1 ก.ย. 2022 เวลา 15:45 • ธุรกิจ
#กรณีศึกษา “Relay” ช่วยร้านอาหารลดต้นทุนค่าจัดส่ง
แพลตฟอร์มตัวกลางการจัดส่งถึงลูกค้าปลายทาง (Last-mile)
เครดิตภาพปก: บน - flipdish.com ล่าง - foodondemandnews.com
ช่วงการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจหนึ่งที่บูมมากคือ การจัดส่งอาหารและสินค้าต่างๆผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ Food Delivery Platform
ก่อนที่จะเข้าเรื่องกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในอเมริกานี้ เรามาทำเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจนี้มีใครหรือระบบอะไรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางบ้าง ผมขอเริ่มไล่ตามลำดับตัวเลขเลยครับ
1. ลูกค้าปลายทาง กดออเดอร์สั่งผ่านแอปของแพลตฟอร์มต่างๆ
2. แพลตฟอร์มการสั่งอาหาร เช่น Grab, Line Man, Food Panda, Robinhood เมื่อลูกค้ากดสั่ง คำสั่งซื้อหรือออเดอร์จะวิ่งเข้ามาที่ระบบแพลตฟอร์มนี้ เพื่อทำการประมวลผล ผ่านอัลกอริทึมในการค้นหาและมอบหมายงานให้คนจัดส่ง (ไรเดอร์) คำนวณระยะทางเพื่อหาค่าจัดส่ง ดูโค้ดส่วนลดที่ลูกค้ากดมาว่ามีไหม/ใช้ได้ไหม ก่อนจะสรุปออกมาเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดกับลูกค้าเพื่อทำการจ่ายผ่านวิธีต่างๆ
3. คนจัดส่ง หรือเราเรียกกันว่า “ไรเดอร์” เมื่อกระบวนการเลือกวิธีจ่ายเงินเสร็จสิ้น ไรเดอร์ที่ได้รับมอบหมายงานจากแพลตฟอร์ม ก็จะมีคำสั่งรับงานมาที่เครื่อง เพื่อไปรับรายการอาหารที่ร้านค้าตามที่กำหนด ถ้าเป็นบ้านเราเมืองไทยเจ้าใหญ่ ข้อ 3 กับ ข้อ 2 ก็อยู่ภายใต้การบริหารจากบริษัทเดียวกัน
4. ร้านค้าพาร์ทเนอร์ แพลตฟอร์มก็จะมียิงคำสั่งซื้อรายการที่ลูกค้าเลือกมาให้ทำตามที่กำหนด รอไรเดอร์มารับที่ร้าน หลังจากนั้นขั้นตอนหลังบ้านในการเคลียร์เรื่องยอดขายต่างๆก็ขึ้นกับแพลตฟอร์มแต่ละที่
ที่มาภาพ: https://www.relay.delivery
...
  • Relay เป็นบริษัทเทคสตาร์ทอัพในนิวยอร์ก เริ่มเปิดเมื่อปี 2014
  • Relay วางตำแหน่งทางตลาดของตัวเองว่าเป็น “บริษัทรับจัดส่งอิสระ” (Independent Courier Company) มีกลุ่มคนจัดส่งหรือไรเดอร์ (delivery fleet) ที่บริษัทเป็นคนบริหารเอง
  • หน้าที่และบทบาทของ Relay ในกระบวนการด้านบน คือ
  • อยู่ในข้อ 3 (คนจัดส่ง หรือ ไรเดอร์)
  • บริษัทเขามีการเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อหรือ integrate เข้ากับระบบแพลตฟอร์มการสั่งอาหารของเจ้าใหญ่ๆในอเมริกา (ข้อ 2) เช่น DoorDash, Uber Eats, Grubhub
  • ในอเมริกาแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่อย่าง DoorDash หรือ Grubhub มีการเปิดให้ร้านค้าพาร์ทเนอร์สามารถใช้ตัวเลือกเป็น automatic delivery service แทนที่จะเลือกเป็นการใช้ไรเดอร์ของแพลตฟอร์มเอง เพราะอเมริกาเป็นตลาดใหญ่มีหลายภูมิภาค แพลตฟอร์มเจ้าใหญ่ๆจึงมีการเปิดช่องทางให้บริษัทจัดส่งในท้องที่ (Local Delivery Operator) มาให้บริการจัดส่งแทนไรเดอร์ของแพลตฟอร์มเองซึ่งอาจมีไม่เพียงพอหรือไม่รู้จักพื้นที่ดี
1
  • เมื่อร้านค้าได้เปิดใช้งานกับ Relay แล้ว เวลามีคำสั่งออเดอร์เข้าไปที่แพลตฟอร์ม (ข้อ 2) ก็จะมีกระบวนการตามปกติเรื่องคิดราคาสินค้าและหักค่าการตลาดหรือ GP ตามรอบ ยกเว้นในส่วนการจัดส่ง (ข้อ 3) จะยิงเข้ามาประมวลผลและใช้บริการจัดส่งของ Relay แทน ไม่ได้ใช้ของแพลตฟอร์ม
1
  • ในกรณีบางร้านค้าที่มีพนักงานจัดส่งของตัวเอง Relay ก็เปิดให้ใช้ตัวเลือกที่เรียกว่า Self-delivery ได้ด้วย คือ ไม่ใช้ไรเดอร์ของ Relay ใช้คนของตัวเอง เพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้
2
Alex Blum คือ CEO ของ Relay ได้ให้ข้อมูลกับ Business Insider ว่า
Alex Blum, CEO ของ Relay เครดิตภาพ: Youtube
...
  • บริษัทของเขาเองได้มีให้บริการกับร้านค้าพาร์ทเนอร์เจ้าเล็กๆที่เป็นรายอิสระ (ไม่ใช่เชน) หลายร้อยร้านค้า เฉพาะในนครนิวยอร์ก มาร่วมเกือบสิบปีแล้ว ก่อนที่บริษัทแพลตฟอร์มใหญ่อย่าง DoorDash และ Uber Eats จะทุ่มงบหลายพันล้านดอลลาร์เข้ามาทำตลาดในอเมริกาเสียอีก
1
  • ร้านค้าพาร์ทเนอร์ที่ใช้บริการเชื่อมต่อกับ Relay เกือบทั้งหมด จะหลีกเลี่ยงการใช้บริการจัดส่งของแพลตฟอร์มใหญ่ๆ หันมาใช้บริการจัดส่งของ Relay แทน เพราะจะโดนชาร์จถึง 30% เป็นภาษี ถ้าใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่ หรือเฉลี่ยราว 6 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออเดอร์ ซึ่งถ้าลดในส่วนนี้ได้ ร้านค้าก็สามารถทำให้ลูกค้าที่สั่งประหยัดค่าอาหารลงไปได้ด้วยตามมา
  • Relay มีอัลกอริทึมในการเลือกไรเดอร์ในการให้บริการ คือ พิจารณาจากตำแหน่งของไรเดอร์กับร้านอาหารที่มีออเดอร์เข้ามา ซึ่งใกล้กับตำแหน่งสุดท้ายที่เขาได้ไปจัดส่งมาแล้ว (คล้ายกับอัลกอริทึมของ Uber) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่ง โดยไม่ต้องรอให้พนักงานจัดส่งกลับมาที่ร้านก่อน (ในกรณีที่ร้านมีพนักงานของตัวเอง)
1
  • Relay ยังเปิดตัวเลือกเป็น “Self-delivery” ให้ร้านค้าใช้พนักงานหรือคนของร้านจัดส่งเองได้ด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับร้านค้าเล็กๆทำกันเองในครอบครัว ทำให้ลดต้นทุนค่าจัดส่งมากขึ้นได้อีก เช่น ร้านพิซซา Jimmy John เลือกใช้การจัดส่งผ่านพนักงานของร้านตัวเอง ไม่ได้ใช้ของ Relay
  • เขาแนะนำให้ร้านค้าพาร์ทเนอร์เลือกเปิดการใช้งาน “automatic delivery service” ในแพลตฟอร์มการสั่งอาหาร จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทางเลย คือ
  • ฝั่งยอดขายหรือรายได้ของร้าน เพราะ “แพลตฟอร์มการสั่งอาหาร” ถือเป็นเครื่องมือทำการตลาดอย่างดี ช่วยโฆษณาร้านค้าให้เข้าถึงตลาดกลุ่มลูกค้าได้เป็นหลักล้านคน ตัวอย่างเช่น DoorDash เป็นผู้นำตลาดนี้ ให้บริการมากถึง 300 ล้านครัวเรือนทั่วโลก
  • ฝั่งต้นทุนการจัดส่ง ร้านค้าสามารถประหยัดต้นทุนตรงนี้ได้อย่างมากผ่าน Relay โดยไม่ต้องจ่ายค่าส่งแพงๆให้กับแพลตฟอร์ม
...
เขาให้ไอเดียเป็นตัวเลขว่า ถ้าร้านค้าเลือกใช้วิธีนี้ คือ ทำการตลาดและรับออเดอร์ผ่านแพลตฟอร์ม ส่วนจัดส่งให้เป็นหน้าที่ของระบบ Relay ร้านค้าสามารถลดต้นทุนได้ถึงราว 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ต่อหน้าร้าน
1
ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหารใช้แพลตฟอร์มการสั่งอาหารของ Grubhub โดยเสียเฉพาะค่าการตลาดอยู่ที่ 5% - 15% ของราคาออเดอร์ ส่วนการจัดส่งให้ใช้ผ่าน Relay ซึ่งค่าส่งถูกกว่ามาก โดยร้านอาหารสามารถคิดค่าส่งเล็กน้อยตรงนี้บวกจากค่าอาหารปกติได้ โดยไม่ต้องแอบบวกเข้าไปเยอะในค่าอาหาร หรือถ้าร้านมีพนักงานส่งเองก็อาจไม่คิดลูกค้าเพิ่ม
ในเว็บไซต์ของ Relay เคลมว่า
  • ร้านค้าสามารถลดค่าคอมมิชชั่นให้กับแพลตฟอร์มสั่งอาหารได้สูงสุดถึง 75% เมื่อมาเลือกใช้บริการจัดส่งกับทาง Relay
ที่มา: https://www.relay.delivery
  • ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงร้านค้าโทรมาปรึกษากับทีมผู้เชี่ยวชาญของ Relay แล้วบอกความต้องการไป บริษัทจะสามารถเชื่อมต่อออเดอร์ได้ทั้งทางผ่านหน้าร้านโดยตรง เช่น โทรศัพท์ ออเดอร์ฟอร์มบนเว็บไซต์ร้านค้า หรือผ่านแพลตฟอร์มเจ้าดัง โดยใข้เวลาสร้างแอดคาวน์ใหม่ภายใน 1 วัน ก็เริ่มใช้งานได้
  • เมื่อลูกค้าสั่งโดยตรงผ่านหน้าร้าน ไม่ผ่านแอปของแพลตฟอร์ม ร้านค้าไม่ต้องเสียค่าการตลาดใดๆ มีเฉพาะในส่วนค่าบริการของ Relay
  • โมเดลธุรกิจของ Relay
รายได้ของ Relay มาจาก 2 ส่วน คือ
  • ค่าธรรมเนียมการเชื่อมต่อระบบจากทางร้านค้า ยิ่งจำนวนออเดอร์มาก ต่อหน่วยก็จะลดลง
  • ค่าบริการจัดส่งผ่านไรเดอร์ของ Relay เอง หรือถ้าร้านค้าเลือกใช้ Self-delivery หรือพนักงานของร้านเองก็ไม่ต้องเสียในส่วนนี้
Andrew Simmons ประธานสมาคมด้านการตลาดสำหรับการจัดส่งของร้านอาหาร ได้ให้ข้อมูลว่า
  • ไม่ใช่แค่ Relay เจ้าเดียวที่ให้บริการในลักษณะนี้ มีหลายบริษัทจัดส่งที่เริ่มหันมาใช้กลยุทธ์ในการให้บริการรูปแบบนี้ (เมื่อแพลตฟอร์มการสั่งอาหารเปิดให้ทำการเชื่อมต่อเข้าระบบในส่วนจัดส่งได้) เพื่อช่วยให้ร้านค้าสามารถประหยัดและควบคุมต้นทุนจัดส่งได้ โดยไม่ผ่านแพลตฟอร์มที่ชาร์จค่าส่งแบบผันผวนไม่แน่นอน
1
Relay ถือว่าเป็นเจ้าแรกๆในอเมริกาที่ให้บริการจัดส่งถึงลูกค้าปลายทางรูปแบบนี้ เรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า Last-mile delivery และประสบความสำเร็จ
เรียบเรียงโดย Right SaRa
1st Sep 2022
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา