11 ก.ย. 2022 เวลา 06:12 • ความคิดเห็น
เจาะลึกเอกสารนำเข้าเราต้องรู้ : ตรวจ FORM E 13 จุด หยุดความผิดพลาด
ภาพจากผู้เขียน
จากบทความก่อนหน้านี้ที่ได้กล่าวถึงวิธีการที่สามารถลดหรือยกเลิกภาษีอากรในการนำเข้าสินค้า เพื่อลดต้นทุนของการนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้นำเข้า และเพื่อที่ผู้นำเข้าจะได้มีโอกาสในการแข่งขันเรื่องราคาในท้องตลาดมากขึ้น
วันนี้จึงชวนมาทำความรู้จัก FORM E ให้ลึกซึ้งเพื่อการทำงานที่ราบรื่น กันค่ะ
FORM E เป็นเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการของจีน supplier บางรายขอเรียกเก็บค่าทำ FORM E จากเราราว ๆ 40USD เพื่อเป็นค่าดำเนินการในขั้นตอนนี้ แต่บางรายก็ทำให้ฟรีโดยไม่ต้องจ่ายสักบาท
ข้อมูลที่อยู่ใน FORM E จะอ้างอิงมาจาก invoice, packing list and ,B/L. และคงต้องขอย้ำอีกครั้งว่า รายละเอียดทุกอย่างจะต้องตรงกัน ห้ามผิดเพี้ยนค่ะ ไม่อย่างนั้นเราเองสติอาจจะเพี้ยนได้ เพราะจะไม่สามารถใช้ FORM E ลดอัตราภาษีได้!!
ส่วนสำคัญใน FORM E ที่จะต้องตรวจสอบให้ดีมี 13 จุด (คิดซะว่าเป็นเลขแห่งความโชคดี)
👉 1. Exporter. ผู้ส่งออก ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออกจะต้องตรงกับชื่อใน B/L
👉 2. Consigned. ผู้นำเข้า ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้าจะต้องตรงกับชื่อใน B/L
👉 3. Means of transport and route : เป็นส่วนที่จะต้องใส่ข้อมูล วันที่ส่งสินค้าออก , ชื่อพาหนะที่ขนสินค้า เช่น เรือก็ใส่ชื่อเรือ หากมาทางรถให้ระบุเป็น by Truck หรือหากมาทาง Air ให้ระบุเป็น Flight ที่ขนมา , ท่าปลายทางที่นำเข้าสินค้า , เรือลำนี้ออกจากเมืองท่าต้นทางที่ใด
👉 4.For Official Use : เป็นช่องของผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้สิทธิ์หรือปฏิเสธสิทธิ์
👉 5.Item number :. จำนวนรายการที่ต้องการใช้ FORM E มีกี่รายการ แต่ต้องไม่เกิน 20 รายการ
👉 6.Mark and number on packages : Marking ที่ระบุอยู่บนหน้า B/L ห้ามระบุ N/M หรือ No Mark เด็ดขาดเพราะเอกสารจะใช้ไม่ได้และจะมีค่าปรับด้วย
👉 7. Number and type of package ,description of product: ในช่องนี้จะระบุ จำนวน package ทั้งหมดและระบุชื่อสินค้าที่ต้องตรงกับชื่อสินค้าที่ได้ระบุไว้บน B/L และช่องนี้จะต้องระบุ Hamonize Code หรือที่เรียกกันว่า H.S. CODE 6 หลัก ซึ่งเป็นพิกัดภาษีสำหรับสินค้านั้น ๆ
👉 8.Origin criteria : ระบุเกณฑ์ถิ่นกำเนิดของสินค้า หัวข้อนี้ทางผู้ส่งออกจะต้องยื่นรายละเอียดการผลิตสินค้านั้น ๆ กับทางหน่วยงานที่มีอำนาจในการออก FORM E ที่ต้นทางเพื่อระบุเกณฑ์ถิ่นกำเนิดของสินค้าได้ถูกต้อง เกณฑ์ถิ่นกำเนิดของสินค้า เช่น WO , PE , PSR หรือ RVC ตามด้วย %
👉 9.Gross weight or other quantity and vale (FOB) : ระบุน้ำหนักรวม หรือจำนวนและใส่ราคา FOB หากซื้อขายใน Incoterms CIF ,CFR และต้องการใช้ FORM E ด้วยใน invoice จะต้องแยกให้เห็นชัดเจนว่าราคาสำหรับ FOB เป็นเท่าไร
👉 10. Number and date of invoices : เลขที่และวันที่ที่ระบุอยู่บนเอกสาร invoice
👉 11. Declaration by the exporter : ประเทศผู้ผลิต ถัดลงมาจะเป็นประเทศผู้นำเข้า ล่างสุดจะระบุสถานที่ วันที่ทำ FORM E และลงลายมือชื่อผู้ส่งออก
👉 12. Certification: ระบุสถานที่ วันที่ และลงรายมือชื่อของผู้มีอำนาจในการออก FORM E พร้อมประทับตรา
👉 13. ตรงข้อสุดท้ายนี้ จะต้องเลือกให้ถูกต้อง
💟 Issue Retroactively เลือกในกรณีที่ วันที่ออก FORM E ระบุไว้เกิน 3 วันหลังจากที่เรือ /รถ /Air ออก แต่ถ้ายังอยู่ในระยะเวลา 3 วันไม่ต้องเลือก
💟 Exhibition กรณีที่สินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นไปเพื่อการจัดแสดงนิทรรศการ
💟 Movement Certificate
💟 Third Party Invoicing กรณีที่มีการซื้อสินค้าผ่านประเทศที่สาม เช่นการซื้อขายติดต่อ จ่ายเงินให้ Hong Kong แต่ส่งสินค้าออกมาจากเมืองจีน
การตรวจสอบความถูกต้องของ FORM E มันจะยากสำหรับคนที่เพิ่งเริ่ม แต่ถ้าทำซ้ำอยู่บ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ การตรวจสอบรายละเอียดเพื่อป้องกันความผิดพลาด ก็นับเป็นงานที่ง่ายไปเสียแล้ว
แต่ถึงอย่างไร ก็จะยังคงตื่นเต้นทุกครั้งที่มีการตรวจสอบเอกสารเพื่อป้องกันความผิดพลาดและเอกสารฉบับนั้นจะสามารถลดอัตราภาษีให้กับบริษัทได้หลักหลายพันหลายหมื่นบาท
ตรวจเอกสารผิด ชีวิตอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแต่ตัวเลขโบนัสปลายปีเปลี่ยนแน่นอนน !!
การนำเข้ายังมีเรื่องราวให้เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยค่ะ จะทยอยเอามาเล่าบ่อย ๆ น๊า
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับคุณผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปนะคะ
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นที่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกเขียนนิยาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา