30 ส.ค. 2022 เวลา 13:58 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🔎 [INVESTMENT] - พลังงานนิวเคลียร์ - ทางเลือกที่ถูกจำกัดกับทางรอดของวิกฤตพลังงาน ?
2
📌 บทความโดย T-Da
คลื่นความร้อนในยุโรปที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 500ปี นอกจากทำให้ผลผลิตเกษตรเสียหายแล้ว ยังทำให้ความต้องการพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วยท่ามกลางความไม่แน่นอนของอุปทานก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียและราคาน้ำมันดิบที่ดีดตัวกลับขึ้นมาใหม่ ชาวยุโรปต้องเผชิญกับภาระค่าไฟที่แพงขึ้นราว 7-8 เท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของเชื้อ Covid-19
ทำให้ผู้นำหลายประเทศในยุโรปต้องเร่งหาทางแก้ไขปัญหาพลังงานเพราะอีกไม่กี่เดือนฤดูหนาวในซีกโลกเหนือก็จะมาเยือนอีกครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาคำมั่นสัญญาที่จะลด Carbon emission ให้ได้อย่างน้อยกึ่งหนึ่งภายในปี 2030 และไปสู่เป้าหมาย Carbon neutral ให้ได้ภายในปี 2050
สหภาพยุโรปมีการลงคะแนนเสียงไปตั้งแต่ 2 ก.พ. 2022 ให้คงแหล่งพลังงานจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานนิวเคลียร์เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (ส่วนใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า) ไว้ในอนุกรมวิธานของสหภาพยุโรปในการเร่งให้เกิดการลงทุนอย่างยั่งยืน (EU Taxonomy - accelerating sustainable investments) แต่มีเสียงคัดค้านจากสมาชิกทำให้มีการลงคะแนนเสียงอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ผ่านมา
ซึ่งผลออกมายังคงมติเดิม อันจะทำให้การลงทุนในโครงการที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์เป็นพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาคการเงินได้เหมือนกับโครงการพลังงานสีเขียว (green energy) อื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ โดยมีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 2023 เป็นต้นไป
ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่กลับมาสนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยียุคใหม่ โดยนายกฯ Kishida ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการประชุม Green Transformation เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมานี้ว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้ทำให้สถานการณ์พลังงานโลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และมีความจำเป็นที่ญี่ปุ่นจะต้องหาจุดสมดุลในการจัดการวิกฤตพลังงานเฉพาะหน้าควบคู่กับการไปสู่เป้าหมาย net zero ในปี 2050 ตามที่ได้ประกาศจุดยืนไว้
โดยได้กลับมาเดินเครื่อง reactor จำนวน 10 ตัวที่ปิดไปก่อนหน้านี้แล้วเพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง และมี reactor อีก 17 ตัวที่เตรียมจะกลับมาเดินเครื่องด้วย
ก่อนที่จะเกิดเหตุรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima จากผลของแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิในปี 2011 ญี่ปุ่นเคยเดินเครื่อง reactor ถึง 54 ตัว ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นสัดส่วนถึง 30% ของไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ แต่หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ญี่ปุ่นได้ตัดสินใจปิด reactor ส่วนใหญ่ไปและต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากภายนอกประเทศกว่า 90% ทำให้ต้องเผชิญความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงานและราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
2
ไม่ต่างไปจากหลายประเทศในสหภาพยุโรปที่จำใจต้องหา "ทางรอด" ภายใต้ "ทางเลือก" ที่มีอยู่จำกัด แม้ว่าจะตามมาด้วยเสียงคัดค้านเกี่ยวกับความเป็นพลังงานสีเขียวของการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์ก็ตาม
1
📌 Natural Gas (ก๊าซธรรมชาติ) กับภาวะโลกร้อน
แม้ว่ากระบวนการเผาผลาญก๊าซธรรมชาติเผื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นจะทำให้เกิด CO2 ในปริมาณน้อย แต่กระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาตินั้นจะทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าเป็น GHGs (Green House Gases: ก๊าซเรือนกระจก) ชนิดที่มีผลต่อภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หากถูกปลดปล่อยมาในปริมาณที่เท่ากัน
ดังนั้นจึงมีเสียงคัดค้านการนับเอาก๊าซธรรมชาติเป็น "green energy" อย่างไรก็ดีผลการศึกษาตามรายงานของ IEA (International Energy Agency) ระบุว่าการเปลี่ยนเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคำนวณรวมผลกระทบของก๊าซมีเทนแล้ว (คิดแบบ full lifecycle emission intensity) ก็ยังช่วยลดemission ลงได้ถึง 50%
📌 Nuclear (นิวเคลียร์) พลังงานที่ต้องแลกกับความเสี่ยง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อการพาณิชย์นั้นเริ่มใช้มาตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1950-1960 ซึ่งในปัจจุบันนี้ reactor ที่ยังดำเนินการอยู่ 437 ตัว ใน 32 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนับเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 10% ของที่ใช้อยู่ทั่วโลก ซึ่งประเทศที่มีการใช้นิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นปริมาณมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, จีน, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
1
ซึ่งประเทศส่วนใหญ่มีการพึ่งพากระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ราว 25% รวมถึงญี่ปุ่นด้วย แต่มีบางประเทศที่พึ่งพากระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ถึง 50% เช่น ยูเครน, สโลวาเกีย, เบลเยียม, ฮังการี ในขณะที่ ฝรั่งเศส นั้นมีการพึ่งพากระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์สูงถึง 70% เลยทีเดียว
3
การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์โดยกระบวนการ fission ในปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะได้รับการยอมรับว่ามี carbon emission ในปริมาณที่น้อยมากเทียบกับ fossil fuel แต่ก็มีข้อถกเถียงในเรื่องของการจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต เช่น น้ำที่ใช้ในกระบวนการทำให้เย็น (cooling water) และกากกัมมันตรังสีจาก uranium ที่ใช้แล้วว่าจะนับเป็น "green energy" ได้หรือไม่
1
อีกทั้งยังมีข้อกังวลต่อความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการดำเนินการ, ภัยธรรมชาติ, และสงคราม/การก่อการร้าย อย่างกรณีของ Three Miles Island ในปี 1979, Chernobyl ในปี 1986, และ Fukushima ในปี 2011 จากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ
📌 Greenwashing กับการกล่าวอ้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่บิดเบือน
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับนิยามของ "green energy" แบ่งออกเป็นหลายมุมมอง ขึ้นอยู่กับว่าจะวัดกันที่ "low carbon emission" จากกระบวนการนำแหล่งพลังงานนั้นไปใช้เพียงอย่างเดียว? หรือจะวัดกันที่ "low impact" ต่อภาวะโลกร้อนจากการนำแหล่งพลังงานนั้นไปใช้? ถ้าจะมองให้ครบถ้วนทุกแง่มุมแล้ว ก็ควรต้องนับรวม GHGs emission ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม
1
ตั้งแต่กระบวนการผลิตอุปกรณ์ทุกขั้นตอนให้ได้มาซึ่งแหล่งพลังงาน ต่อเนื่องไปถึงการนำพลังงานนั้นไปใช้ และการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการทั้งหมด เรียกว่ามองครบทั้งวงจรตั้งแต่เกิดจนดับ "from cradle to grave" กันเลยน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า
ในความเป็นจริงแล้วคงต้องยอมรับว่าไม่มีแหล่งพลังงานใดที่เป็นสีเขียว 100% แค่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากหรือน้อยกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็น นิวเคลียร์, เชื้อเพลิงฟอสซิล, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังงานน้ำ ถ้าพิจารณาทั้งวงจรแล้วก็ล้วนแต่มี GHGs emission ทั้งสิ้น นอกจากนี้ในอุปกรณ์บางประเภทยังต้องมีการใช้แร่หายาก (rare earth) ในการผลิต
ซึ่งแร่บางชนิดก็เป็นพิษ (toxic) ต่อสิ่งแวดล้อมด้วย และยังมีกระบวนการจัดการกับของเสีย (waste) เช่น solar panel ที่หมดอายุ และผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เช่น การตัดต้นไม้เพื่อสร้างเขื่อน (hydro power), ผลกระทบต่อนกของ wind turbine, ผลกระทบต่อระบบนิเวศ สัตว์น้ำ/สัตว์ทะเลของ floating solar/offshore wind ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องนำมาประเมินด้วยเช่นกัน
2
📌 การลงทุนตามเทรนด์ low carbon
2
ก่อนอื่นนักลงทุนต้องเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับแหล่งพลังงานชนิดต่างๆ นั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อนิยามความ "green" ของแหล่งพลังงานใน "taxonomy" นั้นเปลี่ยนไปได้ เช่น อาจมี technology breakthrough เกี่ยวกับถ่านหินให้ดีกว่าทางเลือกอื่นก็ได้ หรืออาจมี next-generation nuclear technology ที่เปลี่ยนจาก fission เป็น fusion ซึ่งไม่ต้องใช้แร่กัมมันตรังสีที่เป็นอันตรายอีกต่อไป
ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ซึ่งถ้าเป็นแหล่งพลังงานสะอาดยอดนิยมอย่าง พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ก็จะมี ETF ในต่างประเทศที่น่าสนใจคือ FAN และ WNDY ส่วนพลังงานลม (Wind Energy) ก็จะมี ETF ในต่างประเทศที่น่าสนใจคือ TAN และ RAYS
📌 อย่างไรก็ดี หากนักลงทุนสนใจที่จะลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์ ก็มี ETF ในต่างประเทศที่น่าสนใจมาแนะนำดังนี้
1️⃣ URA (Global X Uranium ETF) เป็นกองทุน ETF ที่เน้นการลงทุนในแร่ยูเรเนียมโดยตรงและเหมืองยูเรเนียมเป็นหลัก จึงมีการเคลื่อนไหวของราคาที่สอดคล้องกับราคายูเรเนียม โดยมีสัดส่วนการลงทุนหลัก ได้แก่
22% CCJ (ทำเหมืองยูเรเนียมในแคนาดา)
8% U.U (กองทรัสต์ที่ลงทุนในแร่ยูเรเนียมโดยตรง)
6% KAP (ทำเหมืองยูเรเนียมในคาซัคสถาน)
1
2️⃣ URNM (Sprott Uranium Miners ETF) เป็นกองทุน ETF ที่เน้นการลงทุนในแร่ยูเรเนียมโดยตรงและเหมืองยูเรเนียมเช่นเดียวกับ URA แต่จะลงน้ำหนักในคาซัคสถานมากกว่า เพราะเป็นประเทศที่มีแร่ยูเรเนียมมากที่สุดในโลก (แต่การขุดเจาะยังน้อยกว่าออสเตรเลีย แคนาดา นามิเบีย) โดยมีสัดส่วนการลงทุนหลัก ได้แก่
1
18% KAP (ทำเหมืองยูเรเนียมในคาซัคสถาน)
17% CCJ (ทำเหมืองยูเรเนียมในแคนาดา)
11% U.U (กองทรัสต์ที่ลงทุนในแร่ยูเรเนียมโดยตรง)
1
3️⃣ NLR (VanEck Uranium Nuclear Energy ETF) เป็นกองทุน ETF ที่แตกต่างจาก 2 กองแรก โดยเน้นลงทุนในบริษัทที่ครอบคลุมทั้ง supply chain ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ เช่น บริษัทก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงนิวเคลียร์ reactor, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์/เทคโนโลยีและบริการเกี่ยวกับนิวเคลียร์ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนหลักกว่า 80% จะเป็นหุ้นในกลุ่ม Utilities จึงมีความผันผวนต่ำกว่า URA และ URNM มาก
🙏 ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเรา ฝากกด Like และ Share ให้แอดด้วยหากข้อมูลนี้มีประโยชน์ ขอบคุณมากครับ 👍😊
#ทันโลกกับTraderKP #BlockditExclusive #TDa
โฆษณา