2 ก.ย. 2022 เวลา 08:00 • การเมือง
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ 'ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายและซ้อมทรมานฯ' ตามที่วุฒิสภาได้ดำเนินการแก้ไข ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 287 ต่อ 1 เสียง และงดออกเสียง 1 เสียง
'พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายและซ้อมทรมานฯ' นับว่าเป็นความก้าวหน้าสำคัญทั้งในด้านกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ดังนั้นแล้วการที่ประเทศไทยมีกฎหมายนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทวงความเป็นธรรมให้กับผู้ที่ถูกอุ้มหายหรือซ้อม
ทรมาน
และอาจเป็นจุดสิ้นสุดของวลี “คนก็หาย-กฎหมายก็ไม่มี”
อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายและซ้อมทรมานฯ มีหลายส่วนที่ถูกลดทอนลงจากการแก้ไขในชั้น ส.ว. เช่น ลดอายุความจาก 40 เหลือ 20 ปี และตัดข้อกำหนดที่ระบุว่า ให้ศาลไม่รับฟังพยานหรือหลักฐานที่ได้มาจากการอุ้มหายและซ้อมทรมานออกไป
และด้วยเวลาการพิจารณากฎหมายที่มีจำกัด ทำให้ ส.ส. ต้องจำใจ ‘รับไปก่อนค่อยแก้ไข’ เพราะดีกว่าถ่วงเวลาออกไปจนสิ้นสุดอายุของสภาฯ จนสุดท้ายกฎหมายต้องถูก ‘อุ้มหาย’ ไปอีกครั้ง
 
อ่านรายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายและซ้อมทรมานฯ' อะไรบ้างที่ถูกทำให้ตกหล่น สูญหาย และแก้ไขในชั้น ส.ว. โดย ณัชปกร นามเมือง ที่นี่
#ไทยรัฐพลัส #ThairathPlus #WeSPEAKtoSPARK #พรบอุ้มหาย #พรบซ้อมทรมาน #ซ้อมทรมานอุ้มหาย #อุ้มหาย
ติดตามไทยรัฐพลัสได้ทาง
โฆษณา