12 ส.ค. 2022 เวลา 07:38 • สุขภาพ
รู้จัก ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง
33
เชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง (Cerebral malaria) คือ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ falciparum  ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท
6
โรคมาลาเรียหรือไข้จับสั่น เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่างๆในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทยพบมาก แถวชายแดนที่มีป่าเขาหนาแน่นบริเวณรอยต่อไทย-พม่า, ไทย-กัมพูชา, ไทย-ลาว และทางภาคใต้ของประเทศไทย เชื้อมาลาเรียมาจากยุงก้นปล่องกัดคน และส่งผ่านเชื้อปรสิตสกุลพลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งมี 5 ชนิด
ชนิดที่รุนแรงที่สุดคือเชื้อฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum) เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่กระแสเลือดจะไปสู่ตับ จากนั้นเข้าสู่เม็ดเลือดแดง และเมื่อเม็ดเลือดแดงแตกออก เชื้อจำนวนมากก็จะถูกแพร่เข้าสู่ กระแสเลือดไปสู่เม็ดเลือดแดงใหม่ต่อไป
ทั้งนี้เม็ดเลือดแดงติดเชื้อที่อยู่ในกระแสเลือดจะไปเกาะติดแน่นเหมือนกาวที่ผนังเซลล์หลอดเลือด ก่อให้เกิดการอุดตันทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ ส่งผลให้เกิดภาวะ แทรกซ้อนที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้เช่น ภาวะไตวาย ตับวาย ปอดบวมน้ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมาลาเรียขึ้นสมอง เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีเชื้อมาลาเรียขึ้นสมองจะมีอาการไข้ ซึม เพ้อ ไม่รู้สติ อาเจียนรุนแรง และอาจชักได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิต
มาลาเรียชนิดไวแวกซ์  พบได้ร้อยละ 20 – 50 มักไม่ดื้อยา และมีภาวะแทรกซ้อนน้อย เชื้อนี้สามารถหลบ ซ่อนอยู่ในตับได้นานๆ ทำให้มีอาการกำเริบได้บ่อยโดย ที่ไม่ต้องได้รับเชื้อใหม่ (จากการถูกยุงก้นปล่องกัด)
มักมีประวัติว่าอยู่ในเขตป่าเขา หรือกลับจากเขต ที่มีมาลาเรีย  เช่น ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบฯ ชุมพร สุราษฏร์ธานี ยะลา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สกลนคร  ขอนแก่น เลย เพชรบูรณ์ แพร่ น่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอน เป็นต้น หรือเคยได้รับเลือด หรือเคยเป็นไข้มาลาเรียมาก่อน
สาเหตุ มาลาเรีย
เกิดจากเชื้อมาลาเรีย  ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่อง (anopheles) เป็นพาหะนำโรค คือต้องถูก ยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค
อาการ มาลาเรียขึ้นสมอง
ในรายที่เป็นมาลาเรียขึ้นสมอง จะมีอาการเพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ
อาการแทรกซ้อน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะมาก ซึม สับสน ชักกระตุกทั้งตัว หมดสติ
ภาวะหายใจลำบากและมาลาเรียขึ้นสมอง (Cerebral malaria) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดของมาลาเรีย
โดยอาการของไข้มาลาเรียขึ้นสมองแม้หายเป็นปกติแล้วในอดีต หากกลับเข้าไปอยู่ในป่าสภาพแวดล้อมที่มียุงกันปล้องกัดอีก ก็กลับมาเป็นโรคซ้ำได้
ระยะฟักตัว มาลาเรีย
  • 1.
    ชนิดฟาลซิพารัม 9 -14 วัน (เฉลี่ย 12 วัน )
  • 2.
    ชนิดไวแวกซ์  12 -17 วัน (เฉลี่ย 15 วัน) อาจนาน 6 - 12 เดือน
ถ้าเกิดจากการให้เลือด  อาจมีระยะฟักตัวสั้นกว่านี้ ถ้ามีการกินยาป้องกันมาลาเรียก็อาจมีระยะฟักตัวยาวกว่านี้
การป้องกัน มาลาเรีย
  • 1.
    เมื่อต้องเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา ควรป้องกัน ไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด โดยการนอนก้างมุ้ง ทายากันยุง
  • 2.
    ยาที่ใช้ป้องกัน ตามที่เคยแนะนำในอดีตนั้นพบว่าไม่ได้ผลมากนัก ในปัจจุบันจึงไม่แนะนำให้กินยา ป้องกันล่วงหน้า แต่แนะนำว่าถ้าออกจากป่าแล้วมีอาการไข้ หรือสงสัยเป็นมาลาเรีย ให้รีบทำการตรวจรักษา หรือในกรณีที่ต้องเข้าไปอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นที่มีเชื้อมาลาเรีย ดื้อต่อยาหลายชนิดเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์
ซึ่งเป็น ระยะฟักตัวของโรค ก็ควรพกยารักษามาลาเรีย (ได้แก่ ควินิน เมโฟลควีน หรืออาร์ทีซูเนต)ไว้สำรองใช้ในยาม ฉุกเฉินเมื่อไม่สามารถตรวจเลือดได้ โดยใช้ขนาดที่ใช้รักษามาลาเรีย
การรักษา มาเลเรียขึ้นสมอง
ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลด่วนถ้ามีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง เช่น ซึม เพ้อ ชัก หรือหมดสติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซีดมาก ดีซ่าน ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลย หอบ เป็นต้น
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การกระตุ้นของทรานสคริปชัน แฟคเตอร์: นิวเคลียร์ แฟคเตอร์แคปปาบีในโรคมาลาเรีย” ได้อธิบายและหาสาเหตุของความรุนแรง พบว่า Nuclear Factor Kappa B p65 (NF-κB p65) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในเซลล์เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า โปรตีนนี้จะเคลื่อนย้ายไปสู่นิวเคลียส ซึ่งจะไปควบคุมการทำงานของยีนและการสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ รวมทั้งควบคุมการตายของเซลล์ (Apoptosis) ด้วย
การตายของเซลล์และเสื่อมสภาพไปของเซลล์ในร่างกายเป็นเรื่องปกติและจะมีการสร้างเซลล์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ทีมวิจัยได้ศึกษาเซลล์ประสาท, เซลล์ค้ำจุนประสาท, เซลล์บุผนังหลอดเลือด และเซลล์เม็ดเลือดขาวในเนื้อสมองของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง พบการกระตุ้นและการแสดงออกของโปรตีน NF-κB p65 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสมองผู้ป่วยที่ไม่ได้เสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้น สมองและกลุ่มชิ้นเนื้อสมองปกติ
นอกจากนี้ยังพบดัชนีการตาย (Apoptotic index) และการแสดงออกของโปรตีน NF-κB p65 ในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์บุผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับสมองผู้ป่วยที่ไม่ได้เสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมองและกลุ่มชิ้นเนื้อสมองปกติ ซึ่งทำให้เข้าใจว่า NF-κB p65 เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมาลาเรียขึ้นสมอง เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเชื้อมาลาเรีย ร่างกายจะ ทำการเร่งสร้างโปรตีนมากขึ้นกว่าปกติส่งผลให้ร่างกายมีไข้ รวมทั้งเป็นการเร่งให้เซลล์ในร่างกายตายมากขึ้น จนเกิดมีอาการรุนแรงต่างๆตามมา
ผลการศึกษาชิ้นเนื้อสมองของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย ช่วยทำให้เข้าใจกลไกการเกิดโรคมาลาเรียขึ้นสมองเพิ่มมากขึ้น และทำให้ทราบว่าโปรตีน NF-κB p65 เป็นโปรตีนที่ส่งสัญญาณ (Signaling protein) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการตายของเซลล์บุผนังหลอดเลือด และเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในหลอดเลือดในชิ้นเนื้อสมอง
ดังนั้นโปรตีน NF-κB p65 จึงเป็นโปรตีนเป้าหมายในการพัฒนายาเพื่อใช้ ในการรักษาหรือลดความรุนแรงในผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรีย จากผลงานวิจัยครั้งนี้จะมีการนำไปประยุกต์ทางด้านคลินิก เพื่อพัฒนายาที่จะช่วยต่อต้านการสร้างโปรตีน NF-κB p65 โดยใช้ร่วมกับยาต้านมาลาเรีย เพื่อช่วยยับยั้งภาวะการตายของเซลล์ต่างๆในร่างกาย และหวังว่าผู้ป่วยมาลาเรียชนิดรุนแรงจะมีอาการดีขึ้น เป็นการลดอัตราการเสียชีวิตในที่สุด
7
โฆษณา