3 ก.ย. 2022 เวลา 14:36 • หนังสือ
🟡ตั้งเป้าให้เข้าถึงใจผู้คนด้วยกฎ "The Golden Circle"
ถ้ามีคนมาเสนอขายคอมพิวเตอร์ให้เพื่อน ๆ ด้วยข้อความที่ว่า
"เราผลิตคอมพิวเตอร์ที่ยอดเยี่ยม ซึ่งถูกออกแบบมาให้งดงามและใช้งานง่าย
คุณอยากซื้อสักเครื่องไหม"
เพื่อน ๆ จะรู้สึกยังไงกันครับ?
ข้อความข้างต้นคือตัวอย่างของการสื่อสารที่ไม่ได้เริ่มต้นจากคำว่าทำไม
ซึ่งถ้าเราลองมองกันดูดี ๆ ข้อความประเภทนี้มีอยู่เยอะแยะเต็มไปหมด
แบรนด์ส่วนใหญ่มักสื่อสารออกมาอย่างเปิดเผยว่าตนทำอะไรและดียังไง
ซึ่งสุดท้ายก็จะกลายเป็นว่าคล้ายกันไปหมด แล้วก็มาตกม้าตายขายแข่งกันที่เรื่องราคาและโปรโมชั่น
กลับกันถ้าคนนั้น #เริ่มต้นจากคำว่าทำไม แล้วเรียบเรียงใหม่ให้ออกมาสู่ อย่างไร และอะไร ตามลำดับ เพื่อน ๆ จะรู้สึกยังไงครับ ลองอ่านข้อความข้างล่างนี้ดูนะครับ
"ไม่ว่าจะทำอะไร เราก็มุ่งมั่นที่จะท้าทายสิ่งเดิม ๆ เราเชื่อในการคิดต่าง
และเราก็ทำเช่นนั้นด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สวยงามและใช้งานง่าย
ดังนั้น เราจึงได้ให้กำเนิดคอมพิวเตอร์ที่ยอดเยี่ยมขึ้นมา
คุณอยากซื้อสักเครื่องไหม"
รู้สึกต่างจากข้อความแรกมั้ยครับ แบบไหนดูน่าดึงดูดใจให้ซื้อมากกว่ากัน?
~คนไม่ได้ซื้อจากสิ่งที่คุณทำ แต่ซื้อจากเหตุผลที่คุณทำสิ่งนั้น -Simon Sinek-
ดังนั้นไม่ใช่แค่การตั้งเป้าว่าเราจะทำอะไรแล้วป่าวประกาศออกไป
ไม่ใช่ว่าจะทำอย่างไรแล้วพูดออกไปปาว ๆ
แล้วก็ไม่ใช่แค่เริ่มต้นจากทำไม แต่ต้องเรียงลำดับให้ถูกด้วย
นี่คือสิ่งที่เราจะมาทำความเข้าใจกันในวันนี้ครับ "The Golden Circle" หรือ "กฎวงแหวนทองคำ" อันประกอบไปด้วยวงกลมสามวงทับซ้อนกันเริ่มจากในสุดคือ #WHY ถัดออกมาคือ #How และวงนอกสุดคือ #what
หลักสำคัญของกฎ #วงแหวนทองคำ คือเราต้องเริ่มจากข้างในออกมาข้างนอกเสมอครับ การเริ่มจาก #ทำไม จะทำให้การสื่อสารของเราส่งตรงไปถึงจิตใจของผู้คนได้อยากรวดเร็วครับ เพราะสมองส่วนที่รับผิดชอบในการตัดสินใจหรือส่วนที่เรียกว่า Limbic เป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ด้วยครับ มนุษย์เรารวมถึงสัตว์แทบทุกชนิดบนโลกถูกวิวัฒนาการมาให้ใช้สมองส่วนนี้ในการตัดสินใจ ทำให้หลายครั้งเรามักตัดสินใจไปตามอารมณ์เพราะมันส่งตรงและเร็วมากครับ
ต่างจากคำว่า "อะไร" และ "อย่างไร" ที่เกิดขึ้นจากสมองส่วน Neo Cortex ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษาและการใช้เหตุผลแต่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจ ทำให้หลายครั้งที่เราพยายามคิดหาเหตุผล เปรียบเทียบแล้วเปรียบเทียบอีก เรามักจะเกิดความลังเล ไม่แน่ใจจนเครียดหรือปวดหัวขึ้นมา และท้ายที่สุดก็ลงเอยเลือกอันที่เรารู้สึกว่าใช่มากกว่า การเริ่มจาก "อะไร" และ "อย่างไร" จึงไม่ส่งผลดีต่อการตัดสินใจเท่าการเริ่มจาก "ทำไม"
การเริ่มจาก #อะไร อาจสื่อสารออกมาได้ชัดและเข้าใจง่าย แต่ไม่ยืดหยุ่นและสุดท้ายก็จะไม่แตกต่างหรือขาดคุณค่าไป ตัวอย่างเช่นบริษัทที่บอกว่าตัวเองเป็นเจ้าแห่งวงการรถไฟที่ดีที่สุด เมื่อโลกก้าวไกลแต่ตัวเองไม่ยอมเปลี่ยนตาม สุดท้ายก็ล้มหายตายจากไป กลับกันอีกบริษัทนึงที่บอกว่าเขาคือบริษัทขนส่งชั้นนำ เขาก็จะไม่ติดอยู่กับแค่การให้บริการรถไฟเพียงอย่างเดียว
ส่วนการเริ่มจาก #อย่างไร นั้นเป็นการอธิบายถึงความแตกต่างที่อาจช่วยให้คนตัดสินใจได้ก็จริงแต่ก็ไม่ยั่งยืน เพราะขึ้นอยู่กับเกณฑ์วัดของแต่ละคนว่าแบบไหนดีแบบไหนไม่ดี เหมือนตัวอย่างที่ว่า เราไม่สามารถจูงใจให้คนที่รักรถสปอร์ทให้หันมาสนใจซื้อรถกระบะได้เพียงเพราะรถกระบะมันดีกว่าและคุ้มค่าในการใช้งานมากกว่า เพราะรถกระบะมันไม่ได้ตอบโจทย์ความเป็นตัวเขาเท่ากับรถสปอร์ท
เมื่อเราเริ่มต้นจากคำว่า #ทำไม ได้อย่างชัดเจนสิ่งที่เราทำและวิธีการที่เราสื่อออกไปก็เป็นเพียงสิ่งยืนยันเจตนารมณ์ของเราเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ตัวตนที่มากำหนดความเป็นเรา ตัวตนของเราคือเจตนารมณ์ของเราคือเหตุผลที่เราทำสิ่งเหล่านั้นมากกว่า "ถ้าเราเริ่มต้นจากคำว่าทำไมและทำอย่างไรกับอะไรให้สอดคล้องกันให้ตอบรับกับเหตุผลของเราก็จะช่วยทำให้ทำไมของเราชัดเจนมากยิ่งขึ้น"
การเริ่มจาก "ทำไม" อาจไม่ใช่วิธีการเดียวที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แต่เป็นหนทางเดียวที่จะรักษาความยั่งยืน สร้างสรรค์นวัตรกรรมได้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง เพราะต่อให้โลกเปลี่ยนไปแต่ถ้าจุดมุ่งหมายเรายังคงชัดเจนอยู่ เราก็จะไม่หยุดอยู่ที่วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง "เพราะเรารู้และเข้าใจในเหตุผลว่าเราทำสิ่งนั้นไปทำไม"
"Just Take a baby step." 👶🏻 By #มนุดปอ #manudpor
#psychology #จิตวิทยา #พัฒนาตนเอง #selfdevelopment #selfgrowth #Book | 073/2022 (มนุดปอ Ep.113)
👨🏻‍🏫อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม
📙หนังสือ
- Start With Why ตั้งคำถามเพียง 1 ข้อ ก็พลิกจากตามขึ้นมานำ | #SimonSinek 📝บทความ
- #รีวิวหนังสือ Start With Why 📕 "ทำไม ถึงต้องอ่านหนังสือเล่มนี้?"
โฆษณา