15 ส.ค. 2022 เวลา 11:45 • ธุรกิจ
รวมตัวครั้งแรก และไม่ใช่ครั้งเดียว มาม่าและเพื่อน
ทำคนเดียวไม่สำเร็จก็ต้องช่วยกัน รวมตัวเพื่ออุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ทีม บิ้ก 5 vs กระทรวงพานิชย์
สหพัฒน์ เจ้าของแบรนด์มาม่าและกลุ่มผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่รวมตัวกัน 5 บริษัท ประกอบด้วย มาม่า ไวไว ยำยำ นิชชิน และซื่อสัตย์ เพื่อคุยกับกระทรวงพาณิชย์ต่อรองขอขึ้นราคาบะหมี่สำเร็จรูปจาก 6 บาทเป็น 8 บาทหรือ 2 บาทต่อห่อ
ฟังแล้วรู้สึกคุ้นคุ้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆไม่โดยเฉพาะการที่ประเทศมาเลเซียสั่งระงับการส่งออกไก่สดเพราะผู้ผลิตรวมตัวกันต่อรองเพื่อขอขึ้นราคาไก่โดยในขณะนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องพยุงราคาไก่ไว้โดยแทรกแซงราคาจ่ายเงินอุดหนุนตากก็ไม่สามารถยืนระยะได้ประกอบกับค่าน้ำมันแพงรัฐบาลมาเลเซียจึงประกาศระงับการส่งออกไก่ทั้งหมดเป็นผลให้ผู้ผลิตไก่จะต้องผลิตภายในประเทศและค้าขายในประเทศเท่านั้น
กลไกทางการตลาดไม่ว่าจะเป็นดีมานด์กับซัพพลายถ้าใช้ให้ถูกต้องก็จะเอื้อประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคแต่การรวมกลุ่มต่อรองและสร้างเงินไขเงื่อนไขก็ทำให้ไม่ว่าจะเป็นฝั่งดีมานด์หรือซัพพลายเจ็บตัว
มองย้อนไป ในต้นเดือน กค 65 ในสถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นสูง ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสินค้าหลักซอง 6 บาท ซึ่งไม่ได้ปรับราคามาตั้งแต่ปี 2551 หรือกว่า 14 ปี ยื่นขอขึ้นราคาขายใหม่ เป็นซองละ 7 บาท และยืนเรื่องถึงกระทรวงพานิชย์ แต่ไม่ได้อนุมัติ
ต่อมาวันที่ 4 สิงหาคม ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าก็ขอขึ้นราคาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ขอขึ้นซองละ 2 บาท จาก 6 บาทเป็น 8 บาทนั้น ปรับจากครั้งแรก 1 เป็น 2 บาทจากเวลาแค่ 1 เดือน
กระทรวงพาณิชย์ได้พยายามตรึงราคาและดูว่าต้นทุนปรับสูงขึ้นเท่าไหร่ โดยได้สั่งการให้กรมการค้าภายในดูรายละเอียดเชิงลึกของต้นทุนที่แท้จริง
ผมในฐานะผู้บริโภค บอกว่าการปรับขึ้น 2 บาทต่อห่อจาก 6 บาทเป็น 8 บาทค่อนข้างสูงไป นอกเสียจากว่ามีการแจกแจงราคาสาเหตุว่าต้นทุนการผลิตใดที่สูงมากขึ้นจนไม่สามารถขึ้นราคาได้และต้นทุนนั้นเป็นต้นทุนคงที่ที่หรือผันแปรตามสถานการณ์ปัจจุบัน
จากแถลงข่าว 5 ทีมชี้แจ้งว่าต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี เช่น แป้งสาลี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก ราคา  500 บาทต่อถุง จากเดิม 250 บาทต่อถุง น้ำมันปาล์ม จาก 18 บาทต่อกิโลกรัม  เป็น 50 บาทต่อกิโลกรัม หรือสูงเกือบ 3 เท่าตัว นอกจากนี้ ยังมีวัตถุดิบอื่น ทั้งสินค้าเกษตร ที่นำมาทำเป็นเครื่องปรุงรส และแพ็คเกจจิ้งสูงขึ้น 20-30%
มาม่าพยายามสร้างรายได้ต่อเนื่องกับแบรด์พรีเมียร์ที่ตั้งราคาได้ตามต้องการ
ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ย้ำมาตลอดว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นสินค้าควบคุม และเป็นสินค้าจำเป็น จึงขอความร่วมมือให้ช่วยตรึงราคาไปก่อน ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถูกตรึงราคามาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว
สำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 18,000 ล้านบาท ครึ่งปีแรกเติบโตราว 4-5% คนไทยบริโภคบะหมี่ฯเฉลี่ย 52 ซองต่อคนต่อปี  ดังนั้นหากราคาปรับขึ้น 2 บาทต่อซอง จะมีผลให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อบะหมี่ เพิ่มอีก 104 ต่อคนต่อปี
เราคงต้องมาดูบทสรุปว่าจะจบที่กี่บาท เพราะมาม่าเป็นสัญลักษณ์ “สินค้าการเมือง” ชั้นดีที่ โผล่มาขอขึ้นราคาในจังหวะหาเสียงเตรียมเลือกตั้งใหญ่! 500 หรือ 100 อาจจะไม่สำคัญเท่า 6 หรือ 7 หรือ 8 บาท
เปิดตัว 30 ผู้สมัครสดๆร้อนๆ ก็เจอสถานการณ์ท้าทายความสามารถในการต่อรอง รมต กระทรวงพานิชย์
ราคาที่ปรับขึ้น 2 บาทต่อซอง มีผลอย่างไรต่อกำลังซื้อผู้บริโภค คำตอบคือ คนไทยบริโภคบะหมี่ฯเฉลี่ย 52 ซองต่อคนต่อปี นั่นหมายความว่า หากขึ้นราคาดังกล่าว จะมีผลต่อภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 104 บาทต่อคนต่อปี แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครกินบะหมี่ฯทุกวัน แต่มันก็กระทบไปถึงก๋วยเตี๋ยว ยำต่างๆ ที่ถ้าสั่งเส้นมาม่า กรรมคงมาลงผู้บริโภค ดีหน่อยก็เอามาม่าเพิ่ม 2-5 บาท ไม่ไปขึ้นหมดทุกเส้น ก็จะกระทบกว้างกว่าตัวเลข 104 บาทต่อปี ไหนจะ
ไม่ใช้กระทบแค่ราคามาม่าต่อซอง แต่เป็นหางว่าว
ที่น่าสนใจคือการเอาผู้บริโภคเป็นตัวประกัน ไม่งั้นจะส่งออกเพราะราคาสูงกว่า ก็แน่นอนสิ อย่างที่ผมเคยพูดในบทความเก่า จีน แบนไต้หวัน ผู้ผลิตไทยกระโดดเข้าไปได้เต็มๆ ที่นี้ พอไทยได้ส่วนแบ่งจากที่เคยได้น้อยมาเยอะ ก็คงเอามาขู่ผู้บริชาวไทยกันระยะยาวละครับ
ข้อความเด็ด ขายส่งออกไม่มีใครคุ้มราคา!!
บทความเก่าถึงสินค้าที่โดนแบนในจีน
โฆษณา