15 ส.ค. 2022 เวลา 02:00 • สุขภาพ
เมื่อ “ทอม ฮอลแลนด์” เจ้าของบทบาท #สไปเดอร์แมน คนล่าสุด #ประกาศหยุดเล่นโซเชียลมีเดียชั่วคราว เพื่อปกป้อง #สุขภาพจิต ของเขา ชวนไขข้อสงสัย.. ทำไมโซเชียลจึงทำให้คนเราจิตตก?
1
ทำไมโซเชียลจึงทำให้คนเราจิตตก?
สื่อนอกอย่าง moviesrain รายงานว่า ทอม ฮอลแลนด์ ได้ปรากฏตัวบนอินสตาแกรมส่วนตัวครั้งแรก หลังจากห่างหายไปนาน และเขามาเพื่อบอกว่าสาเหตุที่กำลังหยุดเล่นโซเชียลมีเดียไปนั้น ก็เพื่อปกป้องสุขภาพจิตของเขาเอง หลังจากพบว่ามันส่งผลเสียมากกว่าจะเป็นผลดี โดยเจ้าตัวระบุข้อความผ่านโพสต์ส่วนตัวไว้ว่า
“สวัสดีทุกคน ผมพยายามทำคลิปนี้มาชั่วโมงหนึ่งแล้ว สำหรับคนที่ใช้เวลากับมันมา 13 หรือ 14 ปีอย่างผม ไม่ว่าผมจะเคยแสดงมานานแค่ไหน แต่ผมกลับพูดในสิ่งที่ผมต้องการพูดโดยไม่พูดคำว่า ‘เอิ่มมม’ และ ‘อ่าาา’ ได้เลย ผมจะพยายามอีกครั้ง ผมเลยหยุดเล่นโซเชียลมีเดียเพื่อสุขภาพจิตของผม
3
เพราะผมพบว่าอินสตาแกรมและทวิตเตอร์นั้นมันกระตุ้นจิตใจและร่างกายมากไป ล้นหลามมากไป ผมรู้สึกตัวเองหมดคุณค่าและรู้สึกดาวน์ตอนผมอ่านเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับผมบนโลกออนไลน์ และสุดท้ายมันก็ส่งผลเสียกับสภาพจิตใจของผมอย่างมาก ผมเลยตัดสินใจถอยออกมาและลบแอปเหล่านั้นทิ้งไป”
8
แต่ประเด็นของการกลับมาเล่นโซเชียลอีกครั้ง (ในช่วงสั้นๆ) ก็คือเพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรการกุศล ชื่อว่า “stem4” ที่เขาดูแลอยู่ โดยเป็นองค์กรเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตจากแพทย์เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่กำลังเป็นทุกข์ด้านสุขภาพจิต
2
อย่างไรก็ตาม จากประเด็นดังกล่าวนำไปสู่การตั้งคำถามว่า ทำไม? การท่องอยู่ในโลกโซเชียลที่มากเกินไปจึงส่งกระทบต่อสุขภาพจิตและทำให้จิต เหตุผลต่อไปนี้อาจตอบคำถามดังกล่าวได้
1
📌 เล่นโซเชียลเกินพอดี เสี่ยงภาวะซึมเศร้า
มีรายงานจาก American Academy of Pediatrics ระบุถึงผลกระทบด้านลบของโซเชียลมีเดียในเด็กเล็กและวัยรุ่น เอาไว้ว่า การเล่นโซเชียลมีเดีย (Facebook) บ่อยๆ และต่อเนื่องทุกวันจนมีลักษณะเสพติด อาจทำให้เกิด “ภาวะซึมเศร้าใน Facebook” และอาจเกิดขึ้นได้กับวัยผู้ใหญ่ด้วย โดยอาการของการเสพติดซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิต ได้แก่ การละเลยชีวิตส่วนตัว, ความหมกมุ่นทางจิต, ไม่เข้าสังคม, อารมณ์แปรปรวน, ความอดทนต่ำ ฯลฯ และเมื่อหยุดเล่นโซเชียลก็จะมีอาการหงุดหงิด หรือวิตกกังวล เป็นต้น
1
📌 เล่นโซเชียลมีเดียมากเกินไปทำให้เศร้ามากขึ้น มีความสุขน้อยลง
มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่า “ยิ่งเราใช้โซเชียลมีเดียมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุขน้อยลงเท่านั้น” โดยพบว่าการเล่นโซเชียลมีเดียเชื่อมโยงกับความสุขเพียงชั่วขณะ และทำให้ความพึงพอใจในชีวิตลดลง เนื่องจากการท่องอยู่บนโลกโซเชียลจะทำให้คุณตัดขาดจากโลกชีวิตจริง ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นบ่อนทำลายสุขภาพจิตใจ
📌 การเปรียบเทียบชีวิตของเรากับผู้อื่นทำให้สุขภาพจิตไม่ดี
2
เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้โซเชียลมีเดีย เป็นตัวการให้ผู้คนรู้สึกโดดเดี่ยวในสังคมมากขึ้น นั่นก็เพราะว่า เราตกหลุมพรางของการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น เมื่อเราเลื่อนดูฟีดของคนอื่นไปเรื่อยๆ และเริ่มวัดคุณค่าของตนเองกับผู้อื่นในโลกโซเชียล มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่า คนเรามักจะตัดสินว่าตนเองแย่กว่าเพื่อนๆ ที่อยู่ในโลกโซเชียลเสมอ (รู้สึกว่าคนอื่นดีกว่าคุณ) จึงทำให้คนรู้สึกแย่ และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
3
📌 เสพติดโซเชียลมีเดียเกินพอดี นำไปสู่อารมณ์ขี้อิจฉาและซึมเศร้า
คนส่วนใหญ่ยอมรับว่าการได้เห็นไลฟ์สไตล์ชีวิตดีๆ ในวันหยุดพักผ่อนของคนอื่นนั้นน่าอิจฉา มีการศึกษาพบว่าการใช้โซเชียลมีเดียบ่อยๆ ทำให้เกิดความรู้สึกอิจฉาริษยาขึ้นมาได้และเป็นความรู้สึกในด้านลบ และยิ่งทำให้ทุกคนในโลกออนไลน์ต้องการทำให้ชีวิตของตัวเองดูดีขึ้นเพื่อแข่งขันกับคนอื่นๆ และมันก็จะต่อเนื่องเป็นวงจรที่ไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้บ่อยๆ ก็เชื่อมโยงไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ด้วย
1
อ่านมาถึงตรงนี้ คงจะเห็นแล้วว่าการเสพติดโซเชียลมีเดียที่มากเกินพอดี สามารถส่งผลกระทบด้านลบกับสุขภาพจิตของผู้คนได้จริง แล้วแบบนี้จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง? เรื่องนี้มีคำตอบจาก sane.org ซึ่งเป็นองค์กรสุขภาพจิตชั้นนำในออสเตรเลีย มีคำแนะนำดังนี้
6
1. จำกัดการใช้งานโซเชียลมีเดียของคุณ
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันไม่ให้สื่อสังคมออนไลน์เข้ามารบกวนชีวิตประจำวันของคุณ ดังนั้น ทุกคนจึงควรแบ่งเวลาระหว่างวันในบางช่วงเพื่องดเล่นโซเชียลมีเดีย และออกไปใช้ชีวิต พบปะ และทำกิจกรรมกับครอบครัว เพื่อนฝูง ในโลกความเป็นจริง สิ่งนี้จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อกับสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และปรับปรุงให้สุขภาพจิตดีขึ้น
1
2. ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเชื่อมต่อทางไกลเท่านั้น
โซเชียลมีเดียช่วยให้คุณเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลา นี่เป็นข้อดีอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอยู่ห่างไกลจากคนที่คุณห่วงใย อย่างไรก็ตาม การวิจัยพบว่าผู้ที่เรียกดูหรือเลื่อนดูโซเชียลมีเดียตลอดเวลา มักมีอาการซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่ค่อยเล่นโซเชียลมีเดีย ดังนั้น หากคุณกำลังใช้โซเชียลมีเดียเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกเชื่อมโยงกับคนในออนไลน์ให้ใช้งานแค่พอประมาณเท่านั้น และแบ่งเวลาพักจากหน้าจอบ้าง
1
3. เลิกติดตามบัญชีที่ทำให้คุณรู้สึกแย่
จดบันทึกโพสต์หรือบัญชีออนไลน์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์เชิงลบ เช่น ความกลัว ความรู้สึกผิด หรือความรู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอ โดยให้กดปุ่ม “ซ่อน” หรือ “เลิกติดตาม” บัญชีเหล่านี้ รวมถึงสามารถกดรายงานบัญชีหรือโฆษณาที่คุณคิดว่าอาจไม่ปลอดภัยสำหรับคุณหรือผู้อื่นด้วยก็ยิ่งดี
2
กราฟิก : จิรภิญญาน์ พิษถา
โฆษณา