26 ก.ย. 2022 เวลา 04:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คุณเป็นหนึ่งในนี้ไหม? เมื่อคน Gen Y ยุคนี้เลือกที่จะอยู่เป็นโสด มากกว่าแต่งงานสร้างครอบครัว และไม่อยากมีลูก มากขึ้นกว่าเดิม
1
ยืนยันจากผลสำรวจของ "สำนักงานสถิติแห่งชาติ" ที่พบว่า "วัยทำงาน" ในกลุ่ม Gen Y ที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523 - 2543 หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 22 - 42 ปี มีค่านิยมในการใช้ชีวิตคู่ที่เปลี่ยนไป คือ มุ่งทำงานให้ประสบความสำเร็จ ครองตัวเป็นโสด ไม่สมรส และไม่มีลูก มีแนวโน้มสูงขึ้นติดต่อกัน 5 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2564
คน Gen Y ยุคนี้เลือกที่จะอยู่เป็นโสด มากกว่าแต่งงานสร้างครอบครัว
ประกอบกับผลสำรวจด้านสถานการณ์อัตราการเกิดของเด็กไทย ที่พบว่าในช่วงเวลาย้อนหลัง 10 ปี มีแนวโน้มเด็กเกิดลดลง กล่าวคือ ในช่วงปี 2555 - 2564 มีอัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงไปเรื่อยๆ จากระดับการเกิดมากว่า 8 คนต่อประชากร 100,000 คน เหลือเพียงไม่ถึง 6 คนต่อประชากร 100,000 คน สะท้อนชัดเจนว่าคนไทยไม่อยากมีลูก
หากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะส่งผลระยะยาวต่อสภาพเศรษฐกิจไทย นั่นคือนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากคน "วัยทำงาน" ลดน้อยลงจนไม่เพียงพอในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้อัตราการเติบโตของ GDP ลดลง ต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติมากขึ้น
2
แล้วคน Gen Y เป็นโสดเพิ่มขึ้นแค่ไหน? ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ผลสำรวจระบุไว้ดังนี้
ปี 2560 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 39.1%
ปี 2561 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 40.2%
ปี 2562 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 41.7%
ปี 2563 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 43.1%
ปี 2564 Gen Y ที่โสดและมีงานทำ คิดเป็น 44.5%
สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยไม่อยากมีลูก คือ สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย, ค่าครองชีพที่สูงขึ้น, ค่าแรงขั้นต่ำไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น, ผู้คนคิดว่าในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีคุณภาพ
1
ประกอบกับคนรุ่นใหม่มีเป้าหมายชีวิตมุ่งไปในการทำงาน ที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิตของตัวเองมากกว่า ดังนั้น คนรุ่นใหม่จึงตระหนักในเรื่องการสร้างครอบครัวมากขึ้น และตัดสินใจไม่อยากมีลูก เนื่องจากกังวลเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน
โดยที่ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก มีผลสำรวจชี้ว่าผู้ปกครองต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 500,000 - 2,000,000 บาท/คน (ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละครอบครัว) ขณะที่เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 26,000 บาทต่อเดือน ส่วนข้อมูลรายได้ต่อครัวเรือนล่าสุด ณ ปี 2564 (6 เดือนแรก) อยู่ที่ 28,454 บาทต่อเดือน
อ้างอิง : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
โฆษณา