18 ส.ค. 2022 เวลา 05:06 • สิ่งแวดล้อม
รู้หรือไม....17 สิงหาคม เป็นวันพะยูนแห่งชาติ พะยูนน้อยมาเรียม ที่ทำให้เราต้องตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม และโทษของพลาสติกมากขึ้น เพราะน้องเสียชีวิตเพราะกินถุงพลาสติกเข้า
สำหรับทุกวันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ” และถ้าหากใครยังจำได้ เมื่อปี 2562 นั้น เป็นวันที่เราต้องสูญเสีย “น้องมาเรียม” พะยูนน้อยขวัญใจคนไทยทั้งประเทศแห่งเกาะลิบง จ.ตรัง จากการอุดตันของลำไส้เล็กจาก “ขยะพลาสติก” การจากไปของเจ้าพะยูนน้อยในครั้งนั้น ได้ให้บทเรียนสำคัญให้กับเราเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และมีแผนในการอนุรักษ์คุ้มครองพะยูนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
สำหรับ “น้องมาเรียม” เป็นลูกพะยูนน้อย เพศเมีย ที่พลัดหลังกับแม่และเข้ามาเกยตื้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 บริเวณอ่าวทึง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อายุประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี น้องมาเรียมผอมกว่าพะยูนในวัยเดียวกันเพราะขาดอาหาร และนมแม่ แต่สภาพร่างกายสมบูรณ์ ไม่พบบาดแผล ว่ายน้ำได้ปกติ น้องมาเรียมมักจะดูดครีบข้างเวลาหิวนม
และยังมีรอยแผลเป็นสีชมพูที่บริเวณแก้มข้างซ้าย ที่ได้มาจากการเกยตื้นเป็นประจำ พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลน้องมาเรียมอย่างดี เพื่อดูแลลูกพะยูนน้อย “มาเรียม” ให้มีชีวิตรอดตามธรรมชาติอย่างดีที่สุด
สำหรับ “น้องมาเรียม” เป็นลูกพะยูนน้อย เพศเมีย ที่พลัดหลังกับแม่และเข้ามาเกยตื้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 บริเวณอ่าวทึง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อายุประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี น้องมาเรียมผอมกว่าพะยูนในวัยเดียวกันเพราะขาดอาหาร และนมแม่ แต่สภาพร่างกายสมบูรณ์ ไม่พบบาดแผล ว่ายน้ำได้ปกติ น้องมาเรียมมักจะดูดครีบข้างเวลาหิวนม และยังมีรอยแผลเป็นสีชมพูที่บริเวณแก้มข้างซ้าย
ที่ได้มาจากการเกยตื้นเป็นประจำ พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลน้องมาเรียมอย่างดี เพื่อดูแลลูกพะยูนน้อย “มาเรียม” ให้มีชีวิตรอดตามธรรมชาติอย่างดีที่สุด แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อช่วงบ่ายที่เจ้าหน้าที่เวรบ่ายพามาเรียมออกกินหญ้าทะเลตามปกติ และมาเรียมผละออกไปกินหญ้าทะเลด้วยตัวเอง มาเรียมเจอพะยูนโตเต็มวัยไล่คุกคาม จนหนีเตลิด จากนั้นมาเรียมก็มีภาวะเครียดจัด
วันที่ 8 สิงหาคม 2562 มาเรียมผอมลงอย่างเห็นได้ชัดในเวลาแค่ชั่วข้ามคืน มาเรียมไม่ยอมกินอะไร จนมีอาการอ่อนเพลีย ไม่ร่าเริง ไม่ค่อยว่ายน้ำ อัตราการเต้นของหัวใจก็ช้ากว่าในช่วงร่างกายปกติ มาเรียมอาการเริ่มดีขึ้น จนกระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม 2562 มาเรียมเริ่มไม่ว่ายน้ำ ดำน้ำนานขึ้น ปล่อยตัวไปตามกระแสคลื่น และมีอาการซึม เจ้าหน้าที่เลยตัดสินใจย้ายมาเรียมมายังบ่อชั่วคราว
แต่สุดท้ายเจ้ามาเรียมก็สู้ต่อไปไม่ไหว จากไปในวันที่ 17 สิงหาคม 2562 เวลา 0.09 น. มาเรียมช็อก สัญญาณชีพหาย ต้องนำขึ้นมาปั๊มหัวใจจนกะพริบตา แต่ครู่เดียวก็ทรุดลงอีก และไม่สามารถยื้อลมหายใจไว้ได้ ในร่างกายของเจ้ามาเรียมพบเศษพลาสติก 8 ชิ้น อุดตันลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เกิดการสะสมของแก๊สในทางเดินอาหาร ทำให้ลำไส้บวมมาก ปวดท้อง มีผิวหนังตายที่ลำไส้ด้านใน ร่างกายขาดน้ำ ปอดเป็นหนอง ติดเชื้อในกระแสเลือด มีรอยช้ำจากการเกยตื้น ก่อให้เกิดความเจ็บปวดจนช็อก
ดังนั้นสำหรับการจากไปของเจ้าพะยูนน้อยให้บทเรียนสำคัญให้กับเราเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการจัดทำแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ เน้นเป้าหมายเพิ่มประชากรพะยูน การดูแลพื้นที่อาศัยของพะยูน และกำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ” ตามมติคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562
“พะยูน” ได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไซเตส (CITES) พะยูนได้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ลำดับที่ 86 ของบัญชีไซเตส ซึ่งเป็นสัตว์ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้น เพื่อการศึกษาวิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยแหล่งที่พบพะยูนมากที่สุดคือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นบ้านหลังใหญ่ของพะยูนในประเทศไทย
ซึ่งทางด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้ว่า คน คงจำได้ถึงการสูญเสียน้องมาเรียม ที่เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาขยะทะเล ที่นำไปสู่การรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว #EverydaySayNoToPlasticBags จนทำให้ไทย สามารถลดอันดับจากประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก อันดับที่ 6 ลงมาอยู่ที่อันดับ 10 สำหรับแผนยุทธศาสตร์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดระยะเวลา 3 ปีมานี้ เรามีความคืบหน้าในการฟื้นฟูอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรทางทะเลอย่างมีนัยสำคัญจำนวนสัตว์ทะเลหายากมีจำนวนเพิ่มขึ้น เช่น ที่จังหวัดตรัง บริเวณเกาะมุกและหมู่เกาะใกล้เคียง เราพบ พะยูน ประมาณ 150 ตัว, โลมาหลังโหนก 27 ตัว , เต่าทะเลประมาณ 80-100 ตัว ซึ่งเกิดจากการเร่งอนุรักษ์แหล่งอาหารใต้ทะเล การปลูกหญ้าทะเล
ซึ่งนอกเหนือจากความสำคัญของการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติแล้ว อีกเรื่องที่เป็นประโยชน์อย่างมาก และผมอยากพูดถึงมากที่สุดก็คือ “จุดขายเรื่องการท่องเที่ยว” ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ผลักดันให้กลายเป็น “Soft Power” ที่มีประสิทธิภาพของไทย ในแนวเศรษฐกิจสีน้ำเงินบนพื้นที่ชายฝั่ง
การอนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ นอกจากมีประโยชน์ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังมีประโยชน์อย่างมากในเชิงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่สามารถทำเงินให้กับประเทศและท้องถิ่นได้อย่างมหาศาล และสามารถต่อยอดเป็น “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” หรือ Blue Economy ซึ่งหมายถึงการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึง การพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของผู้คน ไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลด้วย
แต่การจะอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ปกป้องธรรมชาติจากขยะและสารเคมี การเคร่งครัดในการทำประมงถูกกฎหมาย การส่งเสริมจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ
หากประชาชนชาวไทยสามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้สำเร็จ ย่อมจะสามารถสร้างจุดขายใหม่ของการท่องเที่ยวไทย เป็น “Soft Power” ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก สามารถสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างมากมาย อีกทั้งจะทำให้สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติคงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตต่อไป
#TopVarawut #MNRE #BlueEconomy
#พรรคชาติไทยพัฒนา
โฆษณา