21 ส.ค. 2022 เวลา 12:19 • ธุรกิจ
Adolf Dassler ต้องล้มกี่ครั้ง กว่าจะปั้น Adidas จนสำเร็จ
ถ้าพูดถึงแบรนด์รองเท้ากีฬาที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง Adidas
โดยแบรนด์นี้สร้างมาจากพลังความมุ่งมั่นของชายที่มีชื่อว่า Adolf Dassler
1
แต่กว่าที่ฝันนั้น จะเริ่มกลายเป็นรูปเป็นร่าง เวลาก็ล่วงเลยไปจนเขาอายุ 46 ปี
ในบทความนี้ Bnomics จะพาผู้อ่านทุกท่าน ย้อนเวลาไปยังเส้นทางของผู้ปลุกปั้น Adidas
เขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง จนกว่าจะได้เห็น Adidas ประสบความสำเร็จอย่างในทุกวันนี้…
📌 ชีวิตเริ่มต้นขึ้น ในเมืองแห่งรองเท้า
คุณ Adolf Dassler เกิดเมื่อปี 1900 ที่เมือง Herzogenaurach ประเทศเยอรมนี
ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้หาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานในโรงงานผลิตรองเท้า
เช่นเดียวกับบ้านของ Dassler ที่มีคุณพ่อทำงานในโรงงานรองเท้า และคุณแม่เปิดร้านซักรีด
2
จุดเริ่มต้นนี้เอง ที่ทำให็ Adolf Dassler เริ่มคุ้นชินกับรองเท้า
แต่ความฝันของ Dassler กับพ่อของเขาดันไม่ตรงกัน
ทำให้หลังจากที่ Adolf Dassler จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เขาต้องไปฝึกงานเป็นคนอบขนมปังตามความปรารถนาของผู้เป็นพ่อ
2
แต่ Adolf มองไม่เห็นอนาคตของตัวเองในวงการขนมปัง
เพราะความหลงใหล ความฝันของเขานั้นอยู่ที่กีฬา
2
เมื่อฝึกงานอบขนมปัง ครบตามสัญญาไว้กับพ่อ
Adolf ก็ได้ขอเริ่มต้นชีวิตในเส้นทางของตัวเอง
1
📌 จุดเริ่มต้นในการผลิตรองเท้า และความฝันต้องสะดุดเป็นครั้งแรก
1
Adolf Dassler ได้กลายมาเป็นนักกีฬาที่เก่งกาจ และมีความช่างสังเกต
เขาเห็นว่า กีฬาแต่ละประเภทนั้นขาดรองเท้าที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ
2
Adolf Dassler เชื่อว่า หากนักกีฬา ได้สวมรองเท้าที่ผลิตขึ้นมาให้เหมาะกับกีฬาแต่ละประเภท
จะช่วยให้ประสิทธิภาพของนักกีฬานั้นดีขึ้นได้
แต่ความฝันของเขาก็ต้องสะดุดลงเป็นครั้งแรก ไปหนึ่งปี
เพราะในปี 1918 ในขณะที่ Adolf มีอายุได้ 18 ปี เป็นช่วงโค้งสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาจึงถูกเรียกไปเกณฑ์ทหาร จนถึงเดือนตุลาคม 1919
1
หลังสงครามสิ้นสุดลง เศรษฐกิจเยอรมนีก็ตกต่ำ
พร้อมทั้งกวาดล้างโอกาสในการทำธุรกิจไปจนหมดสิ้น
รวมถึงธุรกิจซักรีดของแม่เขาด้วย
2
Adolf จึงได้ใช้ห้องซักรีดของแม่ มาทำร้านรองเท้าเล็ก ๆ ของเขา เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว
1
แต่ผลพวงของสงครามคือ ไม่มีวัสดุที่จะนำมาผลิตรองเท้า
และ ผู้คนก็ไม่อยากจะใช้เงินซื้อรองเท้าคู่ใหม่
Adolf ก็ไม่ย่อท้อ และด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มเปี่ยม
เขาหันมาใช้วัสดุอะไรก็ได้ที่หลงเหลืออยู่ตามท้องถนน มาซ่อมรองเท้าให้กับคนในเมือง
และทดลองผลิตรองเท้าด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ จากนั้นก็ส่งตัวอย่างรองเท้าของเขาไปยังสโมสรกีฬาในภูมิภาค ต่อมาได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
2
📌 รุ่งอรุณแห่งความฝัน และ การก่อตั้งโรงงานของตัวเองเป็นครั้งแรก
หลังจากที่รองเท้าของ Adolf ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลาย
Adolf ก็ได้ร่วมมือกับพี่ชายของเขา Rudolf ก่อตั้ง Gebrüder Dassler Sportschuhfabrik” (โรงงานรองเท้า Dassler Brothers Sport Shoe) ขึ้นมา
2
โดยทั้งสองแบ่งงานกันทำตามความสามารถ คือ Adolf ดูแลฝ่ายสร้างสรรค์การผลิต
ในขณะที่ Rudolf ดูแลด้านการขายและการตลาด
2
และแล้วจุดผลิกผันก็มาถึง เมื่อ โอลิมปิกฤดูร้อนได้จัดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัม
Adolf ตั้งใจแน่วแน่ที่จะใช้เวทีโลกนี้พิสูจน์ว่าอนักกีฬาที่เก่งกาจต้องมีรองเท้าที่เหมาะสม ที่สามารถวิ่งได้เร็วขึ้น กระโดดสูงขึ้น
2
Adolf ได้มอบรองเท้าที่เขาพัฒนาขึ้นให้กับนักวิ่งระยะไกลชาวเยอรมัน Lina Radke และ Lina ก็คว้าชัยชนะมาได้สำเร็จ
4
แต่ความรุ่งโรจน์ของ Adolf ก็ไม่หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อ Josef Waitzer โค้ชของทีมกรีฑาเยอรมนี ช่วยให้ Adolf สามารถสร้างสรรค์รองเท้ากีฬาต่าง ๆ มากมายให้กับนักกีฬาชาวเยอรมัน
1
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เบอร์ลินในปี 1936
ทำให้บริษัทได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างมาก
1
หลังจากที่ดารากีฬากรีฑาชาวอเมริกัน Jesse Owens คว้าเหรียญทอง 4 เหรียญ
จากการสวมรองเท้ากีฬาที่ผลิตโดย Adolf จนนำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้น
และการเปิดโรงงานแห่งใหม่ ใน Herzogenaurach ในปี 1938
2
📌 ธุรกิจสะดุดอีกครั้ง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และ จุดจบของกิจการครอบครัว
1
การเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ
ทำให้การผลิตรองเท้าลดลง และ Adolf Dassler ถูกเกณฑ์ทหารให้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิทยุของกองทัพในช่วงเวลาสั้น ๆ และ โรงงานแห่งใหม่ก็ต้องปิดตัวลง
ในช่วงเวลานี้เอง ที่ความขัดแย้งส่วนตัวและเรื่องอาชีพระหว่าง Adolf กับ Rudolf เกิดขึ้น
1
และสถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อ Rudolf ถูกเกณฑ์ทหารในปี 1943
ต่อมาในปีเดียวกัน โรงงานต้องหยุดการผลิตรองเท้า
และหันมาผลิตชิ้นส่วนอาวุธแทน ตามคำสั่งของรัฐบาล
3
หลังสงครามเสร็จสิ้น ก็เป็นจุดจบของควมสัมพันธ์ของ 2 พี่น้องเช่นกัน
Adolf เข้าร่วมกับพรรคนาซี และ ถูกห้ามไม่ให้เป็นเจ้าของธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ในปี 1947 เขาได้รับกรรมสิทธิ์ในบริษัทอีกครั้ง
2
ทั้งสองพี่น้องแยกทางกันในที่สุดในปี 1948
และ Rudolf ได้ก่อตั้งบริษัท Puma ของตัวเองขึ้น
2
ในขณะเดียวกัน Adolf ได้ตั้งชื่อบริษัทใหม่ว่า Adidas ขณะที่เขามีอายุได้ราว 46 ปี
และ Kathe ภรรยาของ Adolf เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจมากขึ้น
และมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จของบริษัทในเวลาต่อมา
3
บริษัท Adidas ค่อย ๆ เจริญเติบโตอย่างมั่นคง และแตกไลน์สินค้าไปเรื่อย ๆ
จากความรู้และประสบการณ์ที่เขาสั่งสมมา และในช่วงเวลาที่เขาเสียชีวิต
Adidas ก็กลายเป็นผู้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับกีฬารายใหญ่ที่สุดของโลก
1
Come to work every day as if it were the first time.
This will prevent you from being blinded by routine.
(จงมาทำงานในแต่ละวัน ให้เหมือนกับเป็นวันแรก นี่จะเป็นการป้องกันตัวเราจากความเบื่อหน่ายของงานประจำ)
5
สุดท้ายนี้ Bnomics อยากฝากถึงผู้อ่านทุกท่าน ที่กำลังอยู่ในโลกที่บีบให้เราต้องรีบประสบความสำเร็จให้เร็วที่สุด หรือบางครั้งในขณะที่ชีวิตเรากำลังไปได้สวย กลับต้องมีเหตุการณ์ที่เข้ามาเป็นบททดสอบอยู่เสมอ จนทำให้เรารู้สึกเครียด และกังวลกับเส้นทางชีวิตของเรา ว่าชีวิตของเรานั้นล้มเหลว หรือ ผิดพลาดตรงไหน
2
บางทีมันอาจแค่ยังไม่ถึงจังหวะเวลาของเราเท่านั้นเองค่ะ
Bnomics ขอเป็นกำลังใจให้ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ให้ผ่านแต่ละวันไปได้ด้วยดีนะคะ
2
ขอแค่เราไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน ถ้าวันไหนเหนื่อยล้า เราอาจจะแค่เดิน
แต่ถ้าเรามีแรงค่อยลุกขึ้นมาวิ่งอีกครั้ง สุดท้ายมันก็จะเป็นวันของเราค่ะ
1
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
เครดิตภาพ : A by Adidas
#APEC2022COMMUNICATIONPARTNER
โฆษณา