20 ส.ค. 2022 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
สร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างไร ให้พนักงานทำงานระยะยาว
3
การสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานทำงานกับองค์กรต่อไปในระยะยาวนั้น ควรมีการร่วมมือกับหลาย ๆ ฝ่าย
13
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล หัวหน้าแผนก หัวหน้าทีม การจูงใจพนักงานแนวหน้าให้มีความอยากทำงานกับองค์กรต่อไปนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง เรามีคำตอบ รวมถึงเหตุผลการลาออกที่มักพบเจอได้บ่อย ๆ มีอะไรบ้าง ควรแก้ไขอย่างไรดี
วิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานระดับแนวหน้าเพื่อให้พวกเขาอยู่กับองค์กรไปนานๆ
องค์กรควรให้ความสำคัญกับวิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานระดับแนวหน้าเพื่อให้พวกเขาอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ ป้องกันการลาออกของพนักงานในอนาคต
และเหตุผลการลาออกของพนักงานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้มีอะไรบ้าง เพื่อให้องค์กรได้มีแนวทางในการจัดการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
  • 3 เหตุผลการลาออกของพนักงานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว
1. ภาระงานที่หนักเกินไปหรือเกินขอบเขต
ภาระงานที่หนักเกินขอบเขตหน้าที่ของตนนั้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้พนักงานที่มีประสิทธิภาพอยากลาออกจากงานมากที่สุด รวมถึงการทำงานที่ไม่มีความถนัด จนรบกวนและส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
2. ค่าตอบแทนไม่สมเหตุสมผล
เงินเดือนหรือค่าตอบแทนในการทำงานนั้นเป็นอีกส่วนสำคัญที่เป็นอย่างมาก และบริษัทไม่สามารถทำตามคำเรียกร้องในการเพิ่มค่าตอบแทนตามที่พนักงานต้องการได้ จนนำไปสู่เหตุผลการลาออกได้นั่นเอง
1
3. รูปแบบของงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ด้วยยุคสมัยที่มีตัวเลือกในการทำงานมากขึ้น ทำให้พนักงานที่เก่งและมีประสิทธิภาพมีโอกาสในการทำงานและเลือกงานได้มากขึ้น เช่นการทำงานจากที่ไหนก็ได้ การไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ในองค์กรที่ล้าหลังและไม่ตอบโจทย์ก็ทำให้กลายเป็นเหตุผลการลาออกของเหล่าพนักงานชั้นนำได้
สร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างไรให้พนักงานอยู่สร้างอนาคตกับองค์กรได้ยาวนาน
1. สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ถือเป็นอีกแรงจูงใจในการทำงาน องค์กรควรให้ความสำคัญในส่วนนี้ด้วย เพราะพนักงานถือเป็นส่วนที่ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรพัฒนาสร้างผลงานต่อไปได้
1
การมีสวัสดิการที่ดีจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าได้รางวัลตอบแทนจากการทำงานด้วย เช่น สวัสดิการในการท่องเที่ยว สวัสดิการทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดเช่น ออกกำลังกาย หรือสวัสดิการเกี่ยวกับการเรียนรู้เพิ่มเติม เช่น ทักษะการใช้ภาษา การใช้โปรแกรมต่าง ๆ
2. จัดอบรมและสัมมนา
มีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงานของพนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานในองค์กรมีทักษะที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองได้มีการพัฒนา มีความก้าวหน้าในสายอาชีพของตนได้ เช่นมีการจัดอบรมทั้งภายนอกและภายในองค์กร หรือการลองหมุนเวียนตำแหน่งงาน
3. การสื่อสารในเชิงบวก
การใช้วิธีการสื่อสารในเชิงบวก สามารถช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีให้กับพนักงานในองค์กรได้ ควรหลีกเลี่ยงคำพูดประชดประชัน การนินทาว่าร้าย ควรพูดด้วยความจริงใจ สุภาพ ไม่พูดโกหก
ควรหลีกเลี่ยงการพูดที่แสดงอำนาจเกิดความจำเป็น ดุด่าว่ากล่าวหรือตำหนิพนักงานต่อหน้าคนจำนวนมาก และควรพูดเชิงสร้างสรรค์ พูดให้กำลังใจ การพูดชมเชยเมื่อทำงานได้ดี
4. สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดี ก็เป็นส่วนช่วยให้พนักงานในองค์กรรู้สึกได้ผ่อนคลาย สบายใจ จากการทำงานที่ตึงเครียดได้อย่างดี
เช่น การแบ่งพื้นที่การทำงานไว้อย่างเป็นสัดส่วน มีห้องประชุม มีห้องสำหรับคุยโทรศัพท์ หรือมีมุมเงียบๆ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้สมาธิ รวมถึงการตกแต่งโดยใช้สีเขียนของต้นไม้มาทำให้บรรยากาศดูสดชื่น ผ่อนคลายมากขึ้น
5. ให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวและเวลาพักผ่อนของพนักงาน
บางครั้งอาจมีการยืดหยุ่นเรื่องเวลาเข้าหรืองานได้ หรือการเพิ่มเวลาพักเพื่อให้พนักงานได้มีเวลาส่วนตัวมากขึ้น รวมถึงหากเป็นวันลาหรือวันหยุดแล้ว ไม่ทักไปทวงถามงานกับพนักงานในเวลาส่วนตัว รวมถึงมีการเพิ่มวันหยุดประจำปีเข้าไป ตามความเหมาะสมด้วย
6. ให้พนักงานรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในองค์กร
ควรทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมและรู้สึกว่าตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแท้จริง เพราะพนักงานทุกคน ทุกตำแหน่งในองค์กรนั้นมีความสำคัญกับองค์กรอย่างมาก จนถึงรู้สึกว่าได้เป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน จึงเกิดเป็นความรักและทุ่มเทในการทำงานได้
รวมถึงมีความภูมิใจร่วมกันเมื่อได้สร้างผลงานออกแล้วประสบความสำเร็จด้วย ทำให้เป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะทำให้พนักงานนั้นอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ ด้วย
7. ให้เกียรติและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
ควรให้เกียรติและให้ความเคารพกับทุกคนในองค์กรเท่ากัน แสดงความจริงใจ เปิดใจ ให้คำปรึกษาได้ ควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน ส่งเสริมกำลังใจกัน เพื่อให้การทำงานออกมาราบรื่น พนักงานจะรู้สึกสบายใจที่ได้ทำงานภายใต้องค์กรที่ให้เกียรติและให้ความเคารพในตัวพนักงานเท่ากัน
สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้พนักงานชั้นนำให้ทำงานกับองค์กรต่อไป
การได้รับรู้ถึงเหตุผลการลาออกของพนักงานชั้นนำส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นภาระงานที่หนักเกินไป ค่าตอบแทนไม่สมเหตุสมผล รูปแบบการเปลี่ยนแปลงงานตามยุคสมัย จะทำให้องค์กรและฝ่าย HR สามารถร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
พร้อมทั้งวิเคราะห์ หาวิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานให้กับองค์กรต่อไปในระยะยาว ทำให้องค์กรก็ไม่ต้องสูญเสียบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำงานไปโดยเสียเปล่า และส่งเสริมการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน
โฆษณา