11 ส.ค. 2022 เวลา 00:03 • ธุรกิจ
วอร์เรน บัฟเฟต์ แนะนำ SME
2
เป็น SME ไม่ว่าที่ไหนในโลกนั้นไม่เคยง่ายเลย ด้วยความที่เป็นคนตัวเล็ก คู่แข่งก็ใหญ่กว่า มีสายป่านยาวกว่า กู้เงินก็ถูกกว่า แถมมีทุนไปสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มีสตางค์ไปใช้ไปลงทุนเทคโนโลยีได้อีก แข่งปกติก็ลำบากอยู่แล้ว เจอสถานการณ์โควิดเข้าไปอีกก็ยิ่งย่ำแย่เข้าไปใหญ่
7
Cr : reuters.com
ผมเคยอ่านเจอบทความเกี่ยวกับ SME ที่ทำร้านอาหารในสหรัฐ มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญบางคนด้วยซ้ำว่าให้ขายแล้วเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นเถอะ ..คนตัวเล็กในสภาพแบบนี้ทำอะไรสำเร็จก็คงยาก
แต่ SME จำนวนมากที่ยังสู้ ถึก อึด อดทน ก็เพราะมีความฝันบางอย่าง ความรักในงานที่ทำ มีความมุ่งมั่นที่จะสู้ไม่ถอย ก็น่าจะเหมือนกับ SME ที่สหรัฐหลายแห่งที่วันนั้นนั่งฟัง วอร์เรน บัฟเฟต์ ในงาน 10,000 small business summit ที่จัดโดย goldman sachs หลายท่านคงคุ้นเคยกับชื่อชายชราอายุ 91 ปีผู้ที่เป็นนักลงทุนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกแต่ใช้ชีวิตอย่างสมถะอยู่ที่เมือง omaha รัฐ nebraska ในชีวิตอันยาวนานและประสบความสำเร็จของคุณวอร์เรนนั้น เขาได้เห็น รู้จัก วิเคราะห์ธุรกิจมาหลายหมื่นหลายแสนบริษัท
6
วอร์เรนมีความสามารถในการมองเห็นเพชรในตม และ บ่อยครั้งก็พยายามที่จะขอลงทุนในช่วงที่บริษัทที่มีแววนั้นยังไม่ใหญ่มาก เป็นส่วนหนึ่งของเคล็ดลับแห่งความสำเร็จอย่างยาวนานของวอร์เรน บัฟเฟต์
5
มุมมองที่วิเคราะห์ SME มาไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนรายจนทะลุปรุโปร่ง เรื่องราวที่วอร์เรน บัฟเฟต์แนะนำชาว SME ในวันนั้นจึงน่าสนใจมาก เขาเลือกที่จะเล่าเรื่องของคนสองคนที่เขาประทับใจ คนแรกเป็นหญิงชาวยิวจากรัสเซีย อพยพมาอเมริกาในปี 1917 มีป้ายห้อยคอบอกที่อยู่หนึ่งป้าย พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย จนกาชาดต้องพาไปเจอสามีที่มาก่อนตามป้ายนั้น
3
ซักพักเธอก็ย้ายมาที่ Omaha เธอค่อยๆเรียนภาษาอังกฤษจากตอนที่ลูกสาวไปเรียนประถม แล้วลูกกลับมาสอนแม่ว่าเรียนอะไรบ้าง เธอมีลูกสี่คน ค่อยๆสะสมเงินจากการขายเสื้อผ้ามือสอง เลี้ยงลูกและส่งเงินกลับรัสเซียเพื่อพาญาติที่เหลือตามมา
4
หลังจากนั้นยี่สิบปี เธอเก็บเงินได้ 2,500 เหรียญ เอามาเปิดร้านขายเฟอร์นิเจอร์ เธอไม่เคยเข้าโรงเรียน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ค่อยๆทำร้านเฟอร์นิเจอร์ ของในร้านเธอก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่ความอึด ถึก อดทน มีความฝัน ทำงานหนักกว่าคนอื่น แคร์ลูกค้ามากๆ กิจการก็มีมาร์จิ้นที่ต่ำ
2
แต่เธอก็ลุยงานหนักทุกวัน และต่อมาก็ขายกิจการให้บริษัทของวอร์เรน บัฟเฟต์ ปัจจุบันมีมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญ เธอเพิ่งเสียชีวิตเมื่อตอนอายุ 103 ปี ผู้หญิงคนนั้นชื่อ โรส บัมกิ้น
5
อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของผู้ชายชื่อแจ็ค เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยในปี 1941 ไปเป็นทหารเรือช่วงสงครามโลก กลับมาก็มาเป็นเซลล์แมนขายรถมือสอง ซักพักก็ขอหุ้นกับเจ้าของมาทำ leasing รถยนต์ เป็นกิจการเล็กๆมีรถในลีส 7 คัน ธุรกิจไม่ดีเลย บ่อยครั้งที่เขาต้องปล่อยโทรศัพท์ดังนานๆให้ดูเหมือนมีลูกค้าเยอะ
3
ทำไปซักพักเมื่ออายุ 40 ปี มีรถอยู่ 17 คัน เขาตัดสินใจลุยทำธุรกิจให้เช่ารถซึ่งต้องไปสู้กับยักษ์ใหญ่ที่มีรถเป็นแสนๆคันทั่วประเทศอย่าง Hertz หรือ AVIS ไปขอเช่าเคาน์เตอร์สนามบินก็เต็ม ต้องไปเปิดในที่ที่ห่างออกไป รถที่มีก็ไม่ได้ต่างจากคนอื่น แต่เขาตั้งใจและทุ่มเทที่จะสร้างความต่างจากการให้บริการที่เป็นมิตรที่สุดมากกว่าเจ้าไหนๆ เขาตั้งชื่อบริษัทจากเรือรบที่เขาเคยสังกัดว่า Enterprise ตอนที่เขาตายมูลค่าบริษัทนั้นใหญ่กว่าผู้ให้บริการเช่ารถทุกรายรวมกัน
5
วอร์เรน บัฟเฟต์ เคยพยายามขอซื้อบริษัทแต่เขาไม่ขาย วอร์เรนบอกว่าคุณแจ็คไม่ได้คิดค้น AI ไม่ได้ทำอะไรที่มีผลิตภัณฑ์ที่พิเศษอะไรเลยเหมือน โรส บัมกิ้น แต่เขาหมกมุ่นอยู่กับการทำให้ลูกค้าเป็นปลื้ม (delighting customers) และสร้างทีมที่มีทัศนคติที่ดีที่ส่งต่อความพยายามทำให้ลูกค้าปลื้มใจต่อไปเรื่อยๆ เขาเปลี่ยนบริษัทเช่ารถธรรมดาจนกลายเป็นบริษัทเช่ารถที่แสนวิเศษได้
6
วอร์เรน สรุปบทเรียนจากสองเรื่องราวที่เขาประทับใจนี้ไว้ว่า...
3
ประการแรก เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรครั้งแรกแล้วสำเร็จเลย คุณแจ็คทำ leasing ครั้งแรกก็ไม่ไปไหน แต่ก็ได้ค้นพบตัวเองว่าทักษะที่เขามีในการทำให้ลูกค้าประทับใจนั้นไม่ได้เหมาะกับธุรกิจ leasing แต่เหมาะกับธุรกิจให้เช่ารถมากกว่า เทสต์ของชีวิตไม่ใช่ว่าจะคิดไอเดียที่แจ่มที่สุดออกได้ตั้งแต่แรก แต่เทสต์นั้นคือการที่เราจะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ว่าเรามีประโยชน์อะไรต่อลูกค้า
8
ประการที่สอง คนเหล่านี้ ไม่เคยกังวลเรื่องขึ้นหรือลด ดอกเบี้ย หุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นหรือลง ไม่เคยกังวลเรื่องที่ตัวเองเปลี่ยนไม่ได้ แต่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องเดียวที่พวกเขาเปลี่ยนได้ ก็คือ ประสบการณ์ของลูกค้า แน่นอนว่าการศึกษาเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ๆก็สำคัญ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการที่หมกมุ่น จดจ่ออยู่กับการที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าปลื้มใจ ประทับใจ (delight) วอร์เรน บัฟเฟต์บอกว่าเขาเห็นธุรกิจมาเยอะมาก
6
แต่ไม่เคยเห็นเลยว่าถ้าธุรกิจไหนที่ทำให้ลูกค้าประทับใจหรือปลื้มใจอย่างต่อเนื่องได้แล้วจะไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะลูกค้าจะจำที่ที่มีประสบการณ์ที่ดีได้ ราคาแพงหรือถูกกลับจะจำไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะลูกค้าจะกลับมา ในทางกลับกัน ความไม่ใส่ใจ ประสบการณ์ที่เลวร้าย ก็จะไม่มีลูกค้ากลับมาเช่นกัน
7
ประการที่สาม ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าจนประทับใจไม่ลืมนั้น ไม่มีเจ้าของคนไหนทำคนเดียวได้ พนักงานและคนที่เกี่ยวข้องนั้นมีส่วนสำคัญมากๆ แต่เขาจะไม่มีทางส่งประสบการณ์ที่ดีได้เลยถ้าเขารู้สึกว่าถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ไม่มีตัวตนหรือไม่มีความสำคัญ เจ้าของกิจการต้องเรียนรู้ที่จะ “คูณ” ตัวเองผ่านคนอื่น เพิ่มจำนวนคนที่เป็นตัวแทนเราในการดูแลลูกค้าให้ดีให้ได้ ต้องแวดล้อมด้วยคนที่เก่งกว่าเราเสมอ เพราะเราจะได้เรียนรู้และเป็นคนที่ดีขึ้น
8
กฎง่ายๆสามข้อ เรื่อง Delight Customer สร้างทีมที่ดีที่จะส่งต่อประสบการณ์ดีๆให้มากๆ และมีคนที่เก่งกว่าอยู่รอบตัวนั้นจะทำให้เราไปได้ไกล เหมือนกับคุณโรสที่แม้จะอ่านเขียนไม่ได้ มีทุนที่ต่ำ ทำธุรกิจที่มาร์จิ้นน้อย ก็นำพาธุรกิจมาจนประสบความสำเร็จในวันนี้
7
หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับ SME ในบ้านเราในวันที่ไม่ง่ายเลยอย่างวันนี้ช่วงนี้นะครับ…
2
โฆษณา