทำขึ้นมาให้รู้จักโลก รู้จักคำว่าธรรม ด้วยจิตของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เมื่อศึกษาไป มันจะเกิดเรื่องราวที่ว่าเป็นปัจจัตตัง ของจิตที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม เดินตามรอยคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรื่องที่เกิดภาพนิมิตอะไรขึ้นมาในสมาธิ เค้าก็ต้องไปพิจารณาอีกว่าภาพนิมิตนี้ คืออะไร มีที่มาที่ไปของภาพอย่างไร ใครส่งภาพนี้มา ภาพนี้เกิดขึ้น ก็ต้องสำรวจ พิจารณาภาพ ทั่งภาพทั้งเสียงก็ต้องพิจารณา ทั้งนั้น ไม่ไปยึดไปถือ แล้วก็ต้องดูวาระของจิตนั้นนิ่งมั้ย กายนิ่งมั้ยด้วย มันเรื่องราวมากมายก่ายกอง ที่จะชักนำให้จิตนั่นหลงใหล ไปยึดถือ โดยไม่รู้ตัว
เหมือนกับว่าปฏิบัติเพื่อหนีกรรม โลกเค้าก็เข้ามาขัด เข้ามาขวาง ไม่ให้หนีเค้าไปได้ โลกก็คืออารมณ์ความรู้นึกคิด เราอยู่กับเค้ามานาน เค้าก็ไม่ให้เราหนี จึงต้องอุปโลกน์เรื่องนั้นเรื่องนี้หลอกให้หลงไหล
สำคัญผิดว่าข้านี้ยิ่งใหญ่ จะบันดาลยศฐานบรรดาศักดิ์ ลาภยศ ให้ร่ำรวยเงินทอง ให้ไม่ต้องไปรู้จักรรมมันล่ะ เกิดๆตายๆ สนุกสนาน เป็นสัตว์บ้าง เปรต อสุรกายสนุกสนาน ได้เที่ยวเมืองนรก ไปอยู่นานๆ ไม่ต้องรู้คำว่าพระคุณอะไรหรอก ความกตัญญูรู้คุณก็ไม่ต้องมีอะไรในสถานที่นั้น สนุกสนานกับความทุกข์จริงมั้ย ต้องปฏิบัติธรรมด้วยความนอบน้อมถ่อมตน จึงจะรู้จัก
โลกนี้มีแต่หลอกลวง มีแต่ทุกข์ อยากจะรู้จักทุกข์ หนีทุกข์ จะทำตามใครดี เป็นแบบอย่าง เห็นจะมีก็แต่เจ้าชายสิทธัตถะ ที่สำเร็จบรรลุเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งเทพอินทร์พรหม หูทิพย์ตาทิพย์ ก็แซ่ซ้องสรรเสริญ อนุโมทนาทั่วจักรวาล ก็มีหลักฐานปรากฏ บันทึกอยู่ใน ธรรมจักกัปวัตนะสูตร
โฆษณา